นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ |
นายเรืองไกร อ้างว่า พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ยกย่องไว้ในฐานะรัฐบุรุษ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2531 มาจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ พระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งขององคมนตรีและรัฐบุรุษ พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอน 22 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 ซึ่งถ้านับเป็นจำนวนเดือนมาถึงวันที่ในคำร้องนี้จะได้ประมาณ 55 เดือน หากนำเงินประจำตำแหน่งรัฐบุรุษ ตามมาตรา 5 ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ที่กำหนดไว้เป็นเดือนละ 121,950 บาท เท่ากับว่า มีการจ่ายเงินไปแล้วประมาณ 6,707,250 บาท ประกอบกับได้มีการจัดซื้อรถประจำตำแหน่งรัฐบุรุษโดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำนวน 1 คัน ราคา 7,350,000 บาท ในปีงบประมาณ 2554 ก็อาจจะเป็นเงินของแผ่นดินที่ไม่มากนัก
นายเรืองไกร อ้างว่า สำหรับผู้ที่ได้รับพระบรมราชโองการยกย่องไว้ในฐานะรัฐบุรุษ แต่เมื่อคำว่า “รัฐบุรุษ” ไม่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 196 บทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินประจำตำแหน่งขององคมนตรีและรัฐบุรุษ พ.ศ. 2551 จึงอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 196 และอาจเป็นอันใช้บังคับมิได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6
นายเรืองไกร ได้ร้องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรับคำร้องนี้ไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ด้วยการเสนอเรื่องพร้อมความเห็นตามคำร้องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า
อ้างอิง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345446095&grpid=00&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น