14ต.ค.2554 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การทำของศปภ.ซึ่งมีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรมเป็นผอ.ศูนย์ซึ่งเปิดดำเนินการมากว่าหนึ่งสัปดาห์แล้วนั้นการทำงานของหน่วยงานต่างๆเพิ่งจะจัดระบบได้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ขณะเดียวกันอดีตรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลไทยรักไทยและพลังประชาชนก็มาช่วยระดมความคิดและแนะนำการทำงานให้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์กันพร้อมหน้า อาทิ
นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายภูมิธรรม เวชยชัย นายวราเทพ รัตนากร พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิต พล.ต.ท.จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ นายนพดล ปัทมะ นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เพราะบุคลากรเหล่านี้หลายคนมีประสบการณ์การทำงานที่มากกว่าครม.ยิ่งลักษณ์ และหลายคนเคยไปช่วยแก้สถานการณ์สึนามิเมื่อปลายปี2547-ต้นปี2548ด้วย โดยบุคลากรเหล่านี้กระจายตัวไปช่วยแนะนำและทำงานในด้านต่างๆเช่นนายสุรนันทน์ดูแลเรื่องการให้ข่าวและเผยแพร่ข่าวกับสื่อมวลชนเป็นต้น ส่วนนายวิม รุ่งวัฒนะจินดา โฆษกศปภ.นั้นทำหน้าที่แถลงข่าว ดูแลข้อมูลเรื่องต่างๆที่จะเสนอนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีโดยตรง
ส่วนคนเสื้อแดงนั้นเรียกได้ว่าแทบจะเป็นกำลังหลักในการดูแลสิ่งของบริจาคและการกระจายการช่วยเหลือไปยังจุดต่างๆเช่นนายสมบัติ บุญงามอนงค์หรือบก.ลายจุดที่เคยทำงานในมูลนิธิกระจกเงา นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทยที่เป็นผอ.ศูนย์รับบริจาคดอนเมือง หรือนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำนปช.ที่มาช่วยงานศปภ.และขึ้นตรงกับนางสาวยิ่งลักษณ์ โดยตรงก็มาประสานงานด้านมวลชนและดูแลสื่อในสังกัดรัฐบาลเช่นวิทยุแห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์ช่อง11(เอ็นบีที)กรมประชาสัมพันธ์ในการเผยแพร่ข่าวและเชิญบุคคลมาเข้ารายการ
ขณะเดียวกันก็มีทีมเฉพาะกิจซึ่งแต่งตั้งโดยพล.ต.อ.ประชา ที่เรียกว่า คณะทำงานชุดเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ประกอบด้วยลูกหลานของแกนนำรัฐบาลชุดนี้ อาทิ นายจารุวงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นหัวหน้าคณะทำงานชุดเฉพาะกิจ นายวัน อยู่บำรุง เป็นรองหัวหน้าคณะ โดยหน้าที่ของทีมนี้คือช่วยเหลือผู้ประสบภัยตมคำสั่งนายกฯให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพในพื้นที่ที่ยังเข้าไปไม่ถึง ซึ่งทีมนี้เข้าไปช่วยเหลือประชาชนในหลายพื้นที่แล้วและออกทำงานทุกวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น