นายโภคิน พลกุล |
นายโภคิน พลกุล ในฐานะอดีตประธานรัฐสภาฯ แถลงข่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ว่า ได้ปรึกษาหารือกัน และดูจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ และประเพณีการปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตยในช่วงที่ผ่านมา ได้ความเห็นสรุปว่า ศาลไม่มีอำนาจออกคำสั่งกับรัฐสภา เพราะหากมีกรณีที่ทำได้เช่นนี้ ต้องมีในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเท่านั้น เพราะอำนาจของสามองค์กรนั้น(ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร) องค์กรใดองค์กรหนึ่ง จะไปก้าวล้ำการใช้อำนาจขององค์กรอื่นไม่ได้ แต่ทั้งสามองค์กร จะมีการตรวจสอบซึ่งกันและกันได้ เช่น ถ้าสภาฯ ออกกฎหมายมาแล้วขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งคดีไปสู่ชั้นศาล ก็เป็นเรื่องของคู่ความที่จะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลต้องรอการพิจารณาไว้ก่อนตามรัฐธรรมนูญ หรือกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติผ่านทั้งสองสภา โดยนายกฯ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป หากมีคนโต้แย้งว่าร่างดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญ นายกฯ จะต้องชะลอการดำเนินการเอาไว้ก่อน ซึ่งทุกเรื่องกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น
นายโภคิน กล่าวอีกว่า การกำหนดนโยบายของฝ่ายบริหาร จะถูกตรวจสอบโดยสภาฯ และศาลว่ากระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งแต่ละองค์กรต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนเพื่อให้ถ่วงดุลกัน ถ้าศาลรัฐธรรมนูญสั่งรัฐสภาฯได้ ก็สั่งวุฒิสภาหรืออยู่ดีๆ สั่งศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองได้อีก ทั้งๆ ที่ทุกองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยในนามของประชาชนทั้งสิ้น
ส่วนกรณีที่มีการโต้แย้งกันว่าคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ผูกพันทุกองค์กร และต้องปฏิบัติตามนั้น รัฐธรรมนูญกำหนดว่าต้องเป็นคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษา ซึ่งจะออกคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาได้นั้น ต้องมีขั้นตอน เช่น ต้องมีองค์คณะในการประชุมอย่างน้อย 5 คน แต่ละท่านต้องทำคำวินิจฉัยส่วนตนมาก่อน และแถลงต่อที่ประชุม และหากจะมีคำวินิจฉัยส่วนกลางต้องพูดถึงความเป็นมา ข้อกล่าวหาและสรุปข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย เหตุผลและการอ้างอิง ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นี่คือคำวินิจฉัย ดังนั้นคำวินิจฉัยดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกับองค์กรใดเลย เป็นแค่คำสั่งซึ่งอาศัยข้อกำหนดที่ตนเองออกมาไปโยงกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งกรณีการใช้วิแพ่งนั้นก็ต้องให้คนไปร้องขอให้ศาลสั่ง ซึ่งก็ไม่ได้มีการขอ
นายโภคิน กล่าวด้วยว่า รัฐธรรมนูญบอกว่าต้องออก พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ในเรื่องวิธีพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญภายใน 1 ปี ซึ่งตอนนี้เกินและยังไม่ได้ออก ระหว่างชั่วคราวนี้ก็ให้ออกเป็นพระราช
กำหนดไปก่อน เท่ากับว่าวิธีพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญออกโดยคน 9 คน แต่ไปกำหนดให้สมาชิกรัฐสภา 500 คนปฏิบัติตามข้อกำหนดที่คน 9 คนกำหนด ซึ่งถ้าเป็นพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญและออกโดยสภาฯ
ที่มาจากประชาชน และไปกำหนดให้สภาฯ ต้องฟังศาลรัฐธรรมนูญ แบบนั้นยังพอเข้าใจได้ว่ามาจากประชาชน ดังนั้นถ้าให้ศาลรัฐธรรมนูญออกคำสั่งเช่นนี้ได้ จะกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยและการทำงานของ
สภาฯ
เมื่อถามถึงกรณีที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่ารัฐธรรมนูญฉบับภาษาอังกฤษ ระบุชัดว่าการยื่นคำร้องเป็นเรื่องของผู้ทราบ ไม่ใช่เรื่องของอัยการสูงสุดเพียงอย่างเดียว นายโภคินกล่าวว่า เวลาตีความรัฐ
ธรรมนูญใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย ศาลไทยใช้กฎหมายไทยหมด ไม่ได้ใช้กฎหมายต่างประเทศ แต่นี่เกิดไปอ้างภาษาอังกฤษขึ้น ทั้งที่ภาษาอังกฤษเป็นคำแปลของภาษาไทย ซึ่งอาจจะแปลถูกหรือผิดได้ และ
แน่ใจหรือว่าคำแปลที่เขาแปลหมายถึงการยื่นได้ 2 ทาง เพราะรัฐธรรมนูญใช้คำว่าให้ไปร้องอัยการสูงสุด เพื่อสอบสวนและยื่นศาลรัฐธรรมนูญต่อไป คำมันอยู่ในประโยคเดียวกันหมด นักกฎหมายจะตีความอย่างไรก็
ได้ แต่ถามว่าผู้ร่างกฎหมายต้องการให้คนไปยื่นพร้อมกันสองทางใช่หรือไม่ ต้องตอบคำถามนี้ให้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น