วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ซาอุฯ เริ่มตอบโต้ทางการค้า "ไม่ประทับตราอนุญาต" ส่งสินค้าไปซาอุแล้ว

www.go6tv.com ไพศาล พรหมยงค์ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจคงจะไม่รุนแรงเท่ากับเมื่อ 20 ปีก่อนที่พึ่งเกิดเหตุการขโมยเพชร การอุ้มฆ่านักธุรกิจเชื้อพระวงศ์ และฆ่าเจ้าหน้าที่สถานทูตซาอุฯ ทำให้รัฐบาลซาอุฯขับไล่แรงงานไทยออกนอกประเทศเกือบ 2 แสนคน รุกลามไปถึงมุสลิมไทยที่ไปประกอบพิธีฮัจ ก็ถูกชาวซาอุฯโห่ไล่ เหตุการในครั้งนั้นเลวร้ายมาก เพราะรัฐบาลเขาส่งนักสืบขั้นนำของโลกเข้ามาหาข่าวถึงรู้เรื่องราวทุกอย่างดี แต่รัฐบาลไทยกลับแก้ปัญหาเพียงลูบหน้าปะจมูกเปลี่ยนรัฐบาลทีก็ให้สัญญาลมๆแล้งๆที ไม่มีความจริงใจแก้ไขปัญหา ซึ่งกรณีที่ตำรวจที่มีมลทินติดตัวได้ดีก็ไม่ได้มีเพียง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม อย่างกรณีทนายสมชาย นีละไพจิต ตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการอุ้มฆ่าก็ได้ดีในหน้าที่ราชการ

เหตุการณ์เหล่านี้ซาอุฯรับไม่ได้ เพราะกฎหมายของอาหรับศักสิทธิ์เอาชีวิตแลกชีวิต ทำให้เขายอมรับกฎหมายหรือกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมการช่วยเหลือพวกพ้องไม่ได้ โดยเฉพาะในกรณีนี้การแต่งตั้งตำรวจผู้ที่ถูกฟ้องศาลในคดีอุ้มนักธุรกิจที่เป็นเชื้อพระวงศ์ให้ขึ้นเป็นถึงผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นตำแหน่งตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบต่อรูปคดีที่เกี่ยวข้องกับซาอุฯได้ ดังนั้นจึงต้องเห็นใจรัฐบาลซาอุฯในจุดนี้

ในส่วนของปัญหาภาคใต้คงไม่ได้รับผลกระทบจากการที่ โอไอซี ไม่พอใจประเทศไทย เพราะภายในประเทศมุสลิมหลายประเทศก็มีปัญหาก่อการร้ายอยู่แล้ว ดังนั้นเขาจึงไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยวกับปัญหาการก่อการร้ายในประเทศอื่น แต่ผลกระทบจะมีในด้านเศรษฐกิจมากกว่า ทั้งการค้า การลงทุน แรงงานและการท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกโอไอซี รวมไปถึงผลกระทบต่อชาวมุสลิมไทยที่อาจถูกซาอุฯตัดโควต้าการให้ผู้แสวงบุญไทยเข้าประเทศปีละ 1.3 หมื่นคน ซึ่งถ้าปัญหารุนแรงถึงขั้นปิดสถานทูตจริงไม่ออกวีซ่าให้กับผู้แสวงบุญที่จะไปนครเมกกะในปีนี้ ก็จะสูญเสียเงินไปฟรีๆ 1-2 พันล้านบาท เพราะผู้แสวงบุญกว่า 1.3 หมื่นคนจะต้องเสียเงินล่วงหน้าเพื่อจองโรงแรมที่พัก ตั๋วเครื่องบินไปแล้วไม่ต่ำกว่าคนละ 1 แสนบาท ซึ่งชาวมุสลิมจำนวนนี้ส่วนใหญ่มีฐานะปานกลางถึงยากจนที่ต้องเก็บหอมรอมริบเงินมาเป็นเวลานานเพื่อไปแสวงบุญซัก 1 ครั้งในชีวิต ถ้าไม่ได้ไปก็จะกระทบต่อความรู้สึกอย่างรุนแรง

“พาณิชย์”จับตา
สถานการณ์ใกล้ชิดรับผลกระทบ

ขณะที่ พรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ล่าสุดปัญหาระหว่างไทยกับซาอุฯก็เริ่มส่งผลกระทบกับผู้ส่งออกสินค้าของไทยแล้ว ล่าสุดมีนักธุรกิจประมาณ 10 รายมาเรียกรัองให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยเหลือจากกรณีที่สถานทูตฯซาอุฯไม่ประทับตราให้สินค้าไทยส่งไปยังประเทศซาอุฯหมือนเดิมตามปกติ ซึ่งกระทรวงฯก็จะเร่งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาต่อไป

ทั้งนี้ การส่งออกของไทยไปยังซาอุฯในรอบ 8 เดือนของปีนี้มีมูลค่า 1,451 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 23.47% สินค้าส่งออกหลักได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ข้าว เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ยาง และเคมีภัณฑ์เป็นต้น แต่เชื่อว่าปัญหานี้จะไม่บานปลายขยายความรุนแรงกระทบไปสู่การค้า ซึ่งก็ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการส่งออกติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งจะต้องดูนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศด้วย เพื่อให้การแก้ไขปัญหาในครั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

หากบานปลาย
ปชป.สูญพันธ์ในภาคใต้

อย่างไรก็ดีไม่เพียงแต่ผลกระทบด้านการค้า หากซาอุฯตัดความสัมพันธ์กับไทย ก็จะส่งผลกระทบรุนแรงกับชาวมุสลิมในประเทศที่จะเดินทางไปเข้าพิธีฮัจได้ลำบาก เพราะต้องขอวีซ่าผ่านทางสถานทูตซาอุฯในประเทศมาเลเซีย หรือกัมพุชา ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลซาอุฯได้แสดงความไม่พอใจอย่างเปิดเผยโดยระงับวีซ่าไม่ให้ท่านจุฬาราชมนตรีเข้าประเทศเมื่อวันที่ 3-4 กันยายนที่ผ่านมา โดยเป็นครั้งแรกที่ผู้นำศาสนายังถูกระงับวีซ่า จากเดิมที่จะได้รับความสะดวกในการเดินทางมากให้เกียรติอย่างสูงในฐานะผู้นำทางศาสนา ซึ่งก็เป็นสัญญาณแรกที่เตือนไทยถึงความไม่พอใจอย่างรุนแรง คาดว่ามีโอกาศเป็นไปได้ 50:50 ที่จะปิดการทำวีซ่าในประเทศไทย และถ้าเป็นเช่นนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็จะสูญเสียความนิยมจากกลุ่มมุสลิมในภาคใต้ทันที

หวั่นลุกลาม
โลกมุสลิมบอยคอตไทย

ด้าน พิเชษฐ สถิรชวาล เป็นเลขาธิการเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาระหว่างไทยกับประเทศซาอุฯในครั้งนี้ รัฐบาลจะต้องตระหนักว่าไม่ได้เป็นเพียงปัญหาระหว่างกัน 2 ประเทศ แต่เป็นปัญหาระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศมุสลิมทั่วโลก เพราะซาอุฯมีอิทธิพลอย่างสูงในโลกมุสลิม ทั้งนี้หากความสำพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศเลวร้ายจนถึงที่สุดตัดขาดความสำพันธ์กันจริงๆสิ่งเลวร้ายต่างๆก็เกิดขึ้นได้ ซึ่งรวมไปถึงการหยุดการค้าค้าขายอย่างสิ้นเชิงระหว่าง 2 ชาติ รวมไปถึงมาตรการตอบโต้ทางเศรษฐกิจต่างๆ แต่ในขณะนี้คาดว่าคงจะไม่เลวร้ายถึงขั้นนั้น

โดยที่ผ่านมาก็มีหลายตัวอย่างของประเทศที่เคยมีปัญหาทางการเมืองรุนแรงกับซาอุฯ ประเทศซาอุฯก็ตอบโต้ขั้นสูงสุดโดยการไม่ให้ผู้แสวงบุญจากประเทศนั้นๆเข้าประเทศ เช่น กรณีอิรักบุกคูเวต หรือกรณีลิเบียมีปัญหาอย่างรุนแรงกับซาอุฯ ทางการซาอุฯก็ไม่ออกวีซ่าให้เข้าไปแสวงบุญ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนของชาวมุสลิมที่ต้องการเดินทางเข้าไปแสวงบุญเป็นอย่างมาก ซึ่งขณะนี้ซาอุฯก็ส่งสัญญาทบทวนวีซ่าของผู้แสวงบุญ 392 คนแล้ว และในเร็วๆนี้จะถึงกำหนดต้องออกวีซ่าล็อตแรกให้กับผู้แสวงบุญอีก 1,000 คน ที่จะต้องเดินทางไปยังนครเมกกะในวันที่ 10 ตุลาคมนี้ ซึ่งโดยปกติจะต้องออกวีซ่าให้แล้ว เพราะผู้เดินทางจะต้องเตรียมตัวซักซ้อมขั้นตอนต่างๆ อบรมรายละเอียดก่อนการเดินทางไปแสวงบุญ ทั้งนี้หากปัญหารุนแรงถึงขั้นปิดสถานทูตก็จะกระทบต่อชาวมุสลิมที่จะต้องไปทำพิธีอัจท์ปีละกว่า 1.3 หมื่นคน โดยจะต้องเดินทางไปขอวีซาไกลถึงประเทศมาเลเซีย หรือกัมพูชา

ไม่มีความคิดเห็น: