วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทความพิเศษ "หน้าที่คนทำงาน" โดย ชยิกา วงศ์นภาจันทร์

หน้าที่คนทำงาน
โดย น.ส. ชยิกา วงศ์นภาจันทร์
วันที่ 2 ตุลาคม 2556

ท่ามกลางกระแสการเ มืองอันร้อนแรงแลดูเสมือนจะเป็นปัจจัยลบต่อรัฐบาล
อันเป็นผลมาจากการประสานเสียง ดาหน้ากัน ออกมาคัดค้านการ ทูลเกล้าฯ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภาและร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2557

ขณะที่ประชาชนต่างเฝ้าดู ว่า คำตัดสินของ ศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องทั้ง 2 กรณีผลจะออกมาเป็นเช่นไร
แต่กระแสก็คือกระแส สำหรับคนทำงาน ชีวิตและประเทศชาติก็ยังคงต้องเดินหน้าต่อไป ในวันเดียวกันนั้นเอง (วันที่ 1 ตุลาคม 2556) นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้กล่าวระหว่างเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2558 ครั้งที่ 2/2556 ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยได้สั่งให้วางยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวด้วยการแบ่งกลุ่มจังหวัดเพื่อรองรับความต้องการทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย

1. กลุ่มจังหวัดที่รองรับนักท่องเที่ยวภายในประเทศ
2. กลุ่มจังหวัดที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศเชิงปริมาณ (Mass Market) และ
3. กลุ่มจังหวัดนักท่องเที่ยวต่างประเทศเชิงคุณภาพ (Exclusive Market) เพื่อสามารถต่อยอดในการสร้างรายได้ให้เต็มศักยภาพ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ให้มีการบูรณาการในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น

เหยียบคันเร่ง สร้างยอดนักท่องเที่ยว เค้นรายได้ประเทศกันจนไตรมาสสุดท้ายเลยทีเดียว เพราะที่ผ่านมา การท่องเที่ยวซึ่งเป็นหนึ่งในรายได้ประเทศที่สามารถผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมในการสร้างรายได้ให้ประเทศเร็วที่สุด ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 14, 361,986 รายในปี 2555 เป็น 17,437,219 รายในปี 2556 นับว่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.41 เลยทีเดียว งานนี้นายกฯยิ่งลักษณ์ถึงกับออกปากว่า เราคงจะรอให้สร้างสนามบินเสร็จอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้เต็มศักยภาพสูงสุด เช่น ทำอย่างไรให้เกิดแรงจูงใจในการใช้สนามบินในจังหวัดใกล้เคียง เป็นต้นเรียกว่าการเมืองภายนอกเป็นอย่างไรไม่เกี่ยง แต่บรรยากาศในห้องประชุมรู้อย่างเดียวว่า ลุย!!

และดูเหมือนว่าทั้งประเด็นโจมตีทั้ง เรื่อง ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญและ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการ ทำงานของ คนทำงานใดๆทั้งสิ้น

โดยเฉพาะประเด็น ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นประกอบไว้แล้วว่า

1.         นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่นำ ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่อง ที่มาของ ส.ว. ขึ้นทูลเกล้า ภายใน 20 วัน ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มิฉะนั้น นายกรัฐมนตรีอาจจะถูกกล่าวหาได้ว่าไม่ได้ปฏิบัติตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
2.         รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ได้บัญญัติเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้โดยเฉพาะว่า เมื่อมีการลงมติแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น มิได้ให้นำบทบัญญัติมาตรา 154 หรือ มาตราอื่นใดมาประกอบการพิจารณาตามที่ฝ่ายค้านกล่าว
3.         สำหรับกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญนั้น ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ดังกล่าว มิได้บัญญัติให้ระงับการดำเนินการตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ
4.         คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4 /2554 ได้เคยวินิฉัยแล้วว่า บทบัญญัติมาตรา 291 เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้นำ มาตรา 154 มาใช้บังคับด้วย


สำหรับ ประชาชนคนทำงานในวันนี้จึงมองว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีศักยภาพ และสามารถขับเคลื่อนให้ไปในทิศทางที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกคนในชาติได้อีกมาก ถ้าองค์กรอิสระ ทำตามหน้าที่ในกรอบของการ ถ่วงดุลอำนาจด้วยมาตรฐานเดียวกันทุกฝ่ายสำคัญที่สุดอย่างที่ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี สุรนันทน์ เวชชาชีวะ กล่าวคือ วันนี้ ทุกคนทำบทบาทให้ครบถ้วนตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ และไม่ว่าใครจะมีบทบาทใด การตีความกฏหมายจะเป็นอย่างไร ก็ต้องให้ประเทศสามารถเดินหน้าต่อไปได้ อย่าให้ประเทศต้องถึงทางตันที่ไม่สามารถหาทางออกได้

ไม่มีความคิดเห็น: