วันที่ 17 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ในแฟนเพจเฟซบุ๊ก
รวมถึงแนวร่วมม็อบ กปปส. อาทิ หมอก้อง-สรวิชญ์ สุบุญ อดีตดาราหนุ่ม
ต่างพากันโพสต์เผยแพร่ส่งต่อภาพขณะมีเด็กๆ และคนยืนรอแน่นหน้าธนาคารออมสิน
พร้อมเขียนใต้ภาพพยายามสื่อว่าคนเหล่านี้แห่ไปถอนเงินออก
เพราะกลัวธนาคารออมสินเอาเงินไปปล่อยกู้และจ่ายช่วยเหลือชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวจนอาจเป็นอันตรายต่อสถานะทางการเงิน
อย่างไรก็ตามต่อมาเฟจเฟซบุ๊กต่อต้าน กปปส.
รวมทั้งนักสืบไซเบอร์หลายคนต่างออกมาจับผิด
ชี้ว่าภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพคนแห่ถอนเงิน แต่เป็นภาพเก่าที่ จ.พิจิตร ขณะเด็กๆ
และผู้ปกครองแห่ไปธนาคารออมสินเพื่อฝากเงินในวันเด็กแห่งชาติ
ขณะเดียวกัน นายลักษณ์
วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า
ตามที่มีกระแสข่าวการกู้เงินในตลาดเงินเพื่อนำมาให้ ธ.ก.ส.
ใช้ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/57 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรนั้น
ธ.ก.ส.ขอเรียนชี้แจงว่า เงินที่จ่ายจำนำข้าวยังเป็นไปตามเงื่อนไขเดิม คือ
เป็นเงินจากงบประมาณ เงินที่กระทรวงการคลังจัดหามาให้โดยการค้ำประกัน
และเป็นเงินจากการระบายข้าวที่กระทรวงพาณิชย์ส่งมาชำระคืนเท่านั้น
โดยไม่ใช้เงินฝากธ.ก.ส.แต่อย่างใด สำหรับการกู้เงินระยะสั้นที่ปรากฏเป็นข่าว
เป็นวิธีการหนึ่งในหลายๆ วิธีการ
ในการหาเงินทุนที่นำมาใช้ในโครงการของกระทรวงการคลัง
ซึ่งเป็นส่วนงานรับผิดชอบดำเนินการ
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา
กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งระบายข้าวและส่งเงินมาชำระคืนมากกว่าแผนงานเดิมที่วางไว้
เช่น เดือนมกราคม จากเดิมคาดว่าจะส่งมาชำระหนี้ประมาณ 3,500 ล้านบาท
แต่สามารถส่งมาชำระคืนได้ถึง 10,036 ล้านบาท
ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ขณะนี้ส่งมาชำระคืนแล้ว 6,269 ล้านบาท
จึงคาดว่านับจากนี้กระทรวงพาณิชย์จะเร่งระบายข้าวและส่งเงินมาชำระคืนโดยเฉลี่ยเดือนละ
8,000-10,000 ล้านบาท
ซึ่งธ.ก.ส.จะเร่งทยอยจ่ายเงินดังกล่าวให้กับเกษตรกรตามลำดับก่อนหลังการนำใบประทวนมาแจ้งขอรับจาก
ธ.ก.ส.ไว้แล้วอย่างเคร่งครัด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร
"อย่างไรก็ตามระหว่างที่รอเงินจากรัฐบาล
ธ.ก.ส.ได้ออกมาตรการยืดเวลาชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเป็นระยะเวลา
6 เดือน และหากเกษตรประสงค์จะใช้เงินเพื่อนำไปลงทุนทำการผลิตใหม่ในฤดูกาลใหม่
หรือค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่จำเป็น ธ.ก.ส.พร้อมให้เงินกู้ก้อนใหม่ตามหลักเกณฑ์สินเชื่อปกติของธ.ก.ส.
เพื่อลดปัญหาการไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยอัตราสูง และเป็นภาระหนัก
ทั้งนี้
การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/57
ธ.ก.ส.ได้ทยอยจ่ายเงินดังกล่าวให้เกษตรกรไปแล้ว 62,994 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณข้าวเปลือกจำนวน
3.91 ล้านบาท เกษตรกร 512,118 ราย คงเหลือที่ต้องจ่ายประมาณ
11,600 ล้านบาท ปริมาณข้าวประมาณ 6.7 ล้านตัน เกษตรประมาณ
900,000 ราย" นายลักษณ์กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น