วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

เลวกว่าเดิม !! ร่าง รธน.ฉบับ "สมบัติ ธำรงธัญวงศ์" จะสอดใส้ให้รัฐแก้ใช้

เล็งทำโพลสำรวจแก้รัฐธรรมนูญให้"ปาร์ตี้ลิสต์"เบอร์ 1 จัดตั้งรบ.

นายสมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์ ประธานประธานพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แถลงเมื่อวันที่ 23 กันยายน ถึงความคืบหน้าการดำเนินงานว่า หลังจากได้ข้อสรุปการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น จะดำเนินการต่อ 3 รูปแบบ 1.ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติจะลงพื้นที่สำรวจความเห็นของประชาชนทั่วประเทศระหว่างวันที่ 1-12 ตุลาคม 2.เปิดสายรับฟังความคิดเห็นที่ทำเนียบรัฐบาล 3 วัน ภายใต้โครงการ 3 วันสร้างประชาธิปไตยเข้มแข็ง และ 3.จัดเวทีเสวนา 16 ครั้งทั่วประเทศ หลังจากนั้นจะประมวลผล ซึ่งในส่วนของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น จะส่งผลสรุปให้กับรัฐบาลได้ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน


รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแบบสอบถามในส่วนของการปฏิรูปโครงสร้างการเมืองแยกออกเป็น 5 ประเด็นดังนี้


1.โครงสร้างทางการเมืองในภาพรวม มีข้อเสนอที่น่าสนใจ ดังนี้

1.1 ให้พรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงมากอันดับ 1 จากคะแนนเสียงในระบบบัญชีรายชื่อมีสิทธิจัดตั้งรัฐบาล

1.2 รัฐบาลไม่มีสิทธิยุบสภาและรัฐสภาไม่มีสิทธิอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ แต่อภิปรายทั่วไปได้ 1.3 ฝ่ายบริหารและข้าราชการการเมืองต้องไม่เป็นสมาชิกรัฐสภา

2.การเลือกตั้งและพรรคการเมือง มีข้อเสนอที่น่าสนใจ ดังนี้

2.1 ระบบการเลือกตั้งเป็นระบบผสม ประกอบด้วยการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และเสียงข้างมากในสัดส่วน 1 ต่อ 1

2.2 ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งระบบแบ่งเขต ให้มีวาระคราวละ 4 ปี โดยวาระแรกที่มีการเลือกตั้งเมื่อครบกำหนด 2 ปี ให้มีการจับสลากออกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้มีการเลือกตั้งทดแทน 2.3 ผู้สมัครรับการเลือกตั้ง ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง


3.ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายข้าราชการประจำ มีข้อเสนอที่น่าสนใจ ดังนี้

3.1 ฝ่ายการเมืองไม่ควรมีบทบาทและตำแหน่งในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของฝ่ายข้าราชการประจำ

3.2 ฝ่ายการเมืองไม่ควรมีอำนาจสั่งการหรือตัดสินใจในการบริหารงานทั่วไปของฝ่ายข้าราชการประจำ เช่น การอนุมัติการจัดหาพัสดุ

3.3 ฝ่ายการเมืองอาจปลดหรือโยกย้ายฝ่ายราชการประจำได้เฉพาะในกรณีที่ไม่ตอบสนองนโยบายที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายการเมือง


4.องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีข้อเสนอที่น่าสนใจ ดังนี้

4.1 ควรองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเพียง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่เหลืออาจยังคงอยู่แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรัฐธรรมนูญ


5.การกระจายอำนาจ


ไม่มีความคิดเห็น: