วันที่ 19 เมษายน 2556 (go6TV)
ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา
ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีขอคัดค้านการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่ส.ส.และส.ว. 312 คนเข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ซึ่งเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา
68 นั้นเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
ที่ให้ยื่นคำร้องใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญตามมาตรา 68
ให้ยื่นผ่านอัยการสูงสุดเพียงทางเดียวจะเป็นการลิดรอนสิทธิของประชาชนและไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้การแก้ไขมาตรา 68
ยังขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ที่เคยมีคำวินิจฉัยไว้ชัดเจนว่าประชาชนมีสิทธิยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง
อีกทั้งยังมองว่าการเสนอแก้ไขมาตรา 68
อาจจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครอง เนื่องจากหากแก้ไขมาตรา 68
สำเร็จ รัฐสภาก็อาจจะหยิบยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291
ที่ค้างอยู่ วาระ 3 ในสภามาพิจารณาได้ทันที
ดังนั้นการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้เป็นการสมยอมและแบ่งกันหน้าที่กันทำ
เพื่อเอื้อประโยชน์ระหว่างส.ส.และ ส.ว. ที่จะมีการแก้ไขไม่ให้มีการยุบพรรค
อีกทั้งให้ ส.ว.มาจาการเลือกตั้งทั้งหมดโดยไม่จำกัดวาระการดำรงตำแหน่ง
พล.อ.สมเจตน์กล่าวว่า
การที่พรรคเพื่อไทยคัดค้านการกระทำของศาลรัฐธรรมนูญ ที่รับคำร้องของ 40 ส.ว.ไว้วินิจฉัย
ตามมาตรา 68 ก็เป็นสิทธิของพรรคเพื่อไทยที่สามารถคัดค้านได้
เพราะการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ต่างคนก็ต่างมีความคิดเห็นของตัวเอง
ซึ่งทางผู้ถูกร้องก็สามารถที่จะโต้แย้งมา หากเห็นว่าคำร้องนั้นไม่มูล
แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดในขั้นตอนสุดท้าย
“ประชาธิปไตยต้องเป็นของประชาชน
แต่รัฐบาลกลับต้องการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจของประชาชนให้เป็นอำนาจของอัยการสูงสุดแต่เพียงทางเดียว
สิ่งนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่มันคือเผด็จการ จึงต้องมายื่นคำร้อง
เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองรัฐธรรมนูญเป็นกรณีฉุกเฉิน
และสั่งให้ยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และมาตรา 237 พร้อมขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคที่ให้ ส.ส.และ
ส.ว.เข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ” พล.อ.สมเจตน์ กล่าว
เมื่อถามว่าเหตุผลและข้อเท็จจริงอะไรที่ยืนยันว่าการร้องคัดค้านไม่ได้เป็นเพียงการจิตนาการหรือการคาดการณ์ล่วงหน้า
พล.อ.สมเจตน์ กล่าวว่า มาตรา 68 เป็นมาตราที่ป้องกันการกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่นการขอกู้เงินเพื่อป้องกันน้ำท่วม 3.5
ล้านบาท ทำให้ปีนี้น้ำก็ไม่ท่วม การกู้เงินจึงเป็นมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิด
ซึ่งก็เหมือนที่ตนมายื่นร้องในครั้งนี้ที่ถือว่าเป็นการป้องกัน
ดังนั้นหากรัฐบาลบอกว่าการร้องเป็นการจิตนการเกินไป
รัฐบาลก็ต้องบอกได้ว่าเหตุผลที่ชัดเจนว่าการแก้มาตรา 68 มีจุดประสงค์อะไร อย่างไรก็ตามสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้ยังไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว
เนื่องจากยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเดือดร้อนของประชาชนอีกมากที่ควรจะแก้ไขก่อนมาตรา
68 แต่รัฐบาลก็ไม่ทำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น