วันที่ 4 พ.ย. ที่ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม ชั้น 6 สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร 2 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางมาร่วมประชุมเพื่อรับทราบระบบและวิธีการระบายน้ำของกทม. พร้อมด้วยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผุ้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน โดยมีม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ นางทยา ทีผสุวรรณ รองผู้ว่าฯ กทม. นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกทม. นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) และผู้ที่เกี่ยวข้องประมาณ 50 คน เข้าร่วมประชุม โดยมีสื่อมวลชนร่วมติดตามทำข่าวเป็นจำนวนมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การหารือตึงเครียดเมื่อนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวในที่ประชุมว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา ผู้ว่าฯกทม. ให้ข่าวว่า กทม.ไม่ได้รับการตอบสนองจากกรมชลประทานในการมอบเครื่องสูบน้ำหลังจากที่กทม. ร้องขอ ซึ่งตนได้ตรวจสอบแล้วว่ายังไม่มีหนังสือจากกทม. ส่งตรงถึงกรมชลฯ จึงเกรงว่าจะทำให้กรมชลประทานเกิดความเสียหายได้
ด้านม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ปฏิเสธทันทีว่า ตนไม่ได้พูดว่าไม่ได้รับการตอบสนอง ตนยังรอการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ และพยายามย้ำว่า “รออยู่ครับ ยังรออยู่” ด้วยสีหน้าแววตาและขึงขัง ทำให้บรรยากาศที่ประชุมเริ่มตึงเครียด โดยมีการแย่งกันพูดระหว่างสองฝ่าย ทำให้นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดฯ กทม. ออกมาชี้แจงว่า ที่ผ่านมากทม.ได้ทำหนังสือถึงศปภ.แล้ว ที่สุดแล้วนายกรัฐมนตรีก็ได้ตัดบทบอกให้ ที่สุดแล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ที่กำลังดูการถกเถียงอยู่นั้น ต้องรีบออกมาพูดตัดบท โดยขอให้ทุกฝ่ายมีจุดประสงค์การทำงานเดียวกัน จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน
จากนั้นนายปลอดประสพ ได้เสนอให้กทม. ประกาศเฝ้าระวังและอพยพพื้นที่ฝั่งธนบุรีทุกเขต เนื่องจากประเมินแล้วว่าพื้นที่ฝั่งธนฯ จะท่วมหมด ซึ่งม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.ได้มีการประกาศเตือนทุกครั้ง แต่ตนไม่เคยพูดว่ากรุงเทพฯ จะท่วมทั้งเมือง และยังมั่นใจว่าคงไม่ท่วมทั้งหมด แต่สิ่งที่ต้องทำคือเตรียมมาตรการความพร้อม และไม่ประมาท ที่ผ่านมาได้สั่งให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมไม่ต่ำกว่า 2 เดือน การเตือนภัยถึงขั้นอพยพจะทำให้ประชาชนแตกตื่น และอาจจะมีประชาชนในพื้นที่นั้นที่อาจยังไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งทุกวันจะมีการประเมินเรื่องทิศทางของน้ำ และข้อมูลจากสำนักงานเขต โดยจะผสมผสานกับความเห็นของส่วนกลาง หากพบว่ามีแนวโน้มจะเกิดปัญหาใน 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ กทม.จะประกาศเป็นพื้นที่อพยพทันที ส่วนการประกาศเฝ้าระวัง กทม.ได้ พิจารณาอย่างรอบคอบ ดังนั้น กทม.ได้สร้างความสมดุลกับ 2 เรื่องนี้ได้ดีพอสมควร
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ระบบการระบายน้ำของ กทม. 28 ปีที่ผ่านมา ช่วยแก้ปัญหาฝนตกและน้ำล้นตลิ่ง ไม่ได้สร้างมาเพื่อระบายน้ำจากเหนือลงใต้ จึงต้องมีการร่วมมือกับทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ที่ผ่านมามีจุดอ่อนที่อยู่นอกอำนาจของกทม. อาทิ คลองรังสิตตัดถนนพหลโยธิน ต.หลักหก จ.ปทุมธานี และคลองมหาสวัสดิ์ จ.นครปฐม ดังนั้นในอนาคต กทม.จะต้องมีการพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วมควบคู่กับจังหวัดปริมณฑล อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เครื่องสูบน้ำของกทม. ได้ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงมาหลายวัน จึงต้องมีการปิดเครื่องบ้าง แต่ตอนนี้ยังไม่มีเครื่องใดเสียหาย ซึ่งเรื่องนี้ตนขอแจ้งที่ประชุมเพื่อรับทราบร่วมกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การหารือตึงเครียดเมื่อนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวในที่ประชุมว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา ผู้ว่าฯกทม. ให้ข่าวว่า กทม.ไม่ได้รับการตอบสนองจากกรมชลประทานในการมอบเครื่องสูบน้ำหลังจากที่กทม. ร้องขอ ซึ่งตนได้ตรวจสอบแล้วว่ายังไม่มีหนังสือจากกทม. ส่งตรงถึงกรมชลฯ จึงเกรงว่าจะทำให้กรมชลประทานเกิดความเสียหายได้
ด้านม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ปฏิเสธทันทีว่า ตนไม่ได้พูดว่าไม่ได้รับการตอบสนอง ตนยังรอการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ และพยายามย้ำว่า “รออยู่ครับ ยังรออยู่” ด้วยสีหน้าแววตาและขึงขัง ทำให้บรรยากาศที่ประชุมเริ่มตึงเครียด โดยมีการแย่งกันพูดระหว่างสองฝ่าย ทำให้นายเจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดฯ กทม. ออกมาชี้แจงว่า ที่ผ่านมากทม.ได้ทำหนังสือถึงศปภ.แล้ว ที่สุดแล้วนายกรัฐมนตรีก็ได้ตัดบทบอกให้ ที่สุดแล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ที่กำลังดูการถกเถียงอยู่นั้น ต้องรีบออกมาพูดตัดบท โดยขอให้ทุกฝ่ายมีจุดประสงค์การทำงานเดียวกัน จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน
จากนั้นนายปลอดประสพ ได้เสนอให้กทม. ประกาศเฝ้าระวังและอพยพพื้นที่ฝั่งธนบุรีทุกเขต เนื่องจากประเมินแล้วว่าพื้นที่ฝั่งธนฯ จะท่วมหมด ซึ่งม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.ได้มีการประกาศเตือนทุกครั้ง แต่ตนไม่เคยพูดว่ากรุงเทพฯ จะท่วมทั้งเมือง และยังมั่นใจว่าคงไม่ท่วมทั้งหมด แต่สิ่งที่ต้องทำคือเตรียมมาตรการความพร้อม และไม่ประมาท ที่ผ่านมาได้สั่งให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมไม่ต่ำกว่า 2 เดือน การเตือนภัยถึงขั้นอพยพจะทำให้ประชาชนแตกตื่น และอาจจะมีประชาชนในพื้นที่นั้นที่อาจยังไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งทุกวันจะมีการประเมินเรื่องทิศทางของน้ำ และข้อมูลจากสำนักงานเขต โดยจะผสมผสานกับความเห็นของส่วนกลาง หากพบว่ามีแนวโน้มจะเกิดปัญหาใน 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ กทม.จะประกาศเป็นพื้นที่อพยพทันที ส่วนการประกาศเฝ้าระวัง กทม.ได้ พิจารณาอย่างรอบคอบ ดังนั้น กทม.ได้สร้างความสมดุลกับ 2 เรื่องนี้ได้ดีพอสมควร
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ระบบการระบายน้ำของ กทม. 28 ปีที่ผ่านมา ช่วยแก้ปัญหาฝนตกและน้ำล้นตลิ่ง ไม่ได้สร้างมาเพื่อระบายน้ำจากเหนือลงใต้ จึงต้องมีการร่วมมือกับทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ที่ผ่านมามีจุดอ่อนที่อยู่นอกอำนาจของกทม. อาทิ คลองรังสิตตัดถนนพหลโยธิน ต.หลักหก จ.ปทุมธานี และคลองมหาสวัสดิ์ จ.นครปฐม ดังนั้นในอนาคต กทม.จะต้องมีการพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วมควบคู่กับจังหวัดปริมณฑล อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เครื่องสูบน้ำของกทม. ได้ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงมาหลายวัน จึงต้องมีการปิดเครื่องบ้าง แต่ตอนนี้ยังไม่มีเครื่องใดเสียหาย ซึ่งเรื่องนี้ตนขอแจ้งที่ประชุมเพื่อรับทราบร่วมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น