วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

ก.ปฏิรูปแก้ รธน. ถอยหลังลงคลอง "ยกเลิกยุบสภา-พรรคบัญชีรายชื่ออันดัน๑ ตั้งรัฐบาลไม่ต้องมีสส.นำ" ส่อเอื้อ ประชาธิปัตย์

กรรมการปฏิรูปการเมืองแก้รัฐธรรมนูญ แถลง เสนอข้อสรุป 6 ประเด็น ให้รัฐบาล พ.ย.นี้ “สมบัติ” เผย ส.ส.เขตเดียวเบอร์เดียว 125 ปาร์ตี้ลิสต์บัญชีเดียว ส.ว.150 เลือกตั้งผสมสรรหา ยกเลิกยุบพรรค แต่แบนคนทำ 5 ปี กก.บห.และ หน.พรรค รู้เห็น 10 ปี เล็งถามแก้ห้ามยุบสภา ไม่มีซักฟอกไม่ไว้วางใจ แก้รัฐไร้เสถียรภาพ ให้พรรคบัญชีรายชื่ออันดับ 1 ตั้งรัฐบาล

วันนี้ (23 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นำโดย นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขานุการ นายศักดา ธนิตกุล ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ นายลือชัย วนรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกันแถลงข้อสรุปของคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอ 6 ประเด็น ของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เดิมที่ตั้งใจว่าจะเสนอข้อสรุป 6 ประเด็นให้กับรัฐบาลให้เดือนตุลาคม แต่ทั้งนี้ ติดปัญหาการสำรวจความคิดเห็นประชาชน จึงต้องเลื่อนไปเป็นเดือน พ.ย.นี้แน่นอน

นายสมบัติ กล่าวว่า เรื่องที่ 1 การทำหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา 2. เรื่องระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เสนอให้มี ส.ส.500 คน มาจากการเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียวจำนวน 375 คน และจากบัญชีรายชื่อทั่วประเทศ 125 คน โดยมี่กำหนดเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ ประเด็นเรื่องระบบเลือกตั้งสมาชิกแบบแบ่งเขต ที่เสนอให้ควรกลับไปใช้ระบบเสียงข้างมาก เขตละคน การเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ควรใช้ระบบแบบบัญชีรายชื่อเดียวทั่วประเทศ และเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนนเสียงที่จะมาคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ไม่ควรมีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ

นายสมบัติ กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ 3 เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา โดยเสนอให้ ส.ว.150 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน ที่เหลือมาจากการสรรหา แต่เพิ่มจำนวนคณะกรรมการสรรหาให้มากขึ้น มาจากหลากหลายภาคส่วน และลดสัดส่วนของผู้แทนจากฝ่ายศาลลง ประเด็นที่ 4 การห้ามดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาให้คงบัญญัติเดิมที่ว่า ส.ส.ไม่สามารถดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นหรือข้าราชหารส่วนท้องถิ่น ประเด็นที่ 5 เรื่อง ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ทำการแทรกแซงการทำงานของฝ่ายบริหาร โดย เสนอแนวทางการแก้ไข คือ อนุญาตให้แจ้งความเดือดร้อนของประชาชนให้หน่วยงานฝ่ายบริหารทราบ เป็นลายลักษณ์อักษรได้แต่ที่เหลือ ให้คงไว้เช่นเดิม และประเด็นที่ 6 คือเรื่องการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง โดยเสนอให้ ยกเลิกการยุบพรรคแต่คงไว้ซึ่งการ 1.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ผู้กระทำผิดกฎหมาย 5 ปี กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่รู้เห็นการกระทำผิด 10ปี และหัวหน้าพรรคการเมืองที่รู้เห็นการกระทำผิด 10 ปี หลังจากที่ได้ข้อสรุปแนวทางการพิจารณารัฐธรรมนูญ 6ประเด็น จะมีการนำประเด็นคำถามที่จะสอบถามความเห็นของประชาชน เรื่องการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น: