ครม.ปูไฟเขียวสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว
"หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ระยะทาง 19
กิโลเมตร มูลค่ากว่า 5.8 หมื่นล้าน รฟม.แยก 5
สัญญา ปลายปีนี้ประกาศขายแบบงานโยธากว่า 2.9 หมื่นล้าน
เผยราคาประเมินใหม่ดันค่าเวนคืนที่ดินพุ่ง 120% จาก 4
พันล้านกระฉูดเกิน 7 พันล้าน แจ็กพอตที่ดิน 262
แปลง สิ่งปลูกสร้าง 275 หลัง
ได้ฤกษ์ตอกเข็มกลางปี"57 เปิดบริการกลางปี"61
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 15 ตุลาคม 2556 ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว
ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 19 กิโลเมตร เงินลงทุน 58,590
ล้านบาท ซึ่งใช้เงินลงทุนใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท
หลังจากนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
จะดำเนินการเปิดประมูลก่อสร้างต่อไป โดยเป็นรูปแบบประมูลแบบนานาชาติ
แยกประมูล 5 สัญญา
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า รฟม.จำเป็นต้องเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการ เนื่องจากวงเงินค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ประเมินไว้เมื่อปี 2551 เพื่อให้เป็นราคาปัจจุบัน สอดรับกับราคาประเมินที่ดินและวัสดุก่อสร้างที่ปรับสูงขึ้น รวมถึงได้ย้ายศูนย์ซ่อมบำรุงจากฐานทัพอากาศมาอยู่ที่ลำลูกกาคลอง 2 ทำให้วงเงินลงทุนทั้งโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 40,000 ล้านบาท เพิ่มเป็น 58,590 ล้านบาท
แยกประมูล 5 สัญญา
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า รฟม.จำเป็นต้องเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการ เนื่องจากวงเงินค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ประเมินไว้เมื่อปี 2551 เพื่อให้เป็นราคาปัจจุบัน สอดรับกับราคาประเมินที่ดินและวัสดุก่อสร้างที่ปรับสูงขึ้น รวมถึงได้ย้ายศูนย์ซ่อมบำรุงจากฐานทัพอากาศมาอยู่ที่ลำลูกกาคลอง 2 ทำให้วงเงินลงทุนทั้งโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 40,000 ล้านบาท เพิ่มเป็น 58,590 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อมีมติ ครม.อนุมัติ เตรียมเสนอเรื่องให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.อนุมัติในเร็ว ๆ นี้ เพื่อเปิดประกาศประมูลก่อสร้างงานโยธา จำนวน 4 สัญญา จากทั้งโครงการแบ่งเป็น 5 สัญญา ได้แก่ งานโยธา 2 สัญญา วงเงิน 29,225 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.สัญญาช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ (รวมรื้อสะพานข้ามแยก 3 แห่ง) ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร วงเงินกว่า 12,000 ล้านบาท
กับ 2.สัญญาช่วงสะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 7 กิโลเมตร วงเงิน 6,000-7,000 ล้านบาท, งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร จำนวน 1 สัญญา, งานระบบรางทางวิ่ง จำนวน 1 สัญญา และงาน
เดินรถไฟฟ้า 1 สัญญา
นายยงสิทธิ์กล่าวว่า โครงการนี้อยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจ้างที่ปรึกษา 1,703 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 7,606 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 29,225 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 20,055 ล้านบาทสิ้นปีประมูลโยธา 3 หมื่นล้าน
"ตามขั้นตอนถ้าบอร์ดเห็นชอบจะประกาศเชิญชวนประมูลก่อสร้าง ตามแผนงานคาดว่าจะเริ่มกระบวนการได้ปลายปี 2556 ยื่นซองและเซ็นสัญญาก่อสร้างกลางปี 2557 พร้อมเริ่มกระบวนการจัดหาระบบรถไฟฟ้า และเปิดบริการเดือนมิถุนายน 2561"
นายยงสิทธิ์กล่าวต่อว่า สำหรับแนวเส้นทางโครงการจะก่อสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง มีจุดเริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีหมอชิต ไปตามแนวถนนพหลโยธิน ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยก ม.เกษตรศาสตร์ ไปจนถึงบริเวณซอยพหลโยธิน 55
จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงออกไป เลียบกับแนวถนนฝั่งซ้ายจนถึงอนุสาวรีย์บริเวณวงเวียนหลักสี่ แล้วเบี่ยงกลับมาแนวเกาะกลางถนนพหลโยธิน ผ่านหน้าตลาดยิ่งเจริญ เมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน จะเบี่ยงไปทางทิศตะวันออก หรือด้านเหนือของพื้นที่ประตูกรุงเทพฯ เข้าถนนลำลูกกา ผ่านด้านข้างสถานีตำรวจภูธรคูคต ไปสิ้นสุดที่บริเวณคลอง 2 ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง
โดยจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ อาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง บริเวณถนนพหลโยธินกิโลเมตรที่ 25 และคลอง 2 ซึ่งบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงนี้ ทาง รฟม.ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) จะพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้า
สำหรับสถานีมี 16 สถานี ประกอบด้วย 1.สถานีห้าแยกลาดพร้าว 2.สถานีพหลโยธิน 24 3.สถานีรัชโยธิน 4.สถานีเสนานิคม 5.สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6.สถานีกรมป่าไม้ 7.สถานีบางบัว 8.สถานีกรมทหารราบที่ 11 9.สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ 10.สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ 11.สถานีสายหยุด 12.สถานีสะพานใหม่ 13.สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 14.สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ 15.สถานี กม.25 และ 16.สถานีคูคต
นายยงสิทธิ์กล่าวว่า โครงการนี้อยู่ใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจ้างที่ปรึกษา 1,703 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 7,606 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 29,225 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 20,055 ล้านบาทสิ้นปีประมูลโยธา 3 หมื่นล้าน
"ตามขั้นตอนถ้าบอร์ดเห็นชอบจะประกาศเชิญชวนประมูลก่อสร้าง ตามแผนงานคาดว่าจะเริ่มกระบวนการได้ปลายปี 2556 ยื่นซองและเซ็นสัญญาก่อสร้างกลางปี 2557 พร้อมเริ่มกระบวนการจัดหาระบบรถไฟฟ้า และเปิดบริการเดือนมิถุนายน 2561"
นายยงสิทธิ์กล่าวต่อว่า สำหรับแนวเส้นทางโครงการจะก่อสร้างเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดเส้นทาง มีจุดเริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีหมอชิต ไปตามแนวถนนพหลโยธิน ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยก ม.เกษตรศาสตร์ ไปจนถึงบริเวณซอยพหลโยธิน 55
จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงออกไป เลียบกับแนวถนนฝั่งซ้ายจนถึงอนุสาวรีย์บริเวณวงเวียนหลักสี่ แล้วเบี่ยงกลับมาแนวเกาะกลางถนนพหลโยธิน ผ่านหน้าตลาดยิ่งเจริญ เมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน จะเบี่ยงไปทางทิศตะวันออก หรือด้านเหนือของพื้นที่ประตูกรุงเทพฯ เข้าถนนลำลูกกา ผ่านด้านข้างสถานีตำรวจภูธรคูคต ไปสิ้นสุดที่บริเวณคลอง 2 ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง
โดยจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงเนื้อที่ประมาณ 130 ไร่ อาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง บริเวณถนนพหลโยธินกิโลเมตรที่ 25 และคลอง 2 ซึ่งบริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงนี้ ทาง รฟม.ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) จะพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้า
สำหรับสถานีมี 16 สถานี ประกอบด้วย 1.สถานีห้าแยกลาดพร้าว 2.สถานีพหลโยธิน 24 3.สถานีรัชโยธิน 4.สถานีเสนานิคม 5.สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6.สถานีกรมป่าไม้ 7.สถานีบางบัว 8.สถานีกรมทหารราบที่ 11 9.สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ 10.สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ 11.สถานีสายหยุด 12.สถานีสะพานใหม่ 13.สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช 14.สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ 15.สถานี กม.25 และ 16.สถานีคูคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น