วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
แดน ริเวอร์ส ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็นลาจากเมืองไทย( CNN’s Rivers leaving Thailand )
แดน ริเวอร์ส ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็นลาจากเมืองไทย( CNN’s Rivers leaving Thailand )
www.go6tv.com: เพื่อนฝูงที่ผมพบในงานอำลา แดน ริเวอร์ส นักข่าวประจำประเทศไทยของเครือข่ายสำนักข่าว ซี เอ็น เอ็น เมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา บอกว่า พวกเขาเห็นทหารออกมาอีกแล้ว ระหว่างทางกลับบ้าน ผมเห็นพวกทหารเช่นเดียวกัน – 2 ฐานประจำการภายในสถานีรถไฟ บี ที เอส อโศก
นี่อาจเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ทหารออกมาบนถนนของกรุงเทพฯ – และเป็นการเตือนความทรงจำว่าเมืองนี้ยังอยู่ภายใต้กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยความมั่นคงดูแลโดยศูนย์อำนวยการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
แดนได้รับตำแหน่งงานอาวุโสที่ลอนดอน การย้ายได้จังหวะ เนื่องจากมีนักข่าวต่างประเทศน้อยคนนักที่ทำงานที่ประเทศไทยแล้วอยู่ภายใต้ภาวะกดดันแบบที่แดนได้รับเช่นนี้
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง ก็มีทัศนะที่มืดดำต่อการรายงานของแดนในเรื่อง มนุษย์เรือโรฮิงญา ที่ตีพิมพ์ไปต้นปี 2552 แดนทำข่าวเรื่องนี้ในลักษณะคลาสสิก คือ ไปที่บริเวณที่โรฮิงญาโดนไล่และมีความอุตสาหะในการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ จากพื้นที่ การรายงานของ ซี เอ็น เอ็น แสดงให้เห็นภาพซึ่งมากจากผู้แจ้งเบาะแส ซึ่งเป็นภาพชาวโรฮิงญาจากรัฐรักคิน( Rakhine state)กำลังถูกลากออกไปสู่ท้องทะเลโดยทหารไทย – ให้ลอยเคว้งกลางทะเล
รัฐบาลปฏิเสธทันทีต่อข้อกล่าวหานั้น บอกว่าภาพที่เห็นเป็นภาพปลอมและชี้นำผิด ๆ แต่ ซี เอ็น เอ็น ยืนยันว่าเรื่องราวนั้นเป็นจริง เมื่อปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยอมรับว่ามี “บางกรณี” ที่เรือจะถูกผลักออกไปในทะเล และสัญญาว่าจะมีการสืบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษถูกมอบหมายให้รับผิดชอบ แต่จนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่มีผลการสอบสวนประกาศออกมา
แดนได้รับรางวัลจากองค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) ในการรายงานข่าวของเขาชิ้นนี้
เมื่อเร็วๆนี้ มีการรณรงค์ให้ประณาม แดน ริเวอร์ อย่างกว้างขวาง มีจดหมายเปิดผนึกถึง ซี เอ็น เอ็น ในเดือน พฤษภาคม โดยนักกฎหมายสาวชื่อ นภัส ณ ป้อมเพ็ชร์ ต่อต้านการรายงานข่าวของ ซี เอ็น เอ็น ในเรื่องการปะทะระหว่างกองทัพกับ ผู้ชุมนุม “เสื้อแดง” ในกรุงเทพฯ ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม โดยกล่าวว่า “เป็นการรายงานด้านเดียวหรือเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ และบิดเบือนความจริง ซึ่งร่างจากการค้นคว้าที่ไม่ลึกซึ้ง หรือนำเสนอ/เผยแพร่ภาพโดยอคติซึ่งจับภาพได้จากเพียงด้านเดียวของเหตุการณ์ที่แท้จริง”
จดหมายนี้กระจายไปทั่วอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนคำสุภาษิตไฟลามทุ่ง ที่สโมสรนักข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) มีโทรศัพท์อย่างน้อย 2 สายที่ได้รับจากบุคคลนิรนาม ที่ถามที่อยู่ของ แดน ริเวอร์ ผู้ผลิตรายการ ซี เอ็น เอ็น รายงานว่ามีก้อนหินขว้างไปที่หน้าต่างบ้านของเขา บทวิเคราะห์ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาจากจดหมายดังกล่าว ใน บล็อค “บางกอก บัณฑิต” ซึ่งได้รับความเชื่อถือสูงนั้น มีการแสดงความเห็นถึง 310 ความคิดเห็น และ ทวิต 222 ครั้ง – บางทีอาจทำลายสถิติให้กับบล็อคนี้ทีเดียว
"โจนาธาน เฮด"
ริเวอร์สไม่ใช่นักข่าวต่างประเทศคนเดียวที่ถูกโจมตี นักข่าว บี บี ซี ก็เช่นเดียวกัน และยังคงถูกโจมตีอยู่ เป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์และทำให้เสียชื่อเสียง สำหรับการรายงานข่าวในเรื่องการปะทะ แนวนิยมดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่; ในปี 2551 ผู้สื่อข่าวต่างประเทศหลายคนถูกทำลายโดยคำปราศรัยของแกนนำฝ่ายขวา นิยมเจ้า “เสื้อเหลือง”; มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผู้จัดรายการวิทยุของฝ่ายขวาขอให้สมาชิกทางบ้านโจมตีผู้สื่อข่าวของ บี บี ซี โจนาธาน เฮด หากพบเห็นที่ไหน (เฮดได้ย้ายไปอิสตันบูลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา)
ผมเชื่อว่าแทบเป็นไปไม่ได้ ตั้งแต่พายุโหมกระหน่ำ ซี เอ็น เอ็น ได้เริ่มต้นขึ้นในปีนี้ สำหรับ แดน ที่จะสามารถสัมภาษณ์คนของรัฐบาล แม้กระทั่งคนไทยในภาคเอกชนยังต้องระมัดระวัง ทั้งนี้บทวิเคราะห์ในการรายงานของ ซี เอ็น เอ็น ได้แสดงต่อสาธารณะว่าได้สัมภาษณ์รัฐบาลในช่วงการปะทะเช่นเดียวกัน บี บี ซี ก็เชื่อมั่นในการรายงานข่าวของสำนักตนเองด้วยเช่นกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น