วันนี้(14 ม.ค.) นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวว่า คำสั่งดังกล่าวมีปัญหาตรงรายละเอียดที่ตำรวจสื่อออกมาไม่ชัดเจน ทั้งนี้ตนเสนอว่า ควรดำเนินการใน 2 ประเด็นคู่กันไปกับมาตรการดังกล่าว คือ 1.ควรมีการตั้งด่านตรวจในเวลากลางคืน นอกเหนือจากการตรวจแอลกอฮอล์ รถซิ่ง ซึ่งหากพบว่าเป็นเด็กตามที่ออกคำสั่งมาตำรวจก็ต้องสอบถามเป็นพิเศษ ซึ่งหากมีเหตุผลเพียงพอก็ปล่อยเด็กกลับบ้านไป แต่หากสังเกตพบว่ามีอาการมึนเมา หรือมีพิรุธ ก็ควรกักเด็กไว้ก่อนที่ด่านตรวจ จากนั้นค่อยเรียกผู้ปกครองมารับตัวกลับ ซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยปกป้องสังคมโดยรวมและตัวเด็กด้วย 2.ควรเพิ่มหน้าที่ของสายตรวจ นอกจากดูแลเรื่องเหตุด่วนเหตุร้ายแล้วก็ควรตรวจสถานที่อโคจรต่างๆ เช่นกัน ซึ่งหากพบว่ามีเด็กเข้าใช้บริการหลัง 4 ทุ่มแล้ว ก็ควรใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดสั่งปิดทันที ซึ่งที่ปล่อยกันมาจนทุกวันนี้เพราะการไปขัดผลประโยชน์กับเจ้าหน้าตำรวจที่บางคนหรือไม่ | |||||
นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า คำสั่งที่เกิดขึ้นนั้นตนไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้อำนาจทางกฎหมายใดมาดำเนินการ ทั้งนี้ การที่เด็กออกจากบ้านก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการไปกระทำความผิด ประเด็นจึงอยู่ที่สถานที่ที่เด็กไปมากกว่า ทั้งสถานบริการ ผับ เธค หรือร้านเกม ไม่ว่าจะก่อน หรือ หลัง 4 ทุ่ม ปัจจุบันก็มีเด็กเข้าไปใช้บริการอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อตำรวจไม่มีอำนาจแล้วไปออกคำสั่งมาเช่นนี้ เมื่อพบเจอเด็กที่ฝ่าฝืนจะจัดการอย่างไร ซึ่งที่บอกว่าจะมีการสอบถาม ซักประวัติ แล้วพาตัวไปโรงพักเพื่อรอผู้ปกครองมารับนั้นทำไม่ได้ “การออกคำสั่งเช่นนี้ทำให้ตำรวจทำงานลำบากคือ ทุกวันนี้ภารกิจตำรวจก็ยุ่งอยู่แล้ว ซึ่งหากเจอเด็กตามท้องถนนก็ต้องเข้าไปสอบถามอีก วิธีการที่ง่ายที่สุดหากจะทำ คือ 1.ส่งตำรวจมวลชนสัมพันธ์ไปทำงานร่วมกับโรงเรียน ครอบครัว ให้ร่วมกันพูดคุยหาแนวทางในการดูแลเด็ก เช่นเมื่อเด็กขาดเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู ต้องรู้ว่าเด็กไปไหน 2.การจัดสายตรวจไปตรวจตามแหล่งที่เด็กชอบไป รวมตัวกัน มั่วสุมกัน ซึ่งจะง่ายกว่าการไปออกข้อกำหนดเสียอีก” นายสรรพสิทธิ์ กล่าว |
วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554
ครูหยุย "สับเละ" นโยบายเคอร์ฟิวสี่ทุ่มอ้าง "ไม่มีกฏหมายรองรับ ทำได้ไง"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น