![]() |
ข่าวเก่ายืนยันว่าเรื่องจบแล้ว |
![]() |
อภิสิทธิ์โต้สถานทูตเยอรมันอย่ามายุ่ง |
หลังจากกระแสข่าวคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สหรัฐอเมริกา ตัดสินให้ประเทศไทยเป็นฝ่ายแพ้คดี รับรองคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ ทำให้คนไทยหลายคนสงสัยว่า "คดีเครื่องบินฯ" จบไปแล้วไม่ใช่หรือ แล้วทำไมยังกลับมามีข่าวอีก อีกทั้งในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ทุกคนก็รับทราบเหมือนๆกันผ่านสื่อสารมวลชนว่า "เรื่องเครื่องบินจบแล้ว"
ทีมงานย้อนรอยนำข่าวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดือน กรกฏาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม 2553 มานำเสนอเพื่อยืนยันว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์สมัยนั้น "ซุกคดีไว้ใต้พรม" จนเป็นที่มาของความเสื่อมเสียชื่อเสียงในวันนี้
กษิตระบุจบแล้ว คดียึดเครื่องบิน
"ทั้งนี้ คดีการอายัดเครื่องบินนั้นไม่มีการไปวางเงินในศาล แต่เรื่องของคดีหลักที่ศาลกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงการดำเนินอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบกระเทือนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งกำลังดำเนินการในหลายช่องทางอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลายประเด็นที่พันกันอยู่ ทั้งนี้คิดว่าจะรายงานความคืบหน้าในคดีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ตนทราบในช่วงปลายสัปดาห์นี้
เมื่อถามถึงการทำให้เครื่องบินดังกล่าวถูกถอนอายัด นายกรัฐมนตรี ( นายอภิสิทธิ์ ) กล่าวว่า กำลังดำเนินการกันอยู่ เมื่อถามว่าการดำเนินการต่าง ๆ ในเรื่องนี้อยู่ภายใต้แรงกดดันจากหลายทางใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นธรรมดา มีแรงกดดันต่อทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งรวมถึงฝ่ายบริษัทดังกล่าว เมื่อถามต่อว่าบริษัทนี้ได้ติดต่อเพื่อขอให้มีการประนีประนอมอะไรหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เขาขอประนีประนอมมาเป็นระยะ ๆ แต่ช่วงนี้ยังไม่มีการติดต่อเข้ามา
ขณะที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องเดียวกันว่า เรื่องนี้อยู่ในระดับปลัดกระทรวงที่ได้ประชุมกันไปแล้วในระดับรายละเอียดของเรื่องที่ต่อเนื่อง เมื่อถามว่าการยึดเครื่องบินส่วนพระองค์ และคดีบริษัท วอลเตอร์ บาว จะทำอย่างไร และใครจะดำเนินการต่อไป นายกษิต กล่าวว่า เป็นเรื่องของสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ต่อข้อถามว่าหลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระราชกระแสและพระราชปณิธานดังกล่าว ในส่วนของคดีที่เกี่ยวกับบริษัทดังกล่าวจะทำเช่นใด นายกษิต กล่าวว่า เรื่องจะกลับมาที่รัฐบาล และว่ากันในกรณีที่บริษัท วอลเตอร์ บาว ร้องขอต่อศาลกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ให้บังคับคดีตามคำสั่งของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเป็นหลัก ในวันที่ 16 ส.ค.นี้
เพราะการฟ้องร้องคดีเริ่มต้นที่นั่น จึงกลับไปเริ่มต้นที่คดีตัวหลักที่ศาลกรุงเบอร์ลิน ซึ่งคดีอายัดเครื่องบินพระที่นั่งนั้นเป็นส่วนหนึ่งของคดีหลัก และตอนนี้ อสส.อยู่ระหว่างการปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดกับคณะทนายความของเรา ส่วนการอายัดเครื่องบินพระที่นั่งนั้น ถือว่าจบแล้ว ไม่เกี่ยวกัน เพราะมีพระราชวินิจฉัยเป็นอื่นแล้ว และเมื่อเราเลือกไปทำที่ต้นเรื่องในคดีหลัก คดีรองก็หลุดไปโดยปริยาย
ส่วนข้อถามถึงการเตรียมอุทธรณ์ในกรณีที่บริษัทนี้ยื่นขอให้มีการบังคับคดี นายกษิต กล่าวว่า การต่อสู้คดีตามที่มีการแถลงข่าวหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไปแล้ว ซึ่งหลังการประชุมครม.นัดพิเศษนายกรัฐมนตรีได้เรียกประชุมกลุ่มย่อยต่อ เพื่อประสานกับคณะทนายความที่จะไปสู้คดีนี้ที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อถามต่อถึงการฟ้องร้องคดีเพิ่มเติม นายกษิต กล่าวว่า นั่นเป็นการฟ้องกลับ ซึ่งต้องทำทีละขั้นตอน โดยกระทรวงการต่างประเทศได้ส่งคณะทำงานจากกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เข้าไปช่วย อสส.แล้ว."
นายกฯโต้สถานทูตเยอรมันไม่ควรมายุ่งเกี่ยวกับการจ่ายชดเชย
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ไทยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่บริษัท วอลเตอร์ บาว เป็นเงิน 36 ล้านยูโร (ประมาณ 1,558 ล้านบาทไทย) โดยอ้างว่าคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2552 เป็นที่สิ้นสุดแล้ว ว่า เมื่อวันที่ 26 ก.ค.กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้แสดงท่าทีไปแล้ว ซึ่งตนคิดว่าปัญหานี้กระบวนการต่างๆยังไม่จบ จึงไม่ควรเข้ามาเกี่ยวข้อง
“สถานทูตเยอรมันพูดคนละคดี เท่าที่ทราบสถานทูตเยอรมันพูดถึงตัวคดีหลัก ไม่ใช่คดีอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ส่วนพระองค์ฯ ซึ่งผมก็ต้องยืนยันว่ารัฐบาลไทยยังอยู่ในกระบวนการต่อสู้ โดยเฉพาะเรื่องการใช้สิทธิของวอลเตอร์ บาว เขาคงพูดถึงในแง่อนุญาโตฯ แต่เรากำลังพูดถึงว่ามีการฟ้องให้ชำระหนี้ที่นิวยอร์ก” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่ากระบวนการควรจะสิ้นสุดที่ศาลหรืออนุญาโตฯ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทั้ง 2 ฝ่ายมีคดีอยู่ที่นิวยอร์ก ตนจึงถือว่าไม่สิ้นสุด
ต่อข้อถามว่าหลายคนมองว่าสถานทูตเยอรมันมีท่าทีเหมือนข่มขู่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลอะไรที่ทางเยอรมันจะทำอย่างนี้ ซึ่ง กต.ได้มีหนังสือไปแล้ว ว่าโดยข้อเท็จจริงเรื่องนี้ยังไม่จบ ถ้าจบรัฐบาลไทยก็มีความรับผิดชอบอยู่แล้ว ฝ่ายบริหารของเยอรมันจึงไม่ควรมายุ่งกับเรื่องนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น