




กิจกรรมตลอดทั้ง 9 วันของประเพณีถือศีลกินผัก จะมีพิธีกรรมต่างๆ หลายกิจกรรมด้วยกัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประเพณีได้เข้าร่วม เช่น พิธีบูชาพระในวันแรกของพิธีจะมีการบูชาพระด้วยเครื่องเซ่นต่งๆ ทั้งศาลเจ้า และตามบ้านของผู้กินผัก เมื่อกินผักได้ครบ 3 วัน ถือว่าผู้นั้นสะอาด บริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่าเช้ง พิธีโขกุ้น เป็นพิธีการเลี้ยงทหารซึ่งจะทำพิธีในวันที่ 3 วันที่ 6 และวันที่ 9 พิธีเหลี่ยมเก้ง เป็นการสวดมนต์ตั้งแต่เมื่อกิ๊วฮ๋องไต่เต้เข้าประทับในอ๊ามหรือศาลเจ้า พิธีอัญเชิญลำเต้า-ปักเต้า หรือเทวดาผู้กำหนดเวลาเกิดเวลาตาย พีธีอาบน้ำมัน ขึ้นบันไดมีด พิธีลุยไฟ พิธีสะเดาะเคราะห์ การทรงพระซึ่งเป็นการเชิญเจ้ามาประทับ ในร่างของม้าทรง และแสดงอิทธิฤทธิ์ ด้วยการทรมานร่างกาย ในรูปแบบต่างๆ เพื่อรับทุกข์แทนผู้ถือศีลกินผัก และเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนกิจกรรมที่สำคัญ และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว และคนทั่วไป คือพิธีแห่พระรอบเมืองศาลเจ้าต่าง ๆ และพิธีส่งพระในคืนสุดท้ายของประเพณีถือศีลกินผัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น