วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ด่วน!! go6tv ถ่ายทอดสด จันทรุปราคาสดๆ ตลอดทั้งคืนนี้

จับตาเฝ้าชม ‘จันทรุปราคา’ เต็มดวงครั้งแรกในรอบ 4 ปี แถมใช้เวลาเกิดนานที่สุดถึง 3.36 ชั่วโมง 16 มิ.ย.นี้ คนไทยเห็นได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาค นอกจากนี้ยังจะได้ชม ‘จันทรุปราคาบังดาวฤกษ์’ ในวันเดียวกันอีกด้วย …

วันที่ 6 มิ.ย. ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ แถลงข่าว ชวนคนไทยรอชม 2 ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า “จันทรุปราคาเต็มดวงและจันทรุปราคาบังดาวฤกษ์” ว่า ในคืนวันที่ 15 มิ.ย. ถึงเช้ามืดของวันที่ 16 มิ.ย. 2554 จะเกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งสำคัญ คือ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี หลังเคยเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 3 มี.ค.2550 โดยจันทรุปราคาเต็มดวง หรือดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ มาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันครั้งนี้ จะเกิดขึ้นใช้เวลายาวนานมาก โดยดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามืดของโลกในเวลา 01:22:37 น. และดวงจันทร์เข้าสู่ช่วงคลาสเต็มดวงตั้งแต่เวลา 02:22:11 น. ถึง 04:03:22 น.เป็นเวลายาวนานถึง 100 นาทีเต็มๆ หรือ 1 ชั่วโมง 40 นาที 52 วินาที ที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลก แต่ถ้านับปรากฏการณ์ตั้งแต่เริ่มต้นจะพบการเกิดจันทรุปราคาครั้งนี้กินเวลา นานถึง 3 ชั่วโมง 39 นาที ซึ่งถือว่านานที่สุดตั้งแต่เคยเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา

สำหรับจันทรุปราคาครั้งนี้ เราจะได้เห็นดวงจันทร์สีแดงอิฐอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ สูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ 30 องศา (สังเกตการณ์จากจังหวัดเชียงใหม่) นอกจากนี้หากท้องฟ้าดี ไม่มีเมฆมากนัก ประกอบกับตำแหน่งที่สังเกตการณ์อยู่ห่างจากตัวเมือง และไม่มีแสงไฟรบกวน ก็จะมีโอกาสเห็นทางช้างเผือกในคืนวันเพ็ญขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้ง ดวง


ดร.ศรัณย์ กล่าวต่อว่า จันทรุปราคาในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ คนไทยสามารถชมปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ด้วยตาเปล่าในทุกภูมิภาคของประเทศค่อน ข้างชัดเจน นอกจากนี้ หากท้องฟ้าใส ไม่มีเมฆ และไม่มีแสงไฟรบกวน จะมีโอกาสเห็น “ทางช้างเผือก” ในคืนวันเพ็ญ ขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังอีกด้วย สำหรับจันทรุปราคาครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในเดือนมหามงคลและในวันรัฐธรรมนูญคือ วันที่ 10 ธ.ค.2554

รอง ผอ.สดร. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในวันที่ 16 มิ.ย. ยังมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์อีกปรากฏการณ์เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน คือ ขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงาของโลกเกือบเต็มดวงนั้น ดวงจันทร์ยังเคลื่อนที่ไปบังดาวฤกษ์ที่ชื่อว่า 51 Ophiuchi(โอฟีอุชชี) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์สีขาวที่อยู่นอกระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มาก แต่อยู่ไกลจากโลกมากถึง 446.35 ปีแสง อีกด้วยทั้งนี้ เราจะมองเห็นดาวฤกษ์ 51 Ophiuchi เริ่มหายเข้าไปหลังดวงจันทร์สีแดงอิฐในเวลาประมาณ 02.02 น. และจะโผล่พ้นดวงจันทร์ออกมาในเวลาประมาณ 02.12 น.


ไม่มีความคิดเห็น: