แถลงการณ์ขององค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔
ในวันนี้(30 ส.ค.) องค์การปิโตเลียมแห่งชาติกัมพูชา ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงถึงการดำเนินการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา ในอ่าวไทย ซึ่งในการเจรจาภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลสมเด็จฮุน ขอปฏิเสธข้อกล่าวหาใดๆ ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชา รวมถึงข้อกล่าวหาจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้ทำลายการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลลง โดยที่ผ่านมา รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นี้ก็มีความพยายามติดต่อเจรจาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลมายังรัฐบาลสมเด็จฮุน เซ็น ด้วย
นอกจากนี้ แถลงการณ์ได้แสดงความยินดีจะเปิดการเจรจากับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกี่ยวกับเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชน ทั้ง 2 ประเทศ
ในแถลงการณ์ มีเนื้อหาระบุ โดยได้อ้างบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างรัฐบาลไทย-กัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชา อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิ.ย.2544 และการจัดตั้งเขตพัฒนาร่วม ซึ่งเอ็มโอยูปี 2544 ไม่ใช่เอกสารธรรมดา แต่เป็นเอกสารบันทึกความเข้าใจของ 2 ประเทศ ที่ได้จัดตั้งคณะงานทางเทคนิค ขึ้นมาเจรจาในเรื่องเขตแดน ในระหว่างปี 2544 - 2550 โดย 2 ประเทศประสบความสำเร็จอย่างมาก จนกระทั่งได้เกิดข้อเสนอในหลายประการ ทั้งในเรื่องการแบ่งโซนในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ในอ่าวไทย
แถลงการณ์ ระบุว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คณะทำงานไม่ได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการ แต่ว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ พยายามติดต่อเพื่อเปิดเจรจาในเรื่องนี้กับทางรัฐบาลฮุน เซ็น โดยมีการประชุมระหว่างสมเด็จฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องนี้และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในวันที่ 27 มิ.ย. 2551 ที่ จ.กันดาน ใกล้กับกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
นอกจากนี้ ยังมีการประชุมระหว่างนายสุเทพ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กับนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ที่ฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 ส.ค.2552 และที่คุนหมิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชน ในวันที่ 16 ก.ค.2553 ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าว นายสุเทพ ได้แสดงความตั้งใจ และอ้างพันธะที่ได้รับมอบหมายจากนายอภิสิทธิ์ ในการดำเนินการเปิดเจรจาดังกล่าว ที่นำไปสู่คำถามจากรัฐบาลสมเด็จฮุน เซ็น ว่า ทำไมถึงต้องมีการประชุมลับ ทั้งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ สามารถเจรจากับกัมพูชาได้อย่างเปิดเผย
แถลงการณ์ ได้อ้างว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้กล่าวหาการเจรจาครั้งก่อนๆ ว่า เต็มไปด้วยผลประโยชน์ส่วนตัวมากมาย ดังนั้น รัฐบาลกัมพูชาจึงขอถามว่า ทำไมภายใต้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ จะต้องมีประชุมลับเช่นนี้ด้วย ซึ่งประชาชน ส.ส.ของไทย และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ทราบถึงการเจรจาทางลับนี้หรือไม่ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในขระนี้ ได้ประกาศยืนยันความโปร่งใสครั้งแรกครั้งเหล่า แล้วที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น นายอภิสิทะ ได้กล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ซึ่งทำงานกับกัมพูชาอย่างเปิดเผย ว่า มีผลประโยชน์ส่วนตัวกับกัมพูชา นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังคงพยายามขัดขวางการเจรจาระหว่างรัฐบาลสมเด็จฮุน เซ็น กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ดังนั้นกัมพูชาจึงมีความจำเป็นเปิดเผยความลับนี้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์และชี้แจงว่า ข้อกล่าวหาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้ประชุมใดๆ กับกัมพูชา หรือมีข้อเสนอใดกับกัมพูชา เกี่ยวกับการเจรจาผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ตามที่นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวหาในการแถลงนโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต่อรัฐสภา ในระหว่างวันที่ 23 - 25 ส.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กัมพูชา ยินดีจะเปิดการเจรจาอีกครั้งในเรื่องนี้ ในการแสวงหาแนวทางปฏิบัติและเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน 2 ประเทศ
หมายเหตุ ทีมงานGo6 ขอตัดข้อความตอนต้นซึ่งพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 และ 4 นอกเหนือจากสาระในเนื้อข่าว ด้วยความเคารพในเนื้อข่าวอย่างยิ่ง
ขอขอบคุณ ฟิฟทีนมูฟ และกรุงเทพธุรกิจ
http://www.15thmove.net/news/petroleum-khmer-reveals-suthep-secret-talk/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น