นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มาปัจฉิมกถา ในงานสัมนาวิชาการอุษาคเนย์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2554 หัวข้อ "สยาม-ขะแมร์ คู่รัก คู่ชัง คู่กรรม คู่เวร" ว่า ต้องขอชมเชยการริเริ่มของคณะนิสิตนักศึกษาที่ได้จัดให้มีการสัมมนาวิชาการ เรื่องประเทศไทยกับกัมพูชาไม่ทราบว่า คิดหัวข้อนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่เท่าที่ถามดูบอกว่าคิดไว้เมื่อ 7-8 เดือนที่แล้ว ถือว่าแม่นยิงกว่าหมอดูอีก เป็นเรื่องดีที่จะศึกษาเพื่อรู้เขารู้เรา ให้นักศึกษาแวดล้อมสภาพเพื่อนบ้านและของโลก เพราะปัญหาของโลกกับเพื่อนบ้านแยกไม่ออก จากชีวิตประจำวันเราอีกแล้ว ในสังคมไทยเรื่องเล็กเรื่องน้อยก็ออกสู่ทีวีได้รวดเร็วทันใด เพราะการพัฒนาด้านการสื่อสารทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นไปด้วยความรวดเร็วในไม่กี่วินาทีของโลก รวมทั้งสื่ออินเตอร์เน็ต จำเป็นต้องรู้ในโลกกว้าง เราต้องพึ่งพาอาศัยกัน เราเป็นสังคมเปิด การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นสิทิธิเสรีภาพประชาธิปไตย รายได้ของประเทศ 60-70 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ได้มาจากการส่งออกต่างประเทศ และจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ขบวนการค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด สิ่งต้องห้าม ขณะเดียวกันเราก็ไม่อยากเป็นกระโถนของประเด็นปัญหาทั้งหมดของเพื่อนบ้านที่ไหลสู่ประเทศไทย สิ่งที่ต้องไปช่วยพัฒนาให้ประเทศเพื่อนบ้านมีความมั่นคงมั่งคั่ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องรู้ความเป็นไปของประเทศเพื่อนบ้านและยื่นมือไปช่วยเขาพัฒนา ปัญหาจะได้ไม่ทะลักเข้ามาในประเทศไทย
"เรามีสิทธิเสรีภาพที่ต้องส่งออกให้เขามีสิทธิเสรีภาพแบบเรา ปัญหาในสังคมต่างๆจะได้ลดลงไปไม่ทะลักเข้ามาในประเทศไทย พม่า ไทย กัมพูชา ลาว และ 10 ประเทศในอาเซียนให้สัญญาว่าจะเป็นประชาคมอาเซียน เป็นคำมั่นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไป ที่จะสร้าง 3 ข้อตกลงประชาคมอาเซียน ด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เรามีพันธะต่อประชาคมอาเซียน ภายใต้กรอบสัญญาว่า 6 ประเทศแรก ที่ก่อตั้งอาเซียนจะต้องให้ความช่วยเหลือ 4 ประเทศใหม่ คือ ลาว พม่า เวียดนาม และกัมพูชา เพื่อไม่ให้ปัญหาทะลักเข้ามาในประเทศไทย เราต้องสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งจะทำให้การหมุนเวียนของเงินตรา การท่องเที่ยวดีขึ้น แทนที่จะเป็นตลาดเดียวแต่จะสร้างความแข็งแกร่ง เป็นหนึ่งเดียวเราจะมีอำนาจในเวทีตลาดโลกที่จะไม่ถูกมองข้าม และที่สำคัญไทยและกัมพูชามีความสัมพันธ์ต่อกันในด้านนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"ได้อ่านคำแถลงของทูตเขมรที่ได้กล่าวในตอนต้นอึ้งเหมือนกันที่พูดว่า อาณาจักรกัมพูชามี 40 จังหวัดในทำนองสูญเสีย ไม่อยากให้พูดแบบนี้ เพราะมันผ่านไปแล้ว ว่าอาณาจักรขอมยิ่งใหญ่ขนาดไหนไม่อยากเถียง จะถามว่ามันสูญเสียหรือไม่ ในอดีตคำว่า ประเทศชาติไม่มี อยากให้ลืมประวัติศาสตร์ แล้วมาสร้างประชาคม มาสร้างประชาคมแบบสหภาพยุโรป เก็บประวัติศาสตร์ใส่ลิ้นชักไว้ สำหรับประชาคมอาเซียน ผมอยากให้มีการชำระประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ฝรั่งเขียนประวัติศาสตร์ให้ไทยทะเลาะกับเขมร ว่า ต้องเสียดินแดนให้กับไทย แต่ถึงยุคสมัยนี้มีอาณาเขตมีดินแดนแน่นอนก็คงอยู่ ณ ที่นี้ ประเทศไทยก็เหลือแค่นี้ จะไปเรียกร้องก็ไม่ใช่"นายกษิต กล่าว
นายกษิต กล่าวว่า การจัดเสวนาวันนี้ต้องเดินไปข้างหน้าประวัติศาสตร์ต้องรักกันไว้ ต้องดูแลกันไป ต้องสร้างประชาคมให้แข็งแรงๆ ไม่ดูถูกดูแคลนไม่สอนให้รบราฆ่าฟันกัน หรือการยิงปะทะกันใน 3-4 วันที่ผ่านมา สิ่งที่ต้องได้มากกว่าทะเลาะกันในพื้นที่ 4.6 ต.ร.กม. เท่านั้น
"ผมได้พูดกับทูตเขมรสิ่งที่มีเหมือนกันมากกว่าความต่าง คือ ศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะ ซึ่งต่างมีความชื่นชมกันตลอดเวลา ในระดับการเมืองภาคประชาชน เราจะดึงสิ่งเหมือนต่างๆเป็นเครื่องมือกลไกให้นับถือชอบพอกันได้ เราต้องการสันติภาพความเจริญหรือการรบราฆ่าฟันกันต่อไป ขณะที่เราต้องทำหลายเรื่อง มองสิ่งที่เหมือนกันเอาเป็นตัวตั้งเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้ปิดช่องทาง และผมได้นัดเจรจากับ รมว.ต่างประเทศกัมพูชา โดยจะเดินทางไปประเทศที่ 3 เพื่อเจรจาตกลงร่วมมือกัน ไม่มีกลุ่มประเทศในอาเซียนที่อยากให้เราทะเลาะกันเอง ไม่อย่างนั้นจะไม่จบสิ้น จึงเป็นภาระผู้นำสองประเทศเพื่อหาจุดร่วม ต้องเคารพประเทศเพื่อนบ้าน ลัทธิการดูแคลนจะได้หมดไป เสื้อผ้่า เครื่องแต่งกาย ใครเป็นเจ้าของไม่ได้ แต่เป็นการแลกเปลี่ยนที่ใช้ร่วมกัน ไม่อยากให้เป็นคู่รัก คู่ชัง อยากให้เป็นคู่รัก คู่ค้า คู่พัฒนามากกว่า ถ้าเรามานั่งสัมมนายังไม่มีความเข้าอกเข้าใจกัมพูชาเราคงเสียโอกาสอันดี"
นายกษิต กล่าวว่า ในกรอบอนุภูมิภาค เราต้องร่วมมือกับเขมร พม่า และอินโดจีน ต้องไปร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจ ภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องมาช่วยกันสร้างความเจริญ และมีประเด็นปัญหาที่ต้องแก่ไข้ เราต้องมาทบทวนหนังสือเรียนประวัติศาสตร์กันใหม่ จะมาบอกว่าเสียอกเสียใจโดยพม่าเผากรุงศรีอยุธยาไม่ได้อีกแล้ว ต้องเดินไปข้างหน้า อย่าเอาอดีตมาพูด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น