วันที่ 19 ก.ค. ที่โรงเรียนดารามคาม เขตคลองเตย นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ตห้องสอน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แลภาษาอังกฤษ ของเด็กป.1 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยนายสุชาติ กล่าวเสวนา เรื่อง “แท็บเล็ตช่วยตอบปัญหาการศึกษาไทยได้อย่างไร” ตอนหนึ่งว่า
วันนี้เป็นวันแรกที่นักเรียนไทยได้รับแท็บเล็ตใช้เรียนจริง อีกทั้งยังเป็นความต่อเนื่องภายหลังได้ส่งแท็บเล็ตไปยัง 20 เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อส่งต่อไปยังโรงเรียน การเสวนาครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเตรียมความพร้อมการนำแท็บเล็ตไปใช้ให้เกิดความเข้าใจ ให้ผู้ปกครองมีความมั่นใจในนโยบายนี้ เพราะรัฐบาลลงทุนเพื่อมุ่งหวังให้มีการปฏิรูปการเรียนรู้รอบใหม่ ที่สอดคล้องกับสภาวะของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ศธ.ป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากแท็บเล็ต เช่น การเล่นเกมส์ การเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม โดยศธ.จัดระบบอินเตอร์เน็ตในระบบคลาวด์ ที่มีการล็อกและจำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์ หรือสื่อต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม จึงขอให้ผู้ปกครองและครูวางใจได้
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า นโยบายแท็บเล็ตเป็นนโยบายที่ดีที่รัฐบาลกำหนดให้เกิดขึ้น มุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้ สอดคล้องกับสภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ทัศนะของสพฐ.จะใช้แท็บเล็ตเพื่อแก้ปัญหาการศึกษา ได้แก่ 1.แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน 2.ระดับมาตรฐานทางการศึกษาของไทยที่ย่ำอยู่ในสภาวะผลสัมฤทธิ์เด็กไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะเรื่องภาษา 3.แก้ปัญหาเด็กนิสัยไม่สนใจ ใฝ่รู้ รักการอ่าน เด็กติดเกมชอบเล่นเกม และ 4.แก้ปัญหาเด็กไทยไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง แท็บเล็ตจะสร้างการทำงานเป็นทีมได้หรือไม่อย่างไร
ด้านนายวราวิช กำภู ณ อยุธยา นักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะผู้จัดทำเนื้อหาแท็บเล็ต กล่าวว่า แท็บเล็ตเป็นเพียงจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยในการจัดการศึกษา ไม่ได้เป็นคำตอบหรือยารักษาโรคได้ทุกอย่าง ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นมากกว่าตัวแท็บเล็ตคือ สื่อการเรียนการสอน เนื้อหาที่จะบรรจุในแท็บเล็ต ซึ่งหลายคนเป็นห่วงกลัวว่าไม่มีสื่อ ตนขอยืนยันว่าในแท็บเล็ต 7 นิ้ว มีสื่อที่เหมาะสมพอสมควร มีหนังสือ 8 เล่ม มีข้อมูลบรรจุอยู่เป็นจำนวนมาก และมีพื้นที่เหลือพอใช้งานอื่นๆ
น.พ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เด็กที่มีความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นหูหนวก ตาบอด หรือมีปัญหาเรื่องการอ่าน การเขียน สมาธิสั้น เด็กเหล่านี้จะมีจุดแข็งในด้านอื่นๆ แอบแฝงอยู่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพ่อ แม่ ครู ที่ต้องช่วยค้นหาความสามารถของเด็กออกมา และการนำแท็บเล็ตมาใช้ จะสามารถช่วยค้นหาความสามารถของเด็กที่ซ่อนอยู่ได้ โดยต้องเปิดโอกาสให้แก่เด็ก และครูต้องเพิ่มบทบาทในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของตนเอง นำแท็บเล็ตมาสร้างกระบวนการพัฒนาการเด็กให้เกิดขึ้นได้ สิ่งที่ครูต้องมีคือทักษะ 3 ด้าน ได้แก่ 1.สอนเรื่องทักษะชีวิต 2.รู้เท่าทันสื่อ 3.สอนให้เด็กเข้าใจสังคม รู้จักยับยั้งชั่งใจ แต่ปัญหาขณะนี้คือต้องพัฒนาศักยภาพครูในการใช้แท็บเล็ตสอนให้มากกว่านี้ เพราะมีหลายส่วนที่ครูยังไม่มีศักยภาพ และเทคนิคในการสอน ยังคงใช้วิธีการสอนแบบเดิมๆ และต้องสอนให้ตรงกับพัฒนาการของเด็กด้วย
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า นโยบายแท็บเล็ตเป็นนโยบายที่ดีที่รัฐบาลกำหนดให้เกิดขึ้น มุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้ สอดคล้องกับสภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ทัศนะของสพฐ.จะใช้แท็บเล็ตเพื่อแก้ปัญหาการศึกษา ได้แก่ 1.แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานาน 2.ระดับมาตรฐานทางการศึกษาของไทยที่ย่ำอยู่ในสภาวะผลสัมฤทธิ์เด็กไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะเรื่องภาษา 3.แก้ปัญหาเด็กนิสัยไม่สนใจ ใฝ่รู้ รักการอ่าน เด็กติดเกมชอบเล่นเกม และ 4.แก้ปัญหาเด็กไทยไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง แท็บเล็ตจะสร้างการทำงานเป็นทีมได้หรือไม่อย่างไร
ด้านนายวราวิช กำภู ณ อยุธยา นักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะผู้จัดทำเนื้อหาแท็บเล็ต กล่าวว่า แท็บเล็ตเป็นเพียงจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยในการจัดการศึกษา ไม่ได้เป็นคำตอบหรือยารักษาโรคได้ทุกอย่าง ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นมากกว่าตัวแท็บเล็ตคือ สื่อการเรียนการสอน เนื้อหาที่จะบรรจุในแท็บเล็ต ซึ่งหลายคนเป็นห่วงกลัวว่าไม่มีสื่อ ตนขอยืนยันว่าในแท็บเล็ต 7 นิ้ว มีสื่อที่เหมาะสมพอสมควร มีหนังสือ 8 เล่ม มีข้อมูลบรรจุอยู่เป็นจำนวนมาก และมีพื้นที่เหลือพอใช้งานอื่นๆ
น.พ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เด็กที่มีความผิดปกติไม่ว่าจะเป็นหูหนวก ตาบอด หรือมีปัญหาเรื่องการอ่าน การเขียน สมาธิสั้น เด็กเหล่านี้จะมีจุดแข็งในด้านอื่นๆ แอบแฝงอยู่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพ่อ แม่ ครู ที่ต้องช่วยค้นหาความสามารถของเด็กออกมา และการนำแท็บเล็ตมาใช้ จะสามารถช่วยค้นหาความสามารถของเด็กที่ซ่อนอยู่ได้ โดยต้องเปิดโอกาสให้แก่เด็ก และครูต้องเพิ่มบทบาทในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของตนเอง นำแท็บเล็ตมาสร้างกระบวนการพัฒนาการเด็กให้เกิดขึ้นได้ สิ่งที่ครูต้องมีคือทักษะ 3 ด้าน ได้แก่ 1.สอนเรื่องทักษะชีวิต 2.รู้เท่าทันสื่อ 3.สอนให้เด็กเข้าใจสังคม รู้จักยับยั้งชั่งใจ แต่ปัญหาขณะนี้คือต้องพัฒนาศักยภาพครูในการใช้แท็บเล็ตสอนให้มากกว่านี้ เพราะมีหลายส่วนที่ครูยังไม่มีศักยภาพ และเทคนิคในการสอน ยังคงใช้วิธีการสอนแบบเดิมๆ และต้องสอนให้ตรงกับพัฒนาการของเด็กด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น