คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) ออกแถลงการณ์จี้ปล่อยตัวอำพล หรือ 'อากง' ที่ถูกตัดสิน 20 ปีจากการถูกกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอสหมิ่นหาเลขาฯ อภิสิทธิ์ ระบุศาลไทย "เป็นที่ที่ไม่อาจหาความยุติธรรม"
สืบเนื่องจากกรณีการตัดสินคดีจำคุก 20 ปี กรณีอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ 'อากง' ด้วยข้อหาละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูงหาเลขาอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 54 ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission) จึงได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าว โดยเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวอำพล รวมถึงนักโทษที่ถูกตัดสินในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และ พ .ร.บ. คอมพิวเตอร์ เนื่องจากมองว่ากฎหมายดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนที่คิดเห็นต่าง ในนามของ 'ความมั่นคงของชาติ' ที่มีการนิยามอย่างคลุมเครือ
นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียชี้ว่า กรณีนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงวิกฤติด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอย่างชัดเจน และระบุว่า จะคอยจับตาคดีที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประชาชนที่ห่วงใยความยุติธรรมทำเช่นเดียวกัน
0000 แถลงการณ์โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ประเทศไทย: โทษจำคุก 20 ปี สำหรับเอสเอ็มเอส 4 ข้อความ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ประสงค์แสดงความกังวลต่อกรณีล่าสุดที่ตัดสินลงโทษบุคคลด้วยอาชญากรรมด้านเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย เนื่องด้วยในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 คดีดำหมายเลข 311/2554 อำพล (สงวนนามสกุล) (หรือรู้จักกันในชื่อ ‘อากง’) ชายอายุ 61 ปี ถูกตัดสินจำคุก 20 ปีสำหรับข้อความ 4 ข้อความที่ถูกตัดสินว่าละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2551 การกระทำที่อำพลถูกกล่าวหาคือการส่งข้อความทางโทรศัพท์ (SMS) 4 ข้อความไปยังสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ โดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) องค์กรพัฒนาเอกชนไทยที่ทำงานด้านกฎหมายสิทธิรายงานว่า 4 ข้อความดังกล่าวถูกอ้างโดยเจ้าหน้าที่รัฐว่ามีข้อความที่หยาบคาย หมิ่นประมาทราชินีและดูหมิ่นเหยียดหยามพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ ข้อความตรงตัวของข้อความทางโทรศัพท์ดังกล่าวยังไม่ถูกเปิดเผยจากทางการ เนื่องจากการผลิตซ้ำของข้อความที่ถูกอ้างว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอาจเป็นการละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ ผู้สื่อข่าวจึงไม่สามารถรายงานข้อความดังกล่าวได้ตรงตัว เนื่องจากอาจเสียงต่อการถูกดำเนินคดี นอกจากความอยุติธรรมที่เขาได้รับจากการถูกตัดสินดังกล่าวแล้ว อำพล (สงวนนามสกุล) ยังทรมานจากโรคมะเร็งที่ลิ้นและไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลในระหว่างการคุมขังก่อนและหลังการไต่สวน ไม่มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าจะการตัดสินดังกล่าวจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงอีก และที่จริง อาจมีข้อกังวลด้านสุขภาพและความปลอดภัยของเขามากกว่าเดิมด้วย ขึ้นอยู่กับเรือนจำที่เขาจะถูกส่งไปจำคุก และที่ชัดเจนเช่นเดียวกับในกรณีของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ที่ในขณะนี้อยู่ในเรือนจำเนื่องจากถูกตัดสินจำคุก 18 ปี ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และทุกข์ทรมานจากโรคกระดูกขากรรไกร เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีข้ออ้างปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลและละเมิดสิทธิของนักโทษการเมือง ในวันที่ 3 สิงหาคม 2553 กลุ่มตำรวจจำนวน 15 นายเข้าบุกค้นบ้านพักของอำพล และจับกุมเขา จากนั้นเขาถูกควบคุมตัวในคุกเป็นเวลา 63 วันในชั้นสอบสวน ก่อนที่จะได้รับการประกันตัวในวันที่ 4 ตุลาคม 2553 และเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2554 เขาถูกสั่งฟ้องโดยอัยการด้วยข้อหาละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ และถูกจำคุกตั้งแต่นั้นมา ศาลได้ปฏิเสธการให้ประกันตัวเนื่องด้วยความร้ายแรงของข้อหาและความเสี่ยงในการหลบหนี การไต่สวนเขาเริ่มขึ้นในวันที่ 23 และระหว่างวันที่ 27-30 กันยายน 2554 ตั้งแต่เริ่ม อำพลยืนยันในความบริสุทธิ์ของตนเอง โดยกล่าวว่าเขาไม่ทราบวิธีส่งข้อความทางมือถือ และเบอร์โทรศัพท์ที่ส่งหาสมเกียรติไม่ใช่เบอร์ของเขา แต่ท่าทีของอัยการคือไม่ยอมรับคำให้การดังกล่าว และระบุว่า หมายเลขประจำเครื่องโทรศัพท์ (อีมี่) ของมือถือที่ส่งข้อความดังกล่าวไปหาสมเกียรติ เป็นของอำพล ดังนั้นเขาจึงต้องรับผิดชอบ ตั้งแต่มีการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 โดยเฉพาะรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์สูงขึ้นกว่าเดิมมาก โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ชี้ว่า ในขณะที่อำพลถูกตัดสินจำคุกในข้อหาละเมิดมาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ แต่เขาถูกลงโทษภายใต้กฎหมายอาญา 112 ซึ่งมีโทษที่หนักกว่า นอกจากนี้ มาตราในพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ ยังถูกใช้ร่วมกับกฎหมายหมิ่นฯ เพื่อปิดปากผู้ที่เห็นต่างในสังคม และใช้ข่มขู่นักเคลื่อนไหวทางสังคมและพลเมืองอีกด้วย กฎหมายอาญามาตรา 112 ระบุว่า “บุคคลใดที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกสามปีถึงสิบห้า ปี” ส่วนมาตราใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับในกรณีนี้คือ มาตรา 14 วรรค 2 และ 3 ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไปเกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ: (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน; (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา” คำจำกัดความของ “ระบบคอมพิวเตอร์” ระบุไว้ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า “อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ” วิธีเขียนกฎหมายดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ อาจถูกใช้เพื่อโจมตีการสื่อสารและคำพูดที่ผ่านการส่งต่อผ่านทางเทคโนโลยีหลายรูปแบบ ไม่เพียงแต่ทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น การตัดสินคดีนี้ ส่งข้อความที่ชัดเจนไปยังประชาชนในประเทศไทยว่า ให้ระวังตัวไว้ เพราะว่าข้อความทางโทรศัพท์มือถืออาจทำให้ถูกมองว่าเป็นอาชญากรรม และคุณอาจจะเสี่ยงต่อการจำคุกเป็นเวลานานได้ การขาดการนิยามคำว่า "ความมั่นคง” ที่ชัดเจนในกฎหมาย หมายความว่ามันเปิดโอกาสให้มีการกระทำที่ละเมิดสิทธิได้เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐอาจชี้ที่ใครก็ได้ที่เห็นต่าง หรือข้อความที่ตีความเช่นใดก็ได้ ว่าเป็นการละเมิดความมั่นคงของชาติ ในแถลงการณ์ที่เผยแพร่วานนี้โดยเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและสถาบันกฎหมายราษฎรประสงค์ก่อนการตัดสินคดี มีข้อความในจดหมายจากลูกสาวของอำพลที่ส่งหานักโทษอีกคนในเรือนจำที่ดูแลพ่อของเธอว่า
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียประสงค์จะแสดงความกังวลต่อการตัดสินคดีและการจำคุกของบุคคลต่ออาชญากรรมของเสรีภาพในการแสดงออก อำพล (สงวนนามสกุล) ถูกตัดสินจำคุกเป็นระยะเวลาที่นานที่สุดที่เคยปรากฎสำหรับข้อหาการละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จากหลักฐานที่อ่อนที่ใช้ตัดสินต่อจำเลย และสภาพขัดข้องของจำเลยเนื่องด้วยสุขภาพและอายุ กรณีนี้ได้แสดงให้เห็นชัดถึงศาลไทยที่เป็นที่ที่ไม่อาจหาความยุติธรรมหากแต่ความอยุติธรรมกลับงอกเงย เมื่อฆาตกรสามารถเดินจากไปอย่างเสรี เช่นเดียวกับกรณีการหายตัวของสมชาย นีละไพจิตร กรณีการตัดสินจำคุกชายอายุ 61 ปีจำนวน 20 ปี สำหรับการกระทำที่อ้างว่าส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ 4 ข้อความที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เป็นที่ชัดแจ้งแล้วว่าประเทศไทยมีวิกฤติการณ์ทางสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย เรียกร้องให้ทำการปล่อยตัวอำพลโดยทันที รวมถึงนักโทษคนอื่นๆ ที่ถูกจำคุกด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียจะคอยจับตาคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหมิ่นฯ และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์อย่างใกล้ชิด และขอเรียกร้องให้ประชาชนที่ห่วงใยสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมในประเทศไทยให้ทำเช่นนั้นด้วยเช่นกัน The Asian Human Rights Commission wishes to express grave concern over the latest conviction and sentence of a person in Thailand for a crime of freedom of expression. On 23 November 2011, in Black Case No. 311/2554, Ampon Tangnoppakul (also known as 'Arkong'), a 61-year-old man, was sentenced to twenty years in prison for four alleged violations of Article 112 of the Thai Criminal Code and the 2007 Computer Crimes Act. Ampon’s crime was to allegedly send four SMS messages to Somkiat Klongwattanasak, personal secretary of the former prime minister, Abhisit Vejjajiva. iLaw, a Thai legal NGO, reported that the four SMS messages were alleged by the authorities to contain vulgar language and to defame the Thai queen and to insult the honor of the monarchy. The precise content of the SMS messages has not been made public by the authorities and because repetition of alleged lesè majesté content itself constitutes a violation of the law, reporters are unable to report the precise content of the messages without then becoming subject to criminal prosecution themselves. Compounding the injustice of this sentence, Ampon Tangnoppakul is suffering from laryngeal cancer and had been unable to access proper treatment during detention before and during his trial. There is no reason to believe that this will change now that he has been convicted, and, in fact, depending on what prison he is transferred to, there may be further concerns over his safety and well-being. As has been clear in the case of Daranee Charnchoengskilpakul, currently serving an eighteen-year sentence for alleged lesè majesté and who suffers from severe jaw disease, the authorities have no qualms about denying necessary medical treatment and violating the rights of political prisoners. On 3 August 2010, a group of 15 police officers raided Ampon Tangnoppakul’s house and arrested him. He was detained for 63 days of pre-charge detention before being granted bail on 4 October 2010. He was then formally charged by the prosecutor on 18 January 2011 with violations of Article 112 and the Computer Crimes Act, and has been incarcerated since then. The court refused bail on the basis of the gravity of his crime and the possibility of flight. His trial took place on 23 and 27-30 September 2011. From the beginning, Ampon maintained his innocence, noting that he did not know to send SMS messages and that the number that sent the message to Somkiat was not his number. The response of the prosecutor to this was to discount it, and note that as the IMEI number of the cell phone that sent the messages to Somkiat belonged to Ampon, then he was responsible. In the years since the 19 September 2006 coup, and particularly in the last 2 years, there has been a vast expansion of the use of both Article 112 and the 2007 Computer Crimes Act. iLaw, a Thai legal rights NGO, noted that while Ampon was convicted of violations of Article 112 and the Computer Crimes Act of 2007, he was sentenced under Article 112, as it provides for harsher penalties. Since the passage of the Computer Crimes Act, the two have increasingly been used together to silence dissenting speech and intimidate activists and citizens. Article 112 of the Thai Criminal Code notes that, "Whoever defames, insults or threatens the King, Queen, the Heir-apparent or the Regent, shall be punished with imprisonment of three to fifteen years." The relevant section of the Computer Crimes Act in this case is Section 14, Parts 2 and 3, which specify: "If any person commits any offense of the following acts shall be subject to imprisonment for not more than five years or a fine of not more than one hundred thousand baht or both: (2) that involves import to a computer system of false computer data in a manner than it likely to damage the country's security or cause a public panic; (3) that involves import to a computer system of any computer data related with an offence against the Kingdom's security under the Criminal Code." The definition of "computer system" is noted in Section 3 as "a piece of equipment or set of equipment units, whose function is integrated together, for which sets of instructions and working principles enable it or them to perform the duty of processing data automatically." The way in which this law is written, and as this case evidences, means that the Computer Crimes Act of 2007 may be used to target communication and speech using various forms of transmitting technology, not only computers per se. This conviction sends a clear message to people in Thailand: be careful, because your SMS messages may be scrutinized for criminal content and then you will be liable to a long prison sentence. The lack of a definition of "security" within the law means that there are wide opportunities for abuse as the authorities can define any dissident or otherwise objectionable content to violate the "security" of the nation. In a statement released by the Human Rights Lawyers Association (HRLA) and the Ratsadornprasong Legal Institute (RLI) prior to yesterday’s reading of the conviction, a letter written from Ampon’s daughter to another detainee who was taking care of her father in jail noted: "What we are most concerned about is our father’s mental fatigue and despondency. Strength is almost gone already. Our requests for bail is always denied ... But the suffering of our family is eased because of you being by our father's side giving him strength...I know that we are not alone fighting for justice , there are many other people who also fight injustice. They fight for justice and freedom for the people who face injustice like us. We are all brothers and sisters, so do not get discouraged and keep on fighting for our father. We must be strong for people who are detained inside. We never thought that this would happen to us as it seem unreal for our family as Thais who greatly love and admire the monarchy. We are regretful that this institution is used for political purposes without them knowing it. It is painful for all us Thais because we love and respect the monarchy more than anything else. We have to fight against injustices in this country because this kind of case is used as a political tool against small people like us whom are treated like ants, termites and used as scapegoats." The Asian Human Rights Commission wishes to express grave concern over this conviction and sentence of a person in Thailand for a crime of freedom of expression -- . Ampon Tangnoppakul has been sentenced to the longest period in prison to date for alleged violations of Article 112 and the 2007 Computer Crimes Act. Particularly given the weak nature of the evidence deployed against him, and the extenuating circumstances of health and age, this case indicates that the Thai judiciary has become a place where justice is foreclosed and injustice flourishes. When murderers walk free, as they did in the case of the disappearance of Somchai Neelaphaijit, yet a 61-year-old man can be imprisoned for twenty years for allegedly sending four SMS messages with alleged anti-monarchy content, it is clear than human rights are in deep crisis in Thailand. The Asian Human Rights Commission calls for the immediate release of Ampon Tangnoppakul and all others imprisoned for crimes of freedom of expression under Article 112 and the 2007 Computer Crimes Act. The Asian Human Rights Commission will continue to closely follow all other cases of alleged violations of Article 112 and the 2007 Computer Crimes Act, and encourages all others concerned with human rights and justice in Thailand to do so as well. |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น