ประชาธิปไตย เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ ต่อสู้ให้ได้มาเพื่อการยอมรับของคนในสังคมเพื่ออยู่ร่วมกัน เมื่อเป็นการต่อสู้ก็ต้องมีฝ่ายชนะฝ่ายแพ้ มีผู้ได้มีผู้เสีย การชนะที่ถาวรคือการได้รับการยอมรับจากเสียงข้างมากและไม่ถูกปฏิเสธต่อต้าน จากเสียงข้างน้อย
ประเทศที่มีประชาธิปไตยมากได้ผ่านการสูญเสียทุกข์ ทรมานมามากเช่นเดียวกัน ถ้าไม่ตระหนักในสิ่งที่สูญเสียไปย่อมไม่เห็นคุณค่าในสิ่งที่ได้รับมา
การปรองดองสมานฉันท์สามัคคีก็เช่นเดียวกัน ต้องเกิดจากความสมัครใจไม่ใช่การกดข่มบังคับให้เป็นให้ยอมรับ ถ้าไม่สมัครใจก็ไม่เป็นประชาธิปไตย การยื่นเงื่อนไขต่างๆ จากฝ่ายรัฐบาลจึงไม่อาจทำให้เกิดการปรองดองในชาติที่แท้จริงทั้งไม่ยั่งยืน
มีการพยายามจุดประเด็นแยกกลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนไหว เพื่อประชาธิปไตย นปช. ออกจากพรรคการเมือง(เพื่อไทย)มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการชุมนุมเรื่อยมา
ทำไมต้องแยกกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพรรคการเมือง ?
การเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมในนามประชาชนเพียงอย่าง เดียวจะยากในการกดดันเรียกร้องให้ประสพความสำเร็จเพราะขาดน้ำหนักในการต่อ รองเรียกร้อง ยิ่งประชาชนมือเปล่าสุดท้ายจะเกิดการสูญเสียและขาดการต่อเนื่องในการเคลื่อน ไหว เพราะจะมีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่กลัวผลการพ่ายแพ้หรือกลัวเสียประโยชน์ไม่ ส่วนใดก็ส่วนหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน
ดูจากกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตร ที่เคลื่อนไหวโดยได้รับการสนับสนุนจากพรรค ปชป. ซึ่งครั้งนั้นผู้นำฝ่ายค้านโดยคุณอภิสิทธิ์ได้อภิปรายเปิดเผยในสภาฯ เพื่อให้สังคมยอมรับการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมพันธมิตร จนเป็นคำพูดยอดฮิต “จะหนึ่งคนหรือแสนคนออกมาเรียกร้อง รัฐบาลต้องรับฟัง....”
แต่เมื่อเกิดความไม่ลงตัว สุดท้ายกลุ่มแกนนำพันธมิตรก็ต้องตั้งพรรคการเมืองของตนเองเพื่อรักษา เสถียรภาพของผู้ชุมนุมพันธมิตรให้ดูมีพลังต่อรองเคลื่อนไหวทางการเมือง
พรรคการเมือง ถ้าขาดฐานเสียงของประชาชนก็เติบโตแข็งแกร่งได้ยากต้องไปพึ่งพาพลังจากกลุ่ม อื่นแทนพลังของประชาชนเพื่อรักษาเสถียรภาพของพรรคให้คงอยู่ ถ้าพรรคการเมืองส่งผู้แทนฯ ลงสมัครแล้วขาดเสียงประชาชนสนับสนุนเลือกผู้แทนเข้ามา สุดท้ายก็ไม่สามารถคงสภาพของพรรคการเมืองไว้ได้ ดังหลายพรรคที่เงียบหายไปหรือยุบตัวไปรวมกับพรรคการเมืองอื่น
“ประชาชน” กับ “พรรคการเมือง” จึงเป็นของคู่กันที่จะร่วมกันขับเคลื่อนประชาธิปไตยและการบริหารประเทศให้ เจริญรุ่งเรืองไปพร้อมๆ กัน ทั้งประชาชนทั้งพรรคการเมืองและทั้งประเทศ
อยู่ที่ว่าประชาชนจะเลือกสนับสนุนพรรคการเมืองใดเพื่อให้ก้าวไปถึงประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
อยู่ที่พรรคการเมืองใดจะรับฟังและปฏิบัติตามเสียงเรียกร้องของประชาชนเพื่อให้ประชาธิปไตยได้คงอยู่และเบ่งบานได้อย่างสวยงาม
จึงไม่เข้าใจว่า “ทำไม? จะต้องแยก ประชาชน และ พรรคการเมือง ออกจากกัน จึงจะยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ในเมื่อนักการเมืองมาจากการคัดเลือกโดยประชาชน”
คุณสงสัยเหมือนกันไหม?
ที่มา>>> คุณน้ำมิตร PANTIP // rajdumnern
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น