วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

เปิดตำรา "กองทุุนสตรี" มีกฏหมายรองรับหรือไม่?

มีข้อวิจารณ์อย่างมากมายเกี่ยวกับ “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” มีคำถามว่า กองทุนดังกล่าว ถูกกฏหมายไหม มีกฏหมายรองรับหรือไม่ และทำไมไม่ออกเป็นพระราชบัญญัติ ในปัญหานี้ รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง และฝ่ายกฏหมายพรรคเพื่อไทย ได้ไขข้อข้องใจไว้ดังนี้

อาจารย์ชูศักดิ์ ได้อธิบายคำถามดังกล่าวว่า “ทำไมไม่ออก พรบ.กองทุนพัฒนาบทบบาทสตรี” ทำไมไม่ออกเป็นกฏหมาย ความจริงเรื่องกองทุนนั้น แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท กองทุนประเภทแรก เป็น พรบ.โดยตรงเลย กองทุนประเภทสอง ออกเป็นระเบียบ แต่ความเป็นจริง เป็นระเบียบที่ออกตาม พรบ.เงินคงคลัง ปี ๒๔๙๑ อนุญาตให้รัฐบาลตั้งกองทุน และกำหนดวิธีการไว้ว่าทำอย่างไร ดังนั้น ระเบียบนี้จึงเป็นระเบียบที่ออกโดย พรบ.นั่นเอง

กองทุนประเภทนี้มักเกิดขึ้นตามนโยบายรัฐบาล เจตนารมณ์กฏหมายซึ่งเขามองว่า รัฐบาล ๔ ปี มาแล้วก็ไป หากรัฐบาลใหม่มาอยากยกเลิก ก็สามารถยกเลิกได้เพราะทำได้ง่ายกว่าสะดวกกว่า เหตุผลที่สอง เวลาตั้งกองทุนเขาจะต้องไปตั้งงบประมาณแผ่นดิน จึงมี พรบ.งบประมาณประจำปีรองรับ

คำถามคือ แล้วทำไมไม่ออก กฏหมายกองทุนเป็น พรบ.ไปเสียเลย เหตุผลคือ ปกติ พรบ.ใช้เวลาออกเป็น กม.นานมาก กม.บางฉบับ ใช้เวลา ๓-๔ ปี จึงสามารถออกได้ซึ่งนานเกินไป จึงออกเป็นระเบียบ ซึ่งง่ายกว่า ให้ใช้ไปก่อน พอกองทุนนี้ประสบความสำเร็จ บริหารจัดการได้ ก็จะพัฒนานำไปสู่การออกกฏหมาย เช่น กองทุนหมู่บ้านซึ่งท้ายที่สุด ก็ออกเป็น พรบ.ได้ และตั้งองค์กรมหาชนดูแลกองทุนมาถึงปัจจุบันนี้

ดังนั้นจึงสรุปว่า กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี มีกฏหมายรองรับอยู่อย่างหนาแน่น ทั้ง พรบ.เงินคงคลัง และ พรบ.งบประมาณประจำปีแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น: