เอกสารนี้ เป็นการ "แถลงเจตนารมณ์"
ของทั้งสองฝ่ายที่จะ "ติดต่อสื่อสารเพื่อร่วมมือกัน"
ในทางวิทยาศาสตร์ อาทิ
การใช้ดาวเทียมสำรวจโลกและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดการภัยพิบัติและความมั่นคงทางด้านอาหาร
และโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสำรวจสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่มนุษยชาติ
นักกฎหมายท่านไหนอ่านอย่างมีสติ
ก็จะทราบว่าเอกสารนี้ ไม่ใช่ "หนังสือสัญญา"
ที่มุ่งให้เกิดความผูกพันทางกฎหมาย การที่ รัฐบาลประชาธิปัตย์ ไม่ได้ดำเนินการตาม
มาตรา 190 ในเวลานั้น จึงถูกต้องแล้ว
ฉันใดก็ฉันนั้น หากการที่รัฐบาลเพื่อไทย
ประสงค์จะ "ติดต่อสื่อสารเพื่อร่วมมือกัน" กับ นาซ่า
เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของเอกสารฉบับนี้ เช่น
เอื้อเฟื้ออำนวยความสะดวกให้ใช้สนามบินได้ ก็ไม่น่าจะเข้ากรณี มาตรา 190
เช่นกัน
แต่แม้จะไม่เข้า มาตรา 190
เรื่องความมั่นคง ก็ยังต้องดูให้รอบคอบ
*** เราต้องระวังอย่านำ มาตรา 190
กับ "ความมั่นคง" มาปนเป็นเรื่องเดียวกัน ***
เรื่องความมั่นคงบางเรื่อง ตรวจสอบได้โดย สภา
หรือ ศาล แต่หลายเรื่อง ก็ตรวจสอบได้โดยกลไกอื่น เช่น สภากลาโหม หรือ
สภาความมั่นคงแห่งชาติ ฯลฯ
ใครจะตรวจสอบเรื่องใดได้ ต้องว่าไปตามกฎหมาย
ไม่ใช่อารมณ์หรือความรู้สึก
ดังนั้น การที่เรื่องใด ไม่ต้องผ่านรัฐสภา
(+ศาล) ตาม มาตรา 190 ไม่ใช่ว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง
และการที่เรื่องใดอาจเกี่ยวกับ ความมั่นคง
ก็มิได้แปลว่า ต้องผ่านรัฐสภา (+ศาล) ตาม มาตรา 190
เสมอไป
มิเช่นนั้น ก็ไม่ต่างอะไร กับการเปิดทางให้
"ศาล" ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มาเป็นผู้ชี้ขาดเรื่องความมั่นคงแทน
"ฝ่ายบริหาร"
ซึ่งการกระทำแบบนั้น ก็คือ การทำลาย
"ความมั่นคงในทางประชาธิปไตย" ในที่สุด !
===
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ // นักกฎหมายอิสระ