วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เสวนา “นาซ่าจะมาทำอะไรที่อู่ตะเภา” สับนักการเมืองชั่วบิดเบือนงานวิจัยระดับโลก

ตอน1 เผยภาพภายในเครื่องบินวิจัยอากาศทั้งหมด

ตอน2 การเข้าถึงข้อมูลทุกชิ้นของนาซ่า

ตอน3 วอนเลิกเชื่อมโยงการเมือง ขอให้เป็นวิชาการ

ตอน4 ทำไมต้องเป็นอู่ตะเภา

ตอน5 ระวัง "จีน" ไม่พอใจ!



ตอน6 ทำไมนาซ่ารีบเร่ง?



ตอน 7 อย่าเอาการเมืองไทย มาทำลายงานวิจัยวิทยาศาสตร์ระดับโลกเลย

ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  ดร.นริศรา ทองบุญชู อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ให้ความเห็นกรณีองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือ นาซา ยื่นขออนุญาตใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อเป็นสถานีวิจัยศึกษาเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศ ระหว่างการเสวนาเรื่อง “นาซ่าจะมาทำอะไรที่อู่ตะเภา”ว่า นาซาต้องการสำรวจชั้นบรรยากาศมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างไร เพื่อที่เข้าใจกระบวนการทั้งหมด ถ้านาซานำเครื่องบินและอุปกรณ์มาปฏิบัติการจะทำให้คำนวณการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศได้มากขึ้น ทำให้ทราบว่ามีผลอย่างไรต่อสภาพอากาศ การเกิดเมฆและฝน และนำข้อมูลมาทำนายสภาพอากาศ เพื่อใช้ป้องกันปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งและมลพิษทางอากาศ

นางนริศรา กล่าวต่อว่า มีโอกาสร่วมงานกับนาซาในโครงการศึกษาสภาวะอากาศที่สหรัฐอเมริกา โดยโครงการหนึ่งมีมูลค่า 900 ล้านบาท ส่วนกรณีที่ไม่สามารถบอกกำหนดการบินได้ล่วงหน้าเพราะสภาพอากาศแน่นอน รวมถึงเครื่องบินที่ใช้ในการปฏิบัติการภายในมีแต่อุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยเท่านั้น และได้รับความรู้จากการร่วมงานครั้งนี้มาก

“ในการศึกษาที่ประเทศไทยครั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเผยแพร่ให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วไปแน่นอน แต่ไม่ทันทีเพราะต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน หลังจากนั้นใครก็สามารถหยิบข้อมูลมาใช้ได้เลย ส่วนกรณีที่นาซาต้องการคำตอบของไทยภายในวันที่ 26มิถุนายน เป็นเพราะทำเรื่องมานานแล้วแต่กระบวนการล่าช้าในช่วงการพิจารณาของกระทรวงต่างประเทศ ทำให้มีเวลาเตรียมโครงการน้อย"นางนริศรากล่าว

ด้านนางบุศราศิริ ธนะ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สาเหตุที่นาซ่าเลือกเข้ามาศึกษาในช่วงนี้เพราะไทยได้รับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พอดีซึ่งเป็นสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการตรวจ ฝุ่นควันในอากาศหรือ ละอองลอย ที่เคลื่อนที่ไปในอากาศหลายๆแห่งของโลกจะทำให้การคาดการณ์โลกร้อนใกล้เคียงกับความจริงที่สุด

นางบุศราศิริกล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีข้อมูลภาคพื้นดินจากสถานีตรวจวัดภาคพื้นดิน และในชั้นบรรยากาศที่ได้ข้อมูลจากดาวเทียม แต่ยังขาดข้อมูลที่ต้องใช้เครื่องบินเก็บตัวอย่าง

นายเสริม จันทร์ฉาย อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ความเห็นว่า ก่อนหน้านี้นาซามีความสนใจศึกษาสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือมีไฟป่าที่หนาแน่น และชุมชนขยายตัวอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศของโลก และทำให้พายุรุนแรงมากขึ้น จึงเป็นต้นกำเนิดของโครงการ 7-SEAS ที่ต้องใช้ดาวเทียม, เครื่องบินและเครื่องวัดภาคพื้นดิน ในการปฏิบัติการ

นายเสริมกล่าวว่า ประเทศไทยจะได้ประโยชน์เพราะปัจจุบันความสามารถทางเครื่องมือของนักวิชาการไทยยังไม่สูงมากนักดังนั้นการศึกษาของนาซาจะทำให้ไทยมีองค์ความรู้ด้านบรรยากาศมากขึ้น แต่ยังไม่เห็นมีข้อเสียใดๆเลย ในขณะที่เลือกใช้อู่ตะเภาเพราะมีรันเวย์ที่ยาว มีความพร้อมด้านอาคารและสถานที่ อยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร และประสานงานง่าย

ไม่มีความคิดเห็น: