อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในคณะนิติราษฎร์ ได้ร่วมให้ความเห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่นี้ เป็นประโยชน์แก่นักการเมืองหรือประโยชน์แก่ประชาชน
ก. ร่างหมอเหวง น่าสนใจที่สุด แต่ทำได้ยากที่สุด และรัฐบาลจะไม่ยอมรับ
ข. ร่างพรรคร่วมภูมิใจไทย มีแค่ ๒ ประเด็นหลัก ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประชาชนเลย แต่เป็นประโยชน์ของนักการเมืองล้วนๆ เรื่องแบ่งเขตให้เล็กลง ได้รับเลือกตั้งง่ายขึ้น
ค. ร่างของกรรมการปฏิรูป น่าสนใจหากนำทั้ง ๖ ประเด็นเข้ามา ไม่ใช่แค่ตัดตอนเหลือ ๒ ประเด็นตามข่าว
ง. ร่างของรัฐบาล ซึ่งก็ทับซ้อนกับของพรรคร่วมฯ เน้น ๒ ประเด็นที่ไม่เกี่ยวอะไรกับประชาชน แต่อ้างว่าเพื่อประชาชน แต่ร่างนี้ที่สุดจะผ่านสภาแน่นอน
แต่ประเด็นที่อาจารย์สนใจที่สุดกลับกลายเป็น ม. ๓๐๙ เพราะเป็นมาตราที่หลายคนบอกว่าอาจเป็นการสร้างความขัดแย้งให้คนในสังคม นั่นก็คือมาตรา เพราะมาตรา 309 เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คปค. คำสั่งของหัวหน้า คปค. และการปฎิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าคปค. หลักตรงนี้มันหมายความว่า เมื่อมีการรับรองประกาศ คปค. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ นั่นหมายความว่าพวกนี้จะไม่มีโอกาสถูกตรวจสอบถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้เลย
มีคนเคยแย้งผมว่าทำไมจะตรวจสอบไม่ได้ ซึ่งก็มีหลายกรณีที่มีการเสนอคดีไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลตรวจสอบว่า ประกาศ คปค. บางฉบับชอบหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผมก็ยืนยันว่าแม้จะมีการเสนอขึ้นไปได้ แต่ศาลมีอำนาจในการชี้ให้มันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้ไหม (ไม่ได้) เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดและรับรองไว้แล้วว่า เมื่อชอบ แล้วเสนอขึ้นไปก็มีค่าเท่ากัน เพราะฉะนั้นนี่เป็นปัญหาซึ่งจะต้องเอามาตรา 309 ออกไปเลย
และยังมีความเข้าในทางสังคมว่า มาตรา 309 จริง ๆ เป็นมาตราเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมให้กับคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ไม่เกี่ยวเลย เรื่องนี้เมื่อไหร่ที่มีการยกเลิกมาตรา 309 ผลทางกฎหมายก็มีอยู่อย่างเดียวคือ ประกาศ คปค. ก็ดี คำสั่งของหัวหน้า คปค. ก็ดี หรือการกระทำตามประกาศ คำสั่งของหัวหน้า คปค.ก็ดี จะเข้าสู่กระบวนการทางศาลได้ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ามันชอบหรือไม่ชอบ ถ้ามันชอบด้วยเนื้อหาก็วินิจฉัยว่าชอบ ถ้าไม่ชอบด้วยเนื้อหา ก็วินิจฉัยได้ว่ามันไม่ชอบ ถ้าไม่เอามาตรา 309 ออก ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่ามันไม่ชอบ ถึงแม้ตัวเนื้อหามันจะไม่ชอบ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 309 กำหนดเอาไว้แล้วว่ามันชอบด้วยเรื่องรัฐธรรมนูญ นี่คือปัญหาสำคัญ แล้วระบบอย่างนี้มันสร้างปัญหาเชิงหลักการอีกแบบหนึ่งก็คือว่า เรามีระบบตรวจสอบเรื่องความชอบรัฐธรรมนูญด้วยกฎหมายแยกออกเป็นสองทางคู่ขนานกันไป จะเรียกว่า สองมาตรฐานก็ได้
ทางหนึ่งก็คือว่ากฎหมายพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ถ้ามีปัญหาว่าชอบหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ แล้วศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ามันไม่ชอบจริง ๆ แต่ถ้าเป็นเรื่องประกาศ คปค. ถึงเสนอไปที่ศาลได้ แต่ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่ามันไม่ชอบ นี่ก็คือความต่างกันเรื่องการจัดระบบตรวจสอบความชอบรัฐธรรมนูญตามกฎหมายที่มันแยกต่างหากจากกัน
ดังนั้นจึงพอสรุปใจความได้ว่า ม. ๓๐๙ บังคับให้ศาลรับรองความชอบธรรมของประกาศคณะปฏิวัติ ไม่ว่าในเนื้อหาสาระของประกาศจะชอบหรือไม่ชอบฯ แต่รัฐธรรมนูญบังคับให้ตัดสินว่า "ชอบด้วยกฏหมาย" เท่านั้น
อ้างอิง มติชนออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น