www.go6tv.com ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า เมื่อวันที่ 21 กันยายน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ทยอยเผยแพร่วารสาร "ไทยคู่ฟ้า"ฉบับปฐมฤกษ์ ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม-กันยายน 2553 โดยหน้าปกเป็นรูปนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ไปตามหน่วยงานต่างๆภายในทำเนียบรัฐบาล โดยฉบับปฐมฤกษ์มีจำนวนทั้งสิ้น 25 หน้า
เนื้อหาส่วนใหญ่ภายในมุ่งเน้นเกี่ยวกับผลงานของรัฐบาล อาทิ
- 6 วัน 63 ล้านความคิด
- ณ ทำเนียบรัฐบาล
- ไทยคู่ฟ้าพาเที่ยว
- ภารกิจของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล
- แผนการสร้างความปรองดอง
- การแนะนำช่องทางการติดต่อกับทางรัฐบาลในเวปไซด์ต่างๆ
- การสรุปมาตรการการช่วยเหลือด้านต่างๆ
- การปฏิรูประบบเศรษฐกิจ, และ
- การแสดงความคิดเห็นต่างๆ และการแสดงภาพผลการทำงานของคณะรัฐมนตรี
ซึ่งจัดทำโดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) และจะมีการแจกจ่ายไปยัง ส่วนราชการ ศาลากลางจังหวัด หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนถิ่นทั่วประเทศ รวมไปถึงบรรดาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ประจำทำเนียบรัฐบาล โดยฉบับปฐมกฤษ์จัดพิมพ์ทั้งสิ้น จำนวน 10,000 เล่ม ซึ่งมีกำหนดจะเผยแพร่อย่างเป็นทางการรในสัปดาห์หน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "วารสารไทยคู่ฟ้า" ฉบับปฐมฤกษ์ นั้นมีเนื้อหาการสัมภาษณ์พิเศษนายอภิสิทธิ์ ที่ได้กล่าวถึงการทำงานที่ผ่านมาว่า ยอมรับว่าพึงพอในกับการทำนโยบายที่ช่วยสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนและการช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ตามนโยบายที่ประกาศไว้ ซึ่งการเข้ามาบริหารงานช่วยสถานการ์เกิดความแตกแยกมากและข้าราชการถูกมองว่าแบ่งฝักแบ่งฝ่าย จึงอยากเห็นข้าราชการคงความเป็นมืออาชีพ การสนองนโยบายของฝ่ายการเมืองเป็นภารกิจที่สำคัญแต่ต้องอยู่ในขอบเขตไม่ขัดต่อกฎหมาย หลักวิชาชีพ หรือผลประโยชน์ของประชาชน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การทำงานที่ผ่านมามีความซับซ้อนในแง่การโยกย้ายแต่งตั้ง มีการเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นธรรมดาที่ทุกคนมีสิทธิที่จะวิจารณ์ หรือมีบางคนวิจารณ์ว่า เราไม่ฟังเสียงคนคนนั้นคนนี้ ซึ่งไม่ใช่ความจริง ยืนยันหลักทำงานของตนจะพยายามสอบถามคนที่คิดว่ารู้ หรือมีประสบการณ์เกี่ยวข้องให้มากที่สุด ส่วนการตัดสินใจอย่างไรขึ้นอยู่กับข้อมูลของแต่ละฝ่ายซึ่งอาจไม่เหมือนกัน เพราะมีมุมมองที่แตกต่างกัน
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงแผนการปฏิรูปประเทศไทยและแผนการปรองดองของรัฐบาลว่าเป็นเรื่องยากและเห็นใจคณะกรรมการทุกชุด เพราะความสำเร็จของงานขึ้นอยู่ว่า ได้รับการยอมรับและความร่วมมือหรือไม่ เพราะฉะนั้นคณะกรรมการต้องพยายามที่จะชนะใจหรือดึงให้เกิดความไว้วางใจในวงกว้าง เพื่อให้ได้รับความร่วมมือ ยืนยันว่ากรรมการทุกชุดมีความเป็นอิสระ สำหรับตนให้ความสำคัญกับทุกข้อเสนอ แต่ให้สนองตอบร้อยเปอร์เซ็นต์คงเป็นไปไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น