วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
"ฮิวแมนไรท์วอทช์" เต้น! "ชาวโลกไม่สามารถเข้าใจได้กับคดีอากง"
เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ ( 11 พ.ค.) ที่รัฐสภา นายแบรด อดัม ประธานองค์การสิทธิมนุษยชนภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก(ฮิวแมน ไรท์วอทช์) ได้เข้าพบนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยรวมทั้งการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ โดยนายสุนัยกล่าวว่า การเสียชีวิตของนายอำพล เป็นปรากฏการณ์ที่หมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ซึ่งกรรมาธิการต่างประเทศเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และกังวลว่าจะเกิดการเสียของนักโทษทางเมืองและความคิดในช่วง 4– 5 ปี เพราะขณะนี้ไทยมีนักโทษทางการเมืองและทางความคิดเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการประกันตัว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง เช่นนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นายสุรชัย แซ่ด่าน โดยเฉพาะนายสุรชัย ที่มีอายุมากแล้ว เกรงว่าจะเสียชีวิตในคุก ทั้งนี้จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของกรรมาธิการฯในวันที่16 พ.ค.นี้คดีอากงเป็นคดีแรกที่ทำให้เกิดกระแสต่อต้านในหมู่ประชาชนอย่างเห็นได้ชัด ผมเห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ เหมือนแผ่นดินไหวทางการเมือง แต่ทุกคนกลับนิ่งเฉย
นายแบรด อดัม กล่าวว่า ตนรู้สึกไม่ดีที่ต้องกลับมาพูดเรื่องเดิม ซึ่งไม่ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคดีหมิ่นสถาบัน ตนก็เคยพบนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน และนายกรัฐมนตรีคนก่อน แต่จนขณะนี้ก็ยังไม่เห็นความคืบหน้าในเรื่องการประกันตัว เราเห็นว่าการที่ให้บุคคลทั่วไปดำเนินการฟ้องร้องได้นั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควรเกิดขึ้น เพราะจะนำไปสู่การกลั่นแกล้งกันได้ ควรจะดำเนินการด้วยหน่วยงานของรัฐโดยมีกลไกที่ทำหน้าที่กลั่นกรอง ว่าเรื่องใดสมเหตุสมผลหรือไม่ รัฐบาลควรมีคำสั่งไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดสั่งให้มีการจัดการคำร้องที่ไม่มีมูลออกไปจากสารระบบ สถานะของประเทศไทยขณะนี้เสื่อมถอยไปมาก ในสายตานานาชาติ จากที่เคยได้รับการยกย่องในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากอัตราโทษจำคุกที่ยาวนาน จากคดีหมิ่นสถาบัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวโลกไม่สามารถเข้าใจได้ โดยเฉพาะ คดีอากง บทลงโทษรุนแรงเกินกว่าเหตุ เมื่อเทียบกับคดีอาชญากรรม คดียาเสพติด ไม่สมเหตุสมผล เพราะฉะนั้นรัฐบาลควรปฏิรูปกฎหมาย เพื่อลดอัตราโทษในคดีหมิ่นสถาบัน และการพิพากษาลงโทษของศาลยุติธรรมนานเกิน รวมทั้งการตัดสินในคดีหมิ่นสถาบันมีการดึงเอาเหตุผลทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะคำตัดสินของศาลต้องมีเหตุผลที่อธิบายได้ อดีตไทยเคยมีเสรีภาพทางสื่อออนไลน์มากที่สุด แต่ระยะหลังมีการปิดกั้นมากขัดกติกาของสังคมประชาธิปไตย.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น