อาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จำนวน 146 คน
ลงรายชื่อพร้อมทำหนังสือถึงประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคัดค้านโครงการรับจำนำข้าว
เพราะเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ
เพราะรัฐบาลกลายเป็นผู้ผูกขาดตลาดเป็นผู้รับซื้อแต่เพียงผู้เดียว
และสร้างความหายนะต่ออนาคตข้าวไทย
นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เข้ายื่นหนังสือร้องเรียน
พร้อมรายชื่ออาจารย์จากคณะต่าง ๆ ของ นิด้าจำนวน
61 คน
อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 27 คน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป 58 คน รวมเป็น 146 รายชื่อ
เสนอต่อประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านนายชวลิต ศรีโฉมงาม ผู้อำนวยการสำนักคดี 5 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อยับยั้งหรือยุติโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล
เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินโครงการเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 มาตรา84 วงเล็บ 1
ที่ว่าถึงการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจระบบเสรีและเป็นธรรม และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน ซึ่งโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลชุดนี้
ทำให้รัฐบาลกลายเป็นผู้ผูกขาด
การรับซื้อข้าวเปลือกรายใหญ่ของประเทศเป็นการทำลายกลไกตลาดการค้าเสรี
สร้างหายนะอนาคตข้าวไทยหลายด้าน อาทิ
คุณภาพข้าวลดลงเนื่องจากการเก็บสต็อกข้าวจำนวนมาก
และไม่มีการระบายออกสู่ตลาด , การกำหนดราคาจำนำที่สูงเกินราคาตลาด
นำไปสู่การบิดเบือนโครงสร้างการผลิตในภาคเกษตร , โครงสร้างอุตสาหกรรมข้าวไทยที่พัฒนามาเป็นอย่างดีถูกทำลายและการประกาศราคาข้าวที่สูงขึ้นทำให้ประเทศไทยขาดความสามารถในการแข่งขันในตลาดการค้าข้าวโลกและทำให้มูลค่าการส่งออกข้าวของประเทศลดลง
46 % นอกจากนี้การระบายข้าว
ระหว่างรัฐต่อรัฐ ยังเป็นการขายในราคาขาดทุนอีกด้วย
คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้หากมีช่องทางอื่นๆ
ก็จะรวบรวมหลักฐาน ไปฟ้องร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป แต่ขอย้ำว่าการดำเนินการครั้งนี้ไม่ต้องการให้ล้มโครงการรับจำนำข้าว
แต่ต้องการให้มีการปรับปรุงแก้ไข เช่น ลดราคาจำนำให้ใกล้เคียงกับราคาตลาด
และจำกัดปริมาณรับจำนำที่ครัวเรือนละ 25 ตัน หรือวงเงิน 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท
เพื่อไม่ให้เกษตรกรรายใหญ่ได้เปรียบ อย่างไรก็ตามยอมรับว่าการดำเนินการในครั้งไม่ได้มีการรับฟังความเห็นจากเกษตรกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น