เบน อาลีลงนามในกฤษฎีกามอบอำนาจรักษาการประธานาธิบดีให้แก่นายกรัฐมนตรีโมฮัมเหม็ด กานนูชี และเดินทางออกจากตูนิเซียทันทีหลังจากไม่สามารถระงับความโกรธแค้นของประชาชนที่เพิ่มขึ้นจากการปกครองแบบเผด็จการของเขา ขณะที่ซาอุดีอาระเบียประกาศอย่างเป็นทางการในเช้าวันนี้ (15) ว่า รัฐบาลได้เป็นเจ้าบ้านต้อนรับประธานาธิบดีเบน อาลี และครอบครัวของเขาแล้ว เพื่อสนับสนุนความมั่นคง และความมีเสถียรภาพของพี่น้องประชาชนชาวตูนิเซีย โดยหวังว่าพวกเขาจะผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากครั้งนี้ไปได้ | ||||
ประธานาธิบดีบารัค โอบามาแห่งสหรัฐฯ ยกย่องความกล้าหาญ และความภาคภูมิใจของผู้ชุมนุมชาวตูนิเซีย และเรียกร้องให้การเลือกตั้งที่เสรี และยุติธรรมในอนาคตอันใกล้ ส่วนสหภาพยุโรปแสดงการสนับสนุน และยอมรับต่อประชาชนชาวตูนิเซีย และความปรารถนาต่อประชาธิปไตยของพวกเขา ซึ่งสมควรลุล่วงด้วยสันติวิธี เบน อาลีก้าวขึ้นสู่อำนาจจากการรัฐประหารซึ่งไร้การนองเลือดในปี 1987 ในช่วงที่ประเทศซบเซา โดยแรกเริ่มเขาได้รับการยกย่องจากประชาชนจำนวนมากในด้านการปฏิรูปเศรษฐกิจเสรี และล้มพรรคอิสลามิสต์ เอนนาห์ดา ทว่าในเวลาต่อมากลับถูกวิจารณ์อย่างหนักจากการยึดอำนาจ และคอรัปชัน ทั้งนี้ รัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังการชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาราคาอาหารแพงและการว่างงาน ลุกลามกลายเป็นความรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศ โดยที่ใครก็ตามไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว หรือหลบหนีกองกำลังรักษาความมั่นคง สามารถถูกยิงได้ทันที การเดินทางออกนอกประเทศของประธานาธิบดีตูนิเซียครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้นำชาติอาหรับถูกโค่นลงจากอำนาจ โดยพลังประชาชนที่รวมตัวกันชุมนุมประท้วงกดดัน |
วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีโมฮัมเหม็ด กานนูชีประกาศยึดอำนาจเป็นประธานาธิบดีรักษาการ
เอเอฟพี - ประธานาธิบดีซิเน เอล อาบิดีน เบน อาลีของตูนิเซีย ลี้ภัยออกจากประเทศไปยังซาอุดีอาระเบีย ท่ามกลางคลื่นผู้ชุมนุมประท้วงรุนแรงถึงขั้นนองเลือด เพื่อโค่นล้มอำนาจการปกครองประเทศของเขาที่ยาวนานมาถึง 23 ปี ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในโลกอาหรับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น