นายจาตุรนต์กล่าวว่า คำว่ารัฏฐาธิปัตย์ คงเน้นไปในเชิงแนวความคิดว่าใครคือผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ ในการอภิปรายมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความชอบธรรมของการได้มาซึ่งอำนาจ ตนอยากถามว่าความชอบธรรมที่ว่านั้นได้อำนาจมาด้วยวิธีการใด การรัฐประหารคือการใช้กำลังกองทัพเข้ามาข่มขืนใจผู้อื่นด้วยอาวุธ ส่วนความรับผิด คุณรับผิดต่อใคร เมื่อขึ้นมามีอำนาจ และไม่มีใครตรวจสอบคุณได้ สังคมหรือสื่อถูกเซ็นเซอร์หมด ซึ่งความไม่ชอบของการรัฐประหารมาสู่เรื่องรัฏฐาธิปัตย์ เป็นแนวความคิดที่มักใช้ในการสร้างความชอบธรรมในรัฐประหาร เหตุผลลึกๆ ในการคำนึงถึงความเป็นจริงของสังคม
"ผมเห็นว่าถ้าไม่พิพากษาเช่นนี้ คงฆ่ากันไม่เลิก เลยต้องพิพากษาให้เกิดความชอบธรรมในการรัฐประหาร การไปรับรองเช่นนี้มีผลเท่ากับว่า ได้บอกกับสังคมว่า สังคมนี้ถือเอาผู้มีกำลังอาวุธเป็นใหญ่ ใครที่ต้องการเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง วิธีที่ง่ายและเป็นไปได้ที่สุด คือการใช้กำลังอาวุธเข้าต่อสู้ ถ้ายึดไม่สำเร็จก็กลายเป็นกบฏ แต่ถ้าไม่สำเร็จและประชาชนไม่ยอม ศาลจะพิพากษาว่าใครคือ รัฏฐาธิปัตย์ การพิพากษาในลักษณะนี้จึงมีจุดอ่อนที่สำคัญ คือยอมรับการใช้อาวุธ และไม่ส่งเสริมการปกครองโดยยึดหลักสันติวิธี"นายจาตุรนต์ระบุ
นายจาตุรนต์กล่าวอีกว่า หากดูจากคำพิพากษาจะเห็นถึงการรับรองการรัฐประหาร และคำสั่งต่างๆ ของคณะปฏิรูป ฉบับที่ 27 และยังเห็นว่าการลงโทษคน ด้วยการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นสิ่งที่กระทำได้ เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทฝ่ายตุลาการต่อการรัฐประหารว่าเป็นอย่างไร การรับรองคำสั่งรัฐประหาร จึงขัดต่อหลักประชาธิปไตย และนิติธรรม ปัญหาเวลานี้เราจะป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหารอีกในอนาคต ตนขอเสนอว่า ประชาชนต้องพร้อมใจไม่เห็นด้วยว่าไม่ต้องการรัฐประหาร และตุลาการต้องมีข้อสรุปใหม่ แต่ถ้าเอาให้ง่ายตนขอเสนอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาของประเทศไทย ต้องจัดประชุมร่วมกันและลงมติว่า “จากนี้ไปการรัฐประหารเป็นสิ่งไม่ชอบ จะอ้างคำพิพากษาศาลฎีกาในอดีตไม่ได้” แต่ถ้าจะให้ดีผู้พิพากษาทั้งหมดควรเห็นชอบและประกาศต่อสาธารณชน ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนแปลง
ส่วนจะออกกฎหมาย หรือเขียนกำหนดในรัฐธรรมนูญหรือไม่ต้องพิจารณา ส่วนหนึ่งอาจเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แล้วเชื่อมโยงไว้ในคำปฏิญาณ ของคณะผู้พิพากษาว่าจะรักษารัฐธรรมนูญและไม่ยอมรับคำพิพากาษาใดๆ ที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ หรือขัดหลักนิติธรรม รวมทั้งต้องสร้างประชามติมหาชน ว่าไม่ยอมรับการรัฐประหาร
วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555
"จาตุรนต์" เสนอศาลฎีกาลงมติต้านปฏิวัติ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น