กรณีประชุมลับ เพื่อพิจาณา พรฎ.อภัยโทษนั้น มีข้อสังเกตได้ดังนี้
๑. การประชุมเกี่ยวกับพระราชอำนาจ พระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ นั้นเป็นการประชุมที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกปี ก่อนถึง ๕ ธ.ค. หรือวาระพิเศษเช่นครบรอบวันครองราชย์
๒. การพิจารณาคุณสมบัติการพระราชทานอภัยโทษเป็นมติของคณะกรรมการพิจารณาพระราชทานอภัยโทษ โดยมีปลัดกท.ยุติธรรมเป็นประธาน และ มีพระราชเลขา (ผู้แทน) เป็นหนึ่งในกรรมการชุดนี้ด้วย
๓. เมื่อคณะกรรมการได้ข้อสรุป ทางปลัดกท.ยุติธรรมจะส่งเรื่องให้รมต. ยุติธรรม เป็นผู้นำเรื่องเสนอเข้าครม.
ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าการที่มีรมต. ในที่ประชุม และ ส.ส. ฝ่ายค้านนำวาระการประชุมที่เป็นเรื่องพระราชอำนาจ ซึ่ง "ลับมาก" มาจุดเป็นประเด็นเพื่อสร้างเป็นกระแสสังคม เป็นการทำเพื่อกดดัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการ "ตัดสินใจ" ใดๆหรือไม่ การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการ "ไม่จงรักภักดี" หรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น