วันที่ 5 เมษายน 2557 go6TV - นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ได้ข้อความผ่านโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (https://www.facebook.com/chadchartofficial)
มีเนื้อหาดังนี้
เมื่อวานผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายให้กับนักศึกษาโปรแกรม
BMIR เป็นหลักสูตรร่วม
ป.ตรี-โท ของคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ ในวิชา Globalizaton
and Governance ตอนแรกที่น้องเขาติดต่อมา ผมลังเลเพราะ 1) ต้องบรรยายภาษาอังกฤษ 2) เรื่อง Globalization
ที่ผมก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่พอมานั่งหาข้อมูล
หาหนังสือมาอ่านก็พบว่า การคมนาคมขนส่งมีบทบาทอย่างมากต่อ Globalization ก็เลยตกลงไปบรรยายให้ครับ
ที่ท่าพระจันทร์ครับ
นักศึกษามากันเยอะ (สงสัยจะแอบมาวัดพลังผม) ก็สนุกดีครับ
ผมเองก็ได้ความรู้เพิ่มเยอะจากการเตรียมตัวเพราะต้องอ่านหนังสือเพิ่มหลายเล่ม
ในความเห็นผม Globalization สรุปสั้นๆ หมายถึง International
Interdependence หรือ การที่แต่ละประเทศต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน
แต่ละประเทศก็มีข้อได้เปรียบ หรือจุดแข็ง (Comparative Advantage) ต่างกัน ดังนั้นการที่เราเน้นทำในสิ่งที่เราทำได้ดี
ทำให้เกิดมีการแลกเปลี่ยน ค้าขาย ลงทุน ระหว่างกันและเกิดประโยชน์สูงสุด
ซึ่งคำถามที่ผมถามน้องๆ ก็คือว่า อะไรคือจุดแข็ง ข้อได้เปรียบของไทย ถ้าเราไม่มี
หรือไม่มีการวางแผนที่ดี อนาคตเราคงจะได้ประโยชน์จาก Globalization ค่อนข้างจำกัด
นักศึกษาที่มาก็เก่งและพลังเยอะทุกคนครับ
ตอนช่วงสุดท้ายมีถาม-ตอบ ก็มีคำถามดีๆ น่าสนใจเยอะ
ทุกคนถามเป็นภาษาอังกฤษกันอย่างคล่องแคล่ว ผมเองบางทียังตะกุกตะกัก
คิดคำภาษาอังกฤษบางคำไม่ออกเลยครับ เช่น ถนนลูกรัง (คำถามยอดฮิต) กลับมาเปิดดิค
ถึงรู้ว่าคือ Unpaved Road หรือ Dirt
Road
เห็นน้องๆแล้วรู้สึกว่าประเทศไทยยังมีความหวังครับ
อนาคตเราขึ้นกับคนรุ่นใหม่ที่มีพลัง มีความหวัง ใช้เหตุผล มีหลักการ ไม่มีอคติ
ลดความเกลียดชัง
เรียนรู้จากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาบ้านเมืองต่อไป
สำหรับท่านผู้หวังดี
มาอ่านโพสนี้แล้วไม่ต้องรีบไปยื่นถอดถอนผมกับศาลรัฐธรรมนูญ
ในฐานที่ผมมารับจ้างสอนหนังสือนะครับ (แนวเดียวกับการทำกับข้าว)
ผมไม่ได้รับค่าจ้างใดๆครับ มาพูด คุยแลกเปลี่ยนความคิดกับน้องๆเขาเท่านั้นครับ
|
วันเสาร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2557
“ชัชชาติ” เผย ไปบรรยายที่มธ.เจอคำถามยอดฮิต “ถนนลูกรัง” ฝากถึงผู้หวังดี อย่ายื่นถอดถอนผ่านศาลรธน. เนื่องจากไม่ได้รับค่าจ้าง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น