ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา - 4 ธ.ค.2548 เวลา 16.09 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จลง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พร้อมด้วยสม เด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทู ลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และคณะบุคคลต่างๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิม พระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2548 โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าฯ ทรงมีพระราชดำรัส ใจความตอนหนึ่งว่า
ขอขอบใจนายกรัฐมนตรี ที่ได้กล่าวอวยพร ในโอกาสที่จะถึงวันเกิดในวันพรุ่งนี้ ซึ่งขอบใจว่าจะทำให้ทุกคนในที่นี้และนอกที่นี้มีกำลังใจว่า นายกฯ พูดดี ก็ไม่ทราบว่า ที่ชมนายกฯ ว่าพูดดี อาจจะมีคนไม่เห็นด้วย ที่มาพูดนี่ เป็นความเดือดร้อนกับตัวเอง เพราะว่าถ้าชมนายกฯ คนอื่นอาจจะไม่ชม คือไม่ชมข้าพเจ้าว่าชมนายกฯ ทำไม แต่นายกฯ มีอยู่ไว้ให้ชม คือถ้ามีนายกฯ แล้วไม่ชม นายกฯ ก็ไม่คอยพอใจ แล้วถ้านายกฯ ไม่พอใจ งานการจะไปได้อย่างไร จึงต้องชมนายกฯ ชมนายกฯ ว่าพูดดี เพราะถือว่านายกฯ พูดดี เพราะมาชมเรา
เป็นของธรรมดาที่ทุกคนชอบให้เค้าชมเค้าไม่ชอบให้ติ ข้าพเจ้าเองได้ ติคนอยู่เรื่อยๆ เค้าก็ไม่พอใจกัน แม้จะไม่ติคน บางทีเค้าไปประกาศในหนังสือ พิมพ์ว่าพระเจ้าอยู่หัว ติคนโน้นคนนี้ แท้จริงไม่เคยติใครเท่าไหร่ บอกว่าเท่าไหร่เพราะว่าอาจะติแต่ไม่ได้พูดออกมาโจ่งแจ้งว่าติ คนเราถ้าอยู่ในที่แจ้ง ในที่ๆ คนเห็นมากๆ ย่อมถูกติได้ง่ายๆ เพราะว่าคนเห็นมาก ถ้าเห็นมาแล้วเราทำอะไรไม่มีดี หรือมีดีก็ที่ไม่ดีมาก
แต่ถ้าสมมุติว่ามีดีมากก็ไม่เป็นเไรแต่ถ้าไม่ดีบ้าง แล้วคนเค้าติ ถ้าเรารู้สึกว่าไม่ดีมีการแสดงตนว่า รู้ว่าไม่ดีนั้น ก็ทำให้เกิดความรู้สึก แล้วถ้าเกิดความรู้สึก บางที่ก็รู้สึกชื่นชม บางที่ก็รู้สึกเคือง ถ้าผู้ที่ ถูกเล็งรู้สึกว่า ถูกติเตียน แล้วก็แสดงตัวว่า เข้าใจว่าถูกแล้ว เค้าติเตียนเรา แล้วเราไม่พอใจก็เสียหาย ทำให้ส่วนรวมทั้งหมดก็เกิดปั่นป่วน พูดแค่นี้ ก็พอแล้ว ถ้าพูดมากกว่าจะทำให้เกิดเรื่องยุ่ง
แต่ว่าวันนี้ตั้งใจจะพูดอะไรไม่พาดพิงใครเลยไม่ติเตียนใครเลย เพราะว่าการติเตียนใคร พาดพิงใคร ก็เกิดเคือง เกิดไม่สบายใจ แต่ที่เห็นอยู่ข้าง หน้านี่ มีคนที่พูด ก็คงรู้ว่าใครพูด มีคนที่พูดว่าข้าพเจ้าไม่ดี พระเจ้าอยู่หัวไม่ดี ทำอะไรผิด แต่เค้าต้องแสดงออกมาว่า พระเจ้าอยู่หัวไม่ผิด ผิดไม่ ได้ ซึ่งเป็นตามความจริงในระบอบประชาธิปไตย ในระบอบรัฐธรรมนูญ ที่มีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข พระเจ้าอยู่หัวผิดไม่ได้ เค้าพูดอย่างนั้น เดอะคิงแคนดู โนลอง เหมือนท่านองคมนตรีชอบพูดว่าต้องภาษาอังกฤษ แต่ว่าเวลาบอกว่า เดอะคิง บอกว่า เดอะคิงแคนดู โนลอง ก็เป็นสิ่งที่ลองแล้วที่ผิดแล้ว ไม่ควรจะพูดอย่างนั้น
ความจริงเวลาอ่านตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญของอังกฤษ มีตำราที่คนเค้าอ้างอยู่เสมอ และคนที่เรียนภาษาอังกฤษ เรียนกฎหมายอังกฤษ ก็ต้องอ้างถึงเสมอ ไอ้เรื่อง เดอะคิงแคนดู โนลอง นี่ และนักกฎหมายแถวนี้เค้าพยักหน้าว่าใช่เพราะว่า เดอะคิงแคนดู โนลอง เนี่ยเป็นการดูถูกเดอะคิง อย่างมาก เพราะว่า เดอะคิง ทำไม จะ ดูโนลอง ดูลอง ไม่ได้เพราะว่าแสดงให้เห็นว่า เค้าถือว่า เดอะคิง ไม่ใช่คน แต่ว่า เดอะคิงทำลองได้ แต่ว่า เดอะคิงทำลองได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด ข้าพเจ้าเป็น เดอะคิง แล้ว เค้าบอกว่า ดัสโนลอง เราก็เห็นด้วยกับเค้า
เพราะว่าการทำอะไรถ้าคนเราถือว่าต้องมีสติ หมายความว่ารู้ว่ากำลังทำ อะไร รู้ว่ากำลังคิดอะไร แล้วไม่ปล่อยให้มันผิดออกมา มันก็ไม่มีผิด ผิดไม่ได้ อันนี้ก็เป็นการพูดว่า ข้าพเจ้าเอง ไม่ผิด ไม่มีวันผิด ถ้าสมมุติว่าพูดผิด เพราะไม่รู้ ก็อย่าง แต่ว่าผิดโดยไม่รู้ โดยรู้ๆ ว่าผิด การทำผิดโดยรู้ๆ ไม่ดี แต่บางที่ไม่รู้เพราะว่า ต้องขอโทษ ถ้าจะพูดว่าไม่มีสติ ขาดสติ คือไม่ระวังตัว ที่หลังก็เสียใจ
เมื่อก่อนนี้ก่อนที่จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินก่อนที่จะเป็นคิง ก็เสียใจหลายครั้ง แต่ตอนที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แล้วเป็นคิง คิงแบบไทยๆ เนี่ย ซึ่งฝรั่งเค้าบอกว่าเป็น เดอะคิง เข้าใจว่าน้อยครั้งที่จะได้ทำผิด เพราะว่า ระวัง ถ้าไม่ระวัง ปานนี้ก็คงตายแล้ว ต้องระมัดระวัง ถ้าไม่ระวังก็ตาย ไอ้นี่ เป็นเรื่องของธรรมชาติของที่เรียกว่าการเมือง หรือการอยู่ในสายตาของคน สายตาของคนมันฆ่าได้ถ้าเราไม่ระวัง เราตาย ก็เลยถึงบอกได้ว่า ทำไม ถึงการที่บอกว่า เดอะคิง แคนดู โนลอง เพราะต้องดูโนลอง ถ้าทำ ลอง ตายทุกคนก็มีสถานะอย่างนี้ ไม่ใช่ว่า เดอะคิง เก่ง แต่ทุกคน ก็มีส่วนที่เก่ง เพราะมีตำแหน่ง มีตำแหน่งรับตำแหน่งที่สูง ได้รับเหรียญตรา และคนก็ชี้คนนี้สูงมาก มียศศักดิ์ เดอะคิง เป็นยศศักดิ์สูง แต่คนอยู่ในที่นี้มียศศักดิ์ทั้งนั้น ไม่ระวังตัวก็ตายเหมือนกัน ถ้าไม่ระวัง ไม่ใช่คนที่นึกว่าคนนั้นเค้าต้องตายแน่ เพราะไม่ระวัง ทุกคน ตั้งแต่แถวแรก จนถึงแถวสุดท้าย จนกระทั่งหลังแถว จนกระทั่งข้างนอก ทุกคนถ้าไม่ระวังก็มีอันตราย
ที่พูดอย่างนี้ก็แปลกๆ หน่อย นี่ก็หาว่าแช่ง แต่ที่จริงไม่ได้แช่ง สงสาร เพราะว่าถ้าไม่ระวัง เมืองไทยตาย ฉะนั้นถึงขอร้องอย่างเดียว มาวันนี้ให้ระวังๆ ๆ ระมัดระวังที่คิด ที่พูด ที่ทำ ถ้านึกว่าทำถูกต้องก็ทำ
เรื่องที่มีแล้วเค้าก็บอกในหนังสือพิมพ์ ในวิทยุ ในโทรทัศน์ บอกว่า ที่ เดอะคิง ทำอะไร เค้าไม่วิจารณ์ แล้วก็บอก อย่าวิจารณ์ ที่จริงอยากให้วิจารณ์ เพราะว่าเราทำอะไรก็ต้องรูว่าเค้าเห็นดีหรือไม่ดี ถ้าไม่พูด ก็หาว่าทำดีแล้ว แต่แท้จริงที่พูด ที่ออกข่าว ให้สัมภาษณ์ บอกว่า อย่าไปวิจารณ์เดอะคิง ต้องบอกว่าอย่าไปวิจารณ์พระเจ้าอยู่หัว เพราะว่าไม่ควร ในรัฐธรรมนูญ ก็มีอยู่ว่า ละเมิดมิได้ นักกฎหมายก็พยักหน้าอีกแล้ว ว่าถูกต้อง ว่าไม่ควรจะวิจารณ์ วิจารณ์ไม่ได้ ละเมิดไม่ได้ แต่ถ้าพูดว่า พระเจ้าอยู่หัวทำถูก พูดถูก ไม่ใช่ละเมิด ถ้าพูดภาษาอังกฤษ ก็ แอ็ปปรู๊พพระเจ้าอยู่หัวเห็นชอบด้วย แต่ไม่เคยมีใครมาบอกว่า เห็นชอบด้วย ว่าพระเจ้าอยู่หัวๆ พูดดี พูดถูก แต่ว่าความจริงก็จะต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน และก็ไม่กลัวถ้าใครมาวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้นๆ จะได้รู้ เพราะว่า ถ้าบอกว่า พระเจ้าอยู่หัว ไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัว ไม่เป็นคน ไม่วิจารณ์ เราก็กลัวเหมือนกัน ถ้าบอกว่า ไม่วิจารณ์ แปลว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่ดี รู้ได้อย่างไร ถ้าเค้าบอกว่าไม่วิจารณ์พระเจ้าอยู่หัวๆ เพราะพระเจ้าอยู่หัวดีมาก ไม่ใช่อย่างนั้น
บางคนอยู่ในสมองพระเจ้าอยู่หัวพูดชอบกล พูดประหลาดๆ ถ้าขอเปิดเผยว่า วิจารณ์ตัวเองได้ ว่าบางทีก็อาจจะผิด แต่ให้รู้ว่าผิด ถ้าเค้าบอกว่า วิจารณ์พระเจ้าอยู่หัวว่าผิด นั้นขอทราบว่าผิดตรงไหน ถ้าไม่ทราบเดือดร้อน ฉะนั้นที่บอกว่าการวิจารณ์เรียกว่า ละเมิด พระมหากษัตริย์ ให้ละเมิดได้ และถ้าเค้าละเมิดผิด เค้าก็ถูกประชาชนบอม ว่างั้น คือเป็นเรื่องขอให้เค้ารู้ว่าวิจารณ์อย่างไร ถ้าเค้าวิจารณ์ถูกก็ไม่ว่า แต่ถ้าวิจารณ์ผิดไม่ดี แต่ถ้าเมื่อบอกว่าไม่ให้วิจารณ์ ละเมิดไม่ได้เพราะรัฐธรรมนูญก็ว่าอย่างนั้น ก็ลงท้ายพระมหากษัตริย์ ลำบากแย่ อยู่ในฐานะลำบาก เพราะแสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่ให้วิจารณ์ ก็หมายความว่า พระเจ้าอยู่หัว นี้ต้องวิจารณ์ ต้องละเมิด แล้วไม่ให้ละเมิด พระเจ้าอยู่หัวเสีย พระเจ้าอยู่เป็นคนไม่ดี ซึ่งถ้าคนไทยด้วยกัน หนึ่งไม่กล้า สองไม่เอ็นดูพระเจ้าอยู่หัว ไม่อยากละเมิด
แต่มีฝ่ายชาวต่างประเทศมีบ่อยๆ ละเมิด พระเจ้าอยู่หัว ละเมิดเดอะคิง แล้วเค้าก็หัวเราะเยาะ ว่า เดอะคิงพระของไทยแลนด์ เดอะคิงของยู พวกคนไทยทั้งหลายเป็นคนแย่ ละเมิดไม่ได้ ในที่สุดถ้าละเมิดไม่ได้ ก็เป็นคนเสีย เป็นคนที่เสีย ฉะนั้นบางโอกาสของให้ละเมิดจะได้รู้กัน ว่าใครดีไม่ดี นี่พูดเลิยเถิด พูดมากไป แต่ว่าคนที่อยู่ข้างหน้าไม่ต้องกลัว เพราะว่าไม่ได้มีความผิด คนที่นึกว่ามีความผิดพยักหน้า พยักหน้าว่ามีความผิดจริงๆ ควาาจริงเค้าไม่มีความรับผิดชอบ คนที่มาก่อนนะมีความผิด แล้วคนที่พยักหน้าไม่ได้แก้ไข นี่ผิดตรงนี้ ไม่ได้แก้ไข หลบความรับผิดชอบ มันเป็นอย่างนั้น
คือในเมืองไทยคนไหนที่ทำอะไร ไม่เข้าร่องเข้าลอย ก็ลาออก ลาออกแล้วไม่มีอะไรผิดเลย แม้จะทำอะไรผิดมาก ๆ ถ้าเป็นข้าราชการก็เรียกเข้ากระทรวง เข้ากรุงเทพฯ แล้วก็หมดเรื่อง นานๆ ทีมีเข้าคุก นี่พูดอย่างนี้ชักจะหนัก จะเรียกเข้ากรุงเทพฯ แล้วเข้าคุก แต่มีที่เกิดเรื่องเข้าคุก แต่อย่างไรก็ตามเข้าคุกแล้ว ถ้าเป็นการละเมิดพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เองเดือดร้อน เดือดร้อนหลายทาง ทางหนึ่งต่างประเทศเค้ามองเมืองไทยพูดวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ วิจารณ์ไม่ได้ก็เข้าคุก มีเข้าคุก เดือดร้อนพระมหากษัตริย์ ต้องบอกว่า เค้าคุกแล้วต้องให้อภัย ที่เค้าด่าเราอย่างหนักๆ ฝรั่งเค้าบอกว่า ในเมืองไทย พระมหากษัตริย์ถูกด่าเข้าคุก ที่จริงควรจะเข้าคุก แต่ว่า พราะฝรั่งบอกอย่างนั้น ก็ไม่ให้เข้า ไม่มีใครกล้าเอาคนที่ด่าพระมหากษัตริย์เข้าคุก เพราะพระมหากษัตริย์เดือดร้อน เพราะเค้าหาว่าพระมหากษัตริย์เป็นคนที่ไม่ดี อย่างน้อยๆ ที่สุดก็เป็นคนที่จั๊กจี้ ใครมาว่า สักนิดก็บอกให้เข้าคุก ที่จริงพระมหากษัตริย์ไม่เคยบอกให้เข้าคุก
ตั้งแต่สมัยรัชกาลก่อนๆ เป็นกบฎก็ยังไม่จับใส่คุก ไม่ลงโทษ รัชกาลที่ 6 ท่านไม่ลงโทษ ไม่ได้ลงโทษผู้ที่เป็นกฎบ มากระทั่งถึงต่อมา รัชกาลที่ 9 เนี่ยใครเป็นกบฎ ซึ่งก็ไม่เคยมีแท้ๆ ที่จริงก็ทำแบบเดียวไม่ให้เข้าคุก ให้ปล่อย หรือถ้าเข้าคุกแล้วก็ให้ปล่อย ถ้าไม่เข้าคุกก็ไม่ฟ้อง เพราะว่าเดือดร้อน ผู้ที่ถูกด่าเป็นคนที่เดือดร้อน คนที่ละเมิดพระมหากษัตริย์ แล้วก็ถูกทำโทษ ไม่ใช่คนนั้นเดือดร้อนพระมหากษัตริย์เดือดร้อน ไอ้นี่ก็แปลก คราวนี้นักกฎหมายก็ชอบให้ฟ้องให้จับเข้าคุก...”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น