วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นักโทษการเมือง!! ล้นคุกเมืองไทย


กรุงเทพ 23 ส.ค.2010- คุกในประเทศไทยที่เต็มไปด้วยนักการเมือง-นักวิจารณ์การเมืองที่ไม่ทราบว่าเพิ่มมาเป็นกี่คน นับตั้งแต่ทหารเข้าล้อมปราบประชาชนฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล จนบาดเจ็บล้มตายเมื่อวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเหตุการณ์นั้นยังคงเป็นปริศนาอยู่

นักสิทธิมนุษยชนได้ประเมินว่าน่าจะมีนักโทษการเมืองอยู่ประมาณ 470 คน จากหลักฐานที่ได้จากกรมราชทัณฑ์กรุงเทพและราชทัณฑ์ในต่างจังหวัดทั้ง 5 แห่ง “ เราทราบว่ามีประมาณ 333 คนที่ถูกจับด้วยข้อหาดำเนินกิจกรรมทางการเมือง หลัง 19 พ.ค. และโดนจับในกรุงเทพ” ขวัญรวี วังอุดม ในฐานะผูประสานงานองค์กรสิทธิมนุษยชน และกลุ่มกิจกรรมวิชาการาตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย “และยังมีอีก 136คนในคุกต่างจังหวัด” ซึ่งจังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลถูกจับกุมมากที่สุดจังหวัดหนึ่งโดนจับมากที่สุดถึง 55 คน โดยในจำนวนนี้เป็นชาย 44 คน ที่เหลือเป็นหญิงและเด็ก

คนทุกคนถูกจับกุมภายใต้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถาการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งคงไว้ใน 23 จังหวัดรวมทั้งกรุงเทพมหานคร และกรุงเทพก็เป็นสถานที่สำคัญที่เคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา และจนบัดนี้ก็ยังคงเหลือกรุงเทพมหานคร และในอีก 6 จังหวัด ขณะนี้การจับกุมไล่ล่ายังไม่สิ้นสุดลง ยังคงใช้ข้อหามีอาวุธสงคราม มีอาวุธปืน หรือข้อหากีดขวางการจราจร หรือกฎหมายที่หมิ่นต่อความมั่นคงเสมอ
โดยที่รัฐบาลยังไม่ได้ประกาศตัวเลขที่แท้จริงเลยเกี่ยวกับผู้ถูกจับทุกคน และการจับกุมยังดำเนินต่อไป

ตัวเลขอย่างเป็นทางการของไทยดูจะน้อยกว่าที่คาดไว้ “ มีการจับกุมอยู่ทั้งสิ้น 241คน” จากคำเปิดเผยของนายปณิธาน วัฒนายากร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจริงๆ นักสิทธิฯ คาดว่าน่าจะมีสัก 372 คนที่ต้องสงสัยอยู่

การสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ สรุปได้ว่ามีคดีก่อการร้าย 145 คดี คดีภัยความมั่นคง 21 คดี และสรุปคดีอื่นๆทั่วไปเช่นบาดเจ็บ เสียหายประมาณ 80 คดี

ขณะที่นายกฯรัฐมนตรี ได้อนุญาตให้ผู้แทนองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ส่งตัวแทนมาเยี่ยมนักโทษที่เรือนจำทั้งที่กรุงเทพ และที่ในต่างจังหวัด

“คนที่โดนจับในต่างจังหวัดหลายคน เป็นคนที่อยู่ในเหตุการณ์หลังจากศาลากลางถูกเผาไปแล้ว” เปิดเผยจาก พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ เจ้าหน้าที่ขององค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ “ และบางคนก็โดนไล่ล่าตามจับในอีกหลายวันต่อมา”

การปะทะกันในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 คนและบาดเจ็บอีก 1800 โดยถูกอาวุธปืนจากกองทัพทหารและกลุ่มเสื้อดำที่ยิงเข้าไปยังกลุ่มทหาร

ถนนของกรุงเทพได้กลับสู่ความสงบอีกครั้ง ดูเหมือนเป็นชัยชนะทางการเมืองของรัฐบาลที่คืนความสงบแก่กรุงเทพ และได้ริเริ่มการประนีประนอม ปรองดองและคุ้มครองโดย พรก.ฉุกเฉิน

มูลนิธิกระจกเงา เป็นอีกหน่วยกิจกรรมทางการเมือง ได้รายงานว่ามีผู้ชุมนุมเสื้อแดงหายไปประมาณ 88 คน ในสัปดาห์แรกของการชุมนุม แล้วค่อยๆ ปรับลดตัวเลขลงจนเหลือ 27 คน โดยใน 88 คนนั้น ได้พบว่าโดนจับกุมไปโดยที่ไม่มีการรายงานให้ครอบครัวของผู้ถูกจับกุมทราบแต่อย่างใด ไม่มีเอกสารใดๆเป็นเรื่องราวยืนยันได้ว่าใครโดนจับกุมด้วยข้อหาอะไร ตำรวจบอกให้พวกเขาสารภาพเสียจะได้ไม่ต้องรับโทษที่รุนแรง แต่หากไม่รับสารภาพจะโดนโทษหนักขึ้น บางคนถูกทรมานเพื่อให้สารภาพยอมรับข้อกล่าวหาอาชญากรรมนี้

“เราโดนจับขังไว้ในคุกนี้ เราเครียดมาก” ชายเสื้อแดงวัย 40 ปีเศษเล่าให้นักสิทธิฯ ในคุกต่างจังหวัด “เราโดนจับขังรวม และใช้ชีวิตอยู่ในคุกกับนักโทษฆ่าคนตาย นักโทษค้ายาเสพติด” เขาเล่า

“นี่คือสิ่งที่ขัดกับหลักกฎหมายสากล และหลักกฎหมายของการควบคุมตัวในคดีทั่วไป” นายดนัย ผาสุก นักวิจัยสิทธิมนุษยชนไทย ซึ่งทำงานอยู่ในสำนักงานใหญ่กรุงนิวยอร์คกล่าว “รัฐบาลไม่ได้บอกว่ากฎหมาย พรก.ฉุกเฉินนี้ มีระดับความรุนแรงในการใช้งานอย่างไร เท่าไร และทำอย่างไรไม่ให้มันขัดกับหลักสิทธิขั้นพื้นฐาน”

ไม่มีความคิดเห็น: