วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

"อ.เกษียร" จิก "วสันต์-ปธ.ศาล รธน." สงสัยท่านเล่นเกมส์ไวยากรณ์






จากกรณีที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ถึงการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่า ขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ จะชัดเจนว่าการยื่นคำร้อง เป็นเรื่องของผู้ทราบ ไม่ใช่เรื่องของอัยการสูงสุดเพียงอย่างเดียวนั้น

นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าวผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า

วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงการตีความมาตรา 68 ของรธน. 2550 ว่า: "ขอให้ไปดูรัฐธรรมนูญฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษจะชัดเจน"

เอ้ามาดูกัน

มาตรา 68 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีความว่า:

"ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว..."

คำแปลภาษาอังกฤษฉบับทางการของรัฐสภาเองคือ

"In the case where a person or a political party has committed the act under paragraph one, the person knowing of such act shall have the right to request the Prosecutor General to investigate its facts and submit a motion to the Constitutional Court for ordering cessation of such act..."

อันนี้สงสัยท่านวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์จะเล่นเกมไวยากรณ์... ให้ผมเดานะ คือแกเล่นมุขว่า ตกลง "submit a motion to the Constitutional Court for ordering cessation of such act..." เนี่ย มันขยายส่วนไหน? 

ขยาย 1) "the person knowing of such act shall have the right to request the Prosecutor General to investigate its facts and (the right to) submit a motion..." หรือว่า

ขยาย 2) to request the Prosecutor General to investigate its facts and (request the Prosecutor General to) submit a motion...." 

สรุปคือ วสันต์ใช้ความกำกวมของไวยากรณ์อังกฤษว่าวลีหลังนี้อะไรเป็นประธานของกริยา submit ระหว่าง "the person" หรือ "the Prosecutor General" มาอ้างตีความแบบ 1) "the person" ขณะที่ในความเห็นผม ควรตีความไวยากรณ์ตรงนี้แบบ 2) "the Prosecutor General"

ไม่มีความคิดเห็น: