วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทความพิเศษ พิชิต ชื่นบาน : "หลักความรับผิดชอบร่วมกัน หลักของความต่อเนื่อง และหลักการทำอะไรตามอำเภอใจ"

หลักความรับผิดชอบร่วมกัน หลักของความต่อเนื่อง และหลักการทำอะไรตามอำเภอใจ
หลักความรับผิดชอบร่วมกันเป็นองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้คณะรัฐมนตรี “มีภาระรับผิดชอบ”
ในการบริหารราชการแผ่นดิน อันเป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๑ ที่บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอีกไม่เกินสามสิบห้าคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน”
หลักของความต่อเนื่องในประโยชน์สาธารณะจำเป็นต้องมีในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ความมั่นคงแห่งรัฐ และอื่นๆ ดังนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๘๑ จึงบัญญัติให้ “คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่”

ทั้งหลักการความรับผิดชอบร่วมกัน และหลักแห่งความต่อเนื่องถือเป็นหลักการ และกระบวนการปกติของการบริหารราชการแผ่นดิน

มาวันนี้เหตุใดสังคมบางส่วนจึงยอมรับที่จะไม่ปฏิบัติตามหลักการทั้งสอง โดยวินิจฉัยบิดเบือนการบังคับใช้กฎหมายให้ผิดไปจากปกติในลักษณะผิดธรรมชาติ โดยมีการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก หรือคณะรัฐมนตรีทั้งคณะลาออกทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ คณะรัฐมนตรีที่มีภาระหน้าที่ในความรับผิดชอบร่วมกัน ต้องละทิ้งความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดสุญญากาศในการตั้งนายกตาม มาตรา ๗
คำถาม สังคมส่วนหนึ่งที่เห็นคล้อยกับ กปปส.

ตกลงจะให้ประเทศนี้อยู่กันโดยอาศัยหลักอำเภอใจแทนหลักการข้างต้นหรือ และหากปฏิบัติกันอย่างนี้คิดว่าปัญหาจะจบหรือ



ไม่มีความคิดเห็น: