ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าฯ ได้เสนอแผนปรองดอง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ระยะสั้นสรุปได้ 4 ประเด็น ดังนี้
1.สนับสนุนให้คอป. ค้นหาความจริงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเปิดเผยต่อสาธารณชนในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยไม่ระบุตัวบุคคล
2.นิรโทษ กรรมคดีที่เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองให้แก่ผู้ชุมนุมทุกฝ่าย, เจ้าหน้าที่รัฐ, ผู้บังคับบัญชา และนักการเมืองที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความสงบเรียบร้อย ส่วนคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง เช่น การทำลายทรัพย์สินของรัฐและเอกชน จะให้รวมอยู่ในกระบวนการนิรโทษกรรมหรือไม่ก็ได้
3.สร้าง ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วย 3 ทางเลือก คือ
1. ให้ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติ เฉพาะคดีที่ คตส.ดูแล โอนให้ป.ป.ช. แต่ไม่รวมคดีที่ศาลตัดสินถึงที่สุดแล้ว
2. คือให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการทางคตส.ทั้งหมด แล้วให้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมตามปกติ โดยไม่นับอายุความ
3. คือให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่ดำเนินการทางคตส.ทั้งหมด แต่ไม่ให้มีผลย้อนหลังกับคดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการ และคดีที่ตัดสินไปแล้ว
4.กำหนด กติกาทางการเมืองร่วมกัน เช่น การแก้ไขกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ ซึ่งระหว่างนี้ผู้ชุมนุมกลุ่มต่างๆ ต้องยุติการเคลื่อนไหวใดๆ ที่เป็นการใช้มวลชนเรียกร้อง หรือกดดันด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมาย และไม่ควรรื้อฟื้นเอาผิดกับการรัฐประหารที่ผ่านมาในอดีต
ส่วนในระยะยาวนั้น มี 2 ประเด็น
สิ่งที่สังคมควรพิจารณาร่วมกันคือ
1.การออกแบบภาพอนาคตของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นหลักที่ทุกฝ่ายยอมรับและยึดร่วมกัน และ
2.การวางรากฐานของประเทศเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะประเด็นความการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
สิ่งที่กล่าวเพิ่มเติมก็คือ การสร้างบรรยากาศแห่งการปรองดอง โดยรัฐบาลควรแสดงเจตจำนงทางการเมืองที่มีแนวทางเป็นรูปธรรม อีกทั้งการสร้างความตระหนักของสังคมให้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องการสร้าง ความปรองดอง มากกว่านั้น ควรเยียวยาผู้ที่ได้รับกระทบจากเหตุการณ์ความรุนรงทั้งในรูปแบบตัวเงินและ ความรู้สึก หยุดกระทำการใดๆ ที่ทำให้คนรู้สึกว่าไม่เคารพกฎหมายและหลักนิติรัฐ พร้อมๆ กับกระบวนการและกลไกหลักใน 2 ระดับ คือ ระดับตัวแทนทางการเมืองหรือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง และระดับประชาชน ที่ควรมีกระบวนการพูดคุยกันเพื่อให้ได้ข้อสรุป
ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จนั้น ผลของการวิจัยเห็นว่า เจตจำนงทางการเมืองของผู้มีอำนาจรัฐที่จะสร้างความปรองดองโดยคำนึงถึงผล ประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันกระบวนการสร้างความปรองดองจะต้องมีพื้นที่ให้กับกลุ่มผู้มีส่วน ได้เสียโดยตรงและประชาชนจากทุกภาคส่วนในสังคมไทย ที่สำคัญปัญหาในกลางซึ่งเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งจะต้องได้รับการแก้ไขและแปร เปลี่ยนเป็นพลังในการพัฒนาประชาธิปไตย
ข้อสรุปภาพรวมโครงการศึกษาวิจัยดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า สังคมมีปัญหาความขัดแย้งสูง และพบว่า สังคมมีความขัดแย้ง ไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์ ดังนั้น การให้อภัยควรมีข้อเสนอนิรโทษกรรม ไม่เอาผิดจากชุมนุมทางการเมือง จากพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
ทั้งนี้ ข้อเสนอสถาบัน จึงเสนอให้อภัยและออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมทางการเมืองที่เกิดจากผู้ชุมนุมทางการ เมือง และคดีอาญาจากแรงจูงใจทางการเมือง หรือไม่มีการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในคดีอาญาที่เกิดจากแรงจูงใจ ส่วนความรู้สึกของประชาชนต่อกระบวนการหลัง 19 กันยายน 2549 นั้น ในส่วนกระบวนการสอบสวนผ่านคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสีย หายแก่รัฐ (คตส.) ผู้วิจัยเห็นว่า หากต้องการเรียกความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมให้เป็นตามหลักนิติธรรม เพื่อลดเงื่อนไขข้อกล่าวอ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงเสนอ 3 แนวทาง ดังนี้
1.การดำเนินคดีปกติโดยให้ผลคตส. ที่สิ้นสุดแล้วมาดำเนินการพิจารณาใหม่ โดยไม่รวมถึงคดีที่ถึงที่สุด
2.ให้เพิกถอนผลการพิจารณาทางกฎหมายของ คตส.ทั้งหมดโดยให้ดำเนินกระบวนการทางยุติธรรมใหม่โดยถือว่าไม่ขาดอายุความ และ
3.ทางเลือกที่หลายคนเสนอให้เพิกถอนผลการพิจารณาของ คตส.ทั้งหมด ไม่นำคดีมาพิจารณาใหม่ ดังนั้น 3 ทางเลือกดังกล่าวไม่ว่ากรณีใดไม่ต้องเรียกร้องให้คตส.เป็นผู้ผิดเพราะเป็น การกระทำที่ชอบขณะนั้น
อย่างไรก็ตาม สถาบันพระปกเกล้า ยืนยันว่าในประเด็นเรื่องการนิรโทษกรรมนั้น เป็นข้อเสนอจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ เป็นแค่ผลในเบื้องต้นที่ยังต้องการให้สาธารณชนมีการถกเถียงให้ตกผลึก โดยเฉพาะการเปิดพื้นที่ให้ตัวแทนทางการเมือง และประชาชนที่เป็นแนวร่วมของแต่ละฝ่ายได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อหาทางออกร่วมกัน ทั้งนี้ การสร้างบรรยากาศความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมถือเป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะขณะนี้แต่ละฝ่ายยังยึดติดอยู่กับจุดยืนของตัวเอง ไม่ยอมเปิดใจยอมรับกระบวนการปรองดอง แม้ปากจะพูดว่าอยากเริ่มกระบวนการปรองดองก็ตาม มากกว่านั้น ทุกฝ่ายไม่ควรแตะต้องประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะเรื่องนี้จะเป็นตัวเร่งความขัดแย้งที่เปราะบางมาก ขณะเดียวกันการใช้กฎหมายน่าจะเป็นตัวเลือกท้าย มากกว่าการใช้การเจรจา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น