ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ วันที่ 4 มิถุนายน มีการประชุมหารือย่อยเพื่อสรุปประเด็นที่จะทำความเข้าใจกันระหว่างกลุ่มแพทย์ชนบท
รัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข
ในเรื่องการปรับเปลี่ยนการจ่ายค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย
ซึ่งจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 มิ.ย.นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล
โดยมีตัวแทนจากกลุ่มแพทย์ชนบท นำโดยนพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ
พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมว.สำนักนายกฯ
นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกฯ
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวก่อนการประชุมว่า
ข้อเท็จจริงของการหารือครั้งนี้ คือ
ต้องการบอกกล่าวไปถึงนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับปัญหาในระบบสาธารณสุข ณ ปัจจุบันที่มี
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข เป็นผู้บริหาร
เนื่องจากประเด็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายค่าตอบแทนโดยอิงผลการปฏิบัติงาน หรือพีฟอร์พี
(P4P: Pay for
Performance) ไม่ใช่ประเด็นใหญ่ที่คัดค้านอีกต่อไป แต่โดยหลัก คือ
การขอให้นายกรัฐมนตรี ลงมาดูปัญหาด้วยตัวเองเกี่ยวกับ นพ.ประดิษฐ
ที่ขาดธรรมาภิบาลในการดำรงตำแหน่ง
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า หน้าที่ของ นพ.ประดิษฐ คือ
ต้องดูแลเอาใจใส่ประชาชนในแง่ของสุขภาพ และการได้รับบริการสาธารณสุขอย่างเท่าเทียม
โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ที่ผ่านมากลับเน้นเรื่องการร่วมจ่าย รื้อฟื้น 30 บาทรักษาทุกโรค
รวมไปถึงการรวบอำนาจสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)
ไม่ให้มีความเป็นอิสระ
ซึ่งตรงนี้สำคัญเพราะจะทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศอาจไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมเหมือนเดิม
รวมไปถึงการแทรกแซงระบบการเข้าถึงยา โดยเข้าไปทำลายชื่อเสียง ภาพลักษณ์ขององค์การเภสัชกรรม(อภ.)
จนมีการปลดนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.
ซึ่งสุดท้ายคนจะไม่เชื่อถือยาของอภ. ยาสามัญ
ซึ่งเป็นยาที่มีคุณภาพเทียบเท่ายาต้นตำรับที่มีราคาแพง
สุดท้ายยาจากบริษัทข้ามชาติจะรุกเข้าประเทศไทยอย่างหลีกหนีไม่ได้
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า
ปัญหาที่เห็นชัดเจนต่อจาก อภ. คือ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)
โดยล่าสุดในการประชุมแนวทางจัดสรรงบประมาณขาลงประจำปี 2557 (เงินกระจายให้โรงพยาบาลต่างๆ)
มีการบรรจุพิจารณาข้อเสนองบประมาณการออกแบบสำนักงานหลักประกันสุขภาพฯ
แห่งใหม่จำนวน 3.4 ล้านบาท โดยมีข่าววงในว่า มีแนวโน้มต้องการให้ย้ายสำนักงานฯ
จากปัจจุบันตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถ.แจ้งวัฒนะ
ให้มาอยู่ภายในพื้นที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี
ซึ่งแนวคิดนี้ต้องการจะทำตั้งแต่ปี 2555 ที่ผ่านมา โดยให้อิงแบบอาคารเหมือนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) แต่ขณะนี้เกิดกระแสต่อต้านภายในองค์กร
ทำให้เรื่องเงียบไป ปรากฎว่าครั้งนี้กลับมีการฟื้นแนวคิดนี้ใหม่
และตั้งงบประมาณการออกแบบไว้เรียบร้อย
เหลือเพียงการประกาศเพื่อทำเรื่องในการคัดสรรและว่าจ้างบริษัทออกแบบเท่านั้น
"ข้อเสนอเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพทั้ง
16 ข้อรัฐบาลจะต้องรับไปทั้งหมด ไม่มีการพิจารณาแยกส่วน
แต่หากรัฐบาลรับข้อเสนอทุกข้อยกเว้นเรื่องปลดนพ.ประดิษฐ
พ้นรมว.สธ.จะรับหรือไ่ม่ต้องมีการหารือร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
แต่ขณะนี้ยังยืนยันเช่นเเดิมว่าต้องรับข้อเสนอทั้งหมด เพราะข้อเสนอทั้ง 16
ข้อล้วนไม่ใช่เรื่องยาก และเป็นเรื่องที่นพ.ประดิษฐเป็นฝ่ายกระทำทั้งสิ้น
ไม่ใช่ระบบทำ ทั้งนี้ หากการหารือในวันที่ 6 มิถุนายน 2556 ไม่ประสบผลสำเร็จ
ในวันที่ 20 มิถุนายน 2556
จะมีการชุมนุมหน้าบ้านนายกรัฐมนตรีแน่นอน"นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า
ข้อเสนอของเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนมี 5 ข้อ ได้แก่
1.คงเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับ 4 และ 6
2.ปรุบปรุงระบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายให้เกิดความเป็นธรรม
คือตั้งคณะกรรมการที่มีส่วนจากทุกวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ในการพัฒนาเบี้ยเลี้ยง
รวมถึงกลุ่มงานบริหารและการใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน3.ตั้งคณะกรรมการที่มีส่วนจากทุกภาคส่วนในการพิจารณาทบทวนพื้นที่ทั้งหมดโดยเร็ว
4.ยกเลิกการบังคับทำพีฟอร์พี ในโรงพยาบาลชุมชน
5.ตัดต้นต้ของปัญหาคือให้นพ.ประดิษฐพ้นจากตำแหน่งทันที
น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า
ข้อเสนอของกลุ่มคนรักหลักประกันฯ คือ
1.ต้องไม่ใช่ระบบร่วมจ่ายและยกเลิกการเก็บ 30 บาท ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาต
2.การจัดหาบริการสาธารณสุขให้เป็นหน้าที่สปสช.เท่านั้น ส่วนสธ.มีหน้าที่จัดบริการให้มีคุณภาพและประสทธิภาพ
การดึงอำนาจการจัดสรรงบประมาณของสปสช.มายังเขตบริการของสธ.เป็นการถอยหลังเข้าคลองและผิดหลักการต้องยกเลิก
3.ยุติการแทรกแซงการบริหารงานของสปสช.
เน้นลหักการแยกบทบาทผู้จัดหาบริการและผู้ให้บริการซึ่งเป็นหลักธรรมาภิบาลที่ดี
4.คืนความเป็นธรรมและเยียวยานพ.วิทิต อรรถเวชกุล อดีตผอ.อภ. และ
5.ตัดต้นตอของปัญหาโดยให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้นพ.ประดิษฐพ้นจากตำแหน่งรมว.สธ.ทันที
นายระวัย ภู่ผะกา
ประธานสหภาพรัฐวิสาหกิจแรงงานองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ข้อเสนอของสหภาพอภ.
ประกอบด้วย 1. รัฐบาลต้องไม่แปรรูปอภ.ต้องคงสถานภาพรัฐวิสาหกิจไว้ตามเดิม
และจะต้องทำหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจเพื่อสังคมเพิ่มเติมจากที่ได้ทำมาแล้ว
2.ให้ยุติการใช้เงินสะสมของอภ.โดยมิชอบเช่นการสั่งการให้ใช้เงิน 4000 ล้านบาท
สร้างศูนย์ความเป็นเลิศของสธ. 3.ให้ยุติการใช้เงินตามโครงการสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ
โดยมิชอบเช่น กรณีสั่งจ่ายเงิน 75 ล้านบาท ให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 4.
ให้เร่งรัดคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมดำเนินคดีกับ กลุ่มต่างๆ ที่ให้ร้าย
บิดเบือนอภ. เช่น กรณีวัตถุดิบยาพาราเซตามอล
และการสร้างโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก
5.ให้คณะกรรมการอภ.ชุกปัจจุบันลาออกทั้งคณะ
และ6.ให้ตัดต้นตอของปัญหาคือให้ปลดนพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์
พ้นจากตำแหน่งรมว.สาธารณสุขทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น