เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ ผอ.ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทุจริต เปิดเผยผลการสืบสวนกรณีการปรับปรุงโรงงานผลิตยาเม็ดกลุ่มที่มีความต้องการสูง (Mass Production) ขององค์การเภสัชกรรม(อภ.) โดยส่งสำนวนการสอบสวนให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ไต่สวน นพ.วิฑิต อรรถเวชกุล อดีตผอ.อภ. และนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ อดีตประธานกรรมการบริหารอภ. เนื่องจากมีพฤติกรรมเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.ฮั้วประมูล จากการแบ่งซื้อแบ่งจ้างโครงการรับปรุงโรงงานดังกล่าวจากเดิมวงเงินกว่า 70 ล้าน แต่อภ.เปิดประมูลมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียวโดยมีวงเงินสูงกว่าราคากลางประมาณ 7 ล้านบาท อภ.จึงต้องยกเลิกการประมูลและเปลี่ยนมาประมูลแบ่งเป็น 2 สัญญา คือโครงการปรับปรุงอาคารพิกุล วงเงินกว่า 33 ล้านบาท กับโครงการปรับปรุงอาคารตอกและเคลือบเม็ดยา วงเงินกว่า 76 ล้านบาท ดีเอสไอมองว่าการแบ่งซื้อแบ่งจ้างก็เพื่อให้อำนาจในการอนุมัติจัดจ้างเป็นของผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม.และประธานบอร์ด
นายธานินทร์ กล่าวต่อว่า จากการสืบสวนปรากฏข้อเท็จจริงว่าบอร์ดอภ. ได้มีการอนุมัติแผนให้อภ.ดำเนินการปรับปรุงขบวนการผลิต โดยวิธีพิเศษวงเงิน 109,280,000 บาท แต่บอร์ดได้มีการกำหนดราคากลางเป็นเงิน 70,926,192.86 บาท ซึ่งหากผลการจัดจ้างโครงการดังกล่าวอยู่ในกรอบวงเงินราคากลาง อำนาจในการอนุมัติในการจัดจ้างจะอยู่ที่บอร์ดอภ. อภ.จึงยกเลิก แยกเป็น 2 รายการ เพื่อให้มีอำนาจในการอนุมัติ
นายธานินทร์ กล่าวต่อว่า จากการสืบสวนปรากฏข้อเท็จจริงว่าบอร์ดอภ. ได้มีการอนุมัติแผนให้อภ.ดำเนินการปรับปรุงขบวนการผลิต โดยวิธีพิเศษวงเงิน 109,280,000 บาท แต่บอร์ดได้มีการกำหนดราคากลางเป็นเงิน 70,926,192.86 บาท ซึ่งหากผลการจัดจ้างโครงการดังกล่าวอยู่ในกรอบวงเงินราคากลาง อำนาจในการอนุมัติในการจัดจ้างจะอยู่ที่บอร์ดอภ. อภ.จึงยกเลิก แยกเป็น 2 รายการ เพื่อให้มีอำนาจในการอนุมัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น