วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นิติราษฎร์เสนอยุบศาลรธน.-หนุนสภาโหวตวาระ3



เมื่อวันที่ 15 ก.ค. นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นางจันทร์จิรา เอี่ยมมยุรา และนายปิยะบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ได้ร่วมกันแถลงข้อเสนอทางวิชาการเรื่อง "การยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญและการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรมนูญ" ที่คณะนิติศาสตร์ มธ.

นายปิยะบุตรกล่าวว่า กลุ่มนิติราษฎร์เห็นว่า ควรมีคณะตุลาการพิทักษณ์ระบอบรัฐธรรมนูญเพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ หลักนิติรัฐ รักษาความเป็นกฎหมายสูงสุด โดยโอนอำนาจศาลเดิมมาเป็นของคณะตุลาการฯทั้งหมด และให้เหลือตุลาการ 8 คน โดยสภาผู้แทนราษฎรเลือกตามคำเสนอของประธานสภาจำนวน 3 คน วุฒิสภาเลือก 2 คน ตามคำเสนอของประธานวุฒิ คณะรัฐมนตรีเลือกได้ 3 คนตามคำเสนอของนายกรัฐมนตรี

ด้านนางจันทร์จิรากล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้อำนาจตีความว่าสามารถรับคำร้องเองได้โดยไม่ผ่านอัยการสูงสุด ถือว่าเป็นขยายแดนอำนาจของตัวเองออกไป โดยที่รัฐธรรมนูญไม่ได้อนุญาต รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญแทรกแซงกระบวนการ ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นอุสรรคการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา และแม้จะมีเสียงคัดค้านและมีเหตุผลเพียงพอเพียงใด แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังยืนว่ามีอำนาจได้โดยตรงผ่านคำวินิจฉัยเมื่อวันที่13 ก.ค. ที่ผ่านมา ถือเป็นการพิพากษาเป็นการเปิดแดน เพื่อให้ผู้ยื่นคำร้องสามารถยื่นได้อีกในอนาคตตามาตรา68

ทั้งนี้ควรยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญและให้องค์กรอื่นมาทำหน้าที่ไปพลางก่อนจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จ โดยอาจแก้ไขได้ด้วยการให้ประชาชน 5 หมื่นชื่อเข้าชื่อเสนอแก้ไข หรือใช้ช่องทางอื่น เช่น รัฐบาลเป็นผู้เสนอ

ด้านนายวรเจตน์กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่ารัฐสภายังทรงอำนาจในการแก้ไขะลงมติในวาระสาม ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามรัฐสภาลงมติในวาระสาม แต่กลับแนะนำให้ทำประชามติก่อน ซึ่งไม่ควร เพราะเป็นการลงประชามติโดยที่ประชาชนไม่มีข้อเปรียบเทียบ ต้องใช้เงิน2,000 ล้านบาท และต้องกลับไปถามอีกครั้งเมื่อร่างเสร็จซึ่งจ้องใช้เงินอีก2,000 ล้านบาทเพื่อทำประชามติอีกหรือไม่

"การเสนอแก้ของรัฐสภาเป็นการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ ต่อไปนี้หากองค์กรอื่นทำอะไรแล้วมีผู้ร้อง ศาลรัฐธรรมนูญไปสั่งระงับแล้วจะเกิดอะไรขึ้น นี่ไม่ใช่หน้าที่ของศาล"นายวรเจตน์กล่าว

นายวรเจตน์กล่าวว่า การเข้ามาจำกัดการแก้ไขรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นลูกที่เกิดจากรัฐธรรมนูญเหมือนการไปคุมแม่คือตัวรัฐธรรมนูญ ที่สุดก็กลายเป็นว่าไม่มีใครไปยุบศาลรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งข้อเรียกร้องของกลุ่มนิติราษฎร์ไม่ใช่ข้อเรียกที่เยอะจนเกินไปหากจะยุบศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมต้องมี แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีไม่ตาย

"เราควรมีการจัดตั้งองค์กรที่มีความชอบธรรม ยึดโยงประชน มีความเชี่ยวชาญ อาจจะมีแก้ไขมาตรา68 ได้ เพราะง่ายกว่าการแก้หรือยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญโดยห้ามตุลาการเข้ามาขัดขวางกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นรัฐบาลควรเดินหน้าโหวตวาระ3 รัฐบาลต้องกล้าๆ หน่อย เพราะอย่างไรก็ถูกร้องอยู่แล้ว เพราะมีคนจำนวนหนึ่งไม่ต้องการแก้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นแหล่งที่อาศัยและใช้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญที่ไม่เชื่อมโยงประชาชน"นายวรเจตน์กล่าว