บรรยากาศ การเปิดซองคะแนนทางเทคนิค ในวันนี้ (10 มิ.ย.)
เริ่มต้นตั้งแต่เวลาประมาณ 9.00 น โดย ถ่ายทอดสดทางช่อง 11 ซึ่งเริ่มจาก การเสนอภาพรวมกรอบที่มาของการกำหนดทีโออาร์ทั้ง 9 โมดูล ว่ารัฐบาลจำเป็นจะต้องลงทุน3.5แสนล้านเพื่อการแก้ปัญหา
ระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
และระบบการแก้ไขปัญหาอุทกภัยประเทศไทยจากบทเรียนน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 จึงต้องมีการลงทุน
หลังจากนั้น นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.)
ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย
หรือโครงการน้ำตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5แสนล้านบาท
ได้แถลงขั้นตอนและกรอบการให้คะแนน โดยแบ่งออก เป็น 3
กรอบคือส่วนเกณฑ์การให้คะแนนจะมีการพิจารณาใน 3 ด้าน คือ
เรื่องแนวคิดในการทำงาน ร้อยละ 20 เรื่องรายละเอียดทางเทคนิค
ร้อยละ 60 และเรื่องประสบการณ์อีกร้อยละ 20 โดยบริษัทที่ได้คะแนนเกินกว่าร้อยละ 80
โดยกรอบการให้คะแนน จะเริ่มที่ละโมดูล
โดยมีคณะกรรมการในการให้คะแนนทั้งหมด 40 คน ประกอบด้วยนักวิชาการ
ซึ่งผลการจัดพิจารณาคัดเลือกกลุ่มบริษัทเอกชนที่ชนะหรือได้คะแนนทางด้านเทคนิคตามเกณฑ์คือ
80คะแนน ที่จะผ่านเข้าไปในรอบของการเปิดซองราคา
เพื่อให้มีการต่อรองราคา
และจากนั้นหากต่อรองราคาสำเร็จจะมีการทำสัญญาเพื่อดำเนินโครงการต่อไป
สรุป ผลคะแนน บริษัทโคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น (เค
วอเตอร์) ได้คะแนนสูงสุด 2 โมดูลคือ โมดูลเอ3 และ โมดูลเอ 5 ฟลัดเวย์
ส่วนกลุ่ม ITD-POWERCHINA JV (อิตาเลียนไทย) ได้คะแนนสูงสุดทั้งหมด
5 โมดูล คือ โมดูล A1 อ่างเก็บน้ำ ,
A2 พื้นที่ปิดล้อม,A4 ปรับปรุงลำน้ำ ,B1 อ่างเก็บน้ำและ B3 ปรับปรุงลำน้ำ
ส่วนกิจการร่วมค้า กิจการร่วมค้าซิมมิท เอสยูที (Summit SUT) ได้โมดูล
B2 การใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่วนโมดูลA6-B4 เรื่องคลังข้อมูลและการพยากรณ์เตือนภัยกลุ่มบริษัทร่วมค้าล็อกซเลย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น