วันที่ 17 ธันวาคม 2556 (go6TV)- บทวิเคราะห์ ชื่อ "In Thailand, Standing Up for Less
Democracy" เขียนโดย Thomas Fuller ระบุว่า
ขณะที่ทั่วโลกเกิดขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย เช่น ปรากฏการณ์อาหรับสปริง,
การปฏิวัติสีส้มในยูเครน และการปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ในเมียนมาร์
ในประเทศไทย ผู้ประท้วงกลับลุกฮือเรียกร้องให้ลดทอนความเป็นประชาธิปไตย
ผู้สื่อข่าว ทอมัส ฟุลเลอร์ รายงานว่า
กลุ่มผู้ประท้วงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เรียกร้องให้มี "สภาประชาชน"
จากการคัดเลือกบุคคลในสายขาอาชีพต่างๆ ทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้ง
แม้นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เสนอให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่
เพื่อยุติวิกฤตทางการเมือง แต่กลับเป็นสิ่งที่ผู้ประท้วงไม่ต้องการ
ฟุลเลอร์ บอกว่า ในประเทศไทยซึ่งกำลังเกิดความแตกแยก
ประชาชนฝ่ายเสียงข้างมากต้องการเสริมสร้างประชาธิปไตย
หากแต่ประชาชนฝ่ายเสียงข้างน้อย ซึ่งมีเศรษฐีและผู้ทรงอิทธิพลเข้าร่วมการชุมนุม
กลับหวาดผวากับประชาธิปไตย
นักสังเกตการณ์พูดกันว่า ด้วยเหตุที่ตระกูลมหาเศรษฐีได้เข้ามาเป็นแกนนำการประท้วงในครั้งนี้
จึงเกิดภาพกลับกันกับขบวนการอ็อกคิวพาย วอลสตรีท นั่นคือ ในกรณีของไทย คน 1%
ของสังคมกำลังต่อต้านคน 99%
ผู้ชุมนุมมีทั้งคนจนและคนรวย ชาวกรุงเทพ และประชาชนจากภาคใต้ของไทย
แต่คนเหล่านี้มีจุดร่วมตรงกัน คือ ต้องการทำลายพรรคเพื่อไทยของนางสาวยิ่งลักษณ์
ซึ่งชนะเลือกตั้งทุกครั้งนับแต่ปี 2544 เป็นต้นมา
บทวิเคราะห์ บอกว่า
ปรากฏการณ์ที่ประเทศไทยกำลังถูกสร้างความปั่นป่วนโดยขบวนการต่อต้านประชาธิปไตย
นับว่าน่าประหลาดใจ ไทยเป็นประเทศแรกๆในเอเชียที่มีประชาธิปไตย
หญิงชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเลือกตั้งท้องถิ่นตั้งแต่ปี พ.ศ.2440
หรือก่อนที่สหรัฐจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ห้ามกีดกันสิทธิเลือกตั้งของสตรี ถึง 2 ทศวรรษ
ความคิดต่อต้านประชาธิปไตยของแกนนำการประท้วง
ขัดแย้งกับภาพลักษณ์ของไทยที่เป็นประเทศเปิด ในทุกๆคืน
ผู้ปราศรัยบนเวทีจะแสดงความกังขาต่อหลักการ หนึ่งคน หนึ่งเสียง
@ นักท่องเที่ยวชาวตะวันตก ในย่านถนนข้าวสาร เดินผ่านด่านตรวจของผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2556
|
รายงานบอกว่า เมื่อมองโดยผิวเผิน
การประท้วงครั้งนี้เป็นการแย่งชิงอำนาจระหว่างประชาชนฝ่ายเสียงข้างมาก กับประชาชนฝ่ายเสียงข้างน้อยซึ่งไม่พอใจที่แพ้เลือกตั้งมาโดยตลอด
และไม่สามารถกำหนดนโยบายในประเทศที่มีการรวมศูนย์อำนาจอย่างมากได้
ทว่าวิกฤตของไทยในรอบนี้มีหลายด้าน
และเชื่อมโยงกับประเด็นสถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์
ผู้ปราศรัยบางรายบอกว่า การล้มเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อพ.ศ.2475
เป็นความผิดพลาด
แกนนำหลายคนเรียกร้องให้มีนายกรัฐมนตรีจากการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์
ดาราละครทีวี "โอ" อนุชิต สพันธุ์พงษ์ โพสต์ทางเฟซบุ๊คว่า
เขาไม่ชอบนักการเมืองคอรัปชั่น อยากเกิดมาในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
"ผมไม่คิดว่า เราเหมาะกับประชาธิปไตยในตอนนี้
เราไม่เข้าใจประชาธิปไตยกันนัก รวมทั้งตัวผมเองด้วย".
ที่มา : New York Times
ภาพ : AFP
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น