ดร.อุษาวดี ถาวระ หัวหน้าฝ่ายชีววิทยา และนิเวศวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยเกี่ยวกับแมลงที่เป็นพาหะนำโรค ไขข้อสงสัยแมลงสาบดื้อยาฆ่าแมลงว่า แมลงสาบที่พบอาศัยปะปนอยู่กับชุมชนและบ้านเรือนในประเทศไทยอย่างแพร่หลายมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์อเมริกัน ที่พบอยู่ในบ้าน และแมลงสาบเยอรมันที่พบมากในตลาด หลังมหาอุทกภัยมีการพบแมลงสาบทั้ง 2 ชนิด ตามแหล่งพักอาศัยต่างๆ มากผิดปกติ
"ปกติแมลงสาบจะหลบซ่อนอยู่บริเวณที่อับชื้น ในกลุ่มกระดาษ ตู้ ใต้เตา ตามโพรง หรือท่อน้ำต่างๆ ใต้อาคารและสิ่งปลูกสร้าง แต่เมื่อน้ำท่วม แมลงสาบจึงย้ายขึ้นมาอยู่บนบ้าน ทำให้ผู้คนเห็นว่าจำนวนของแมลงสาบเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่ความจริงแล้วอาจมีจำนวนเท่าเดิมหรือลดน้อยลง เพราะรังของแมลงสาบจมน้ำ อย่างไรก็ตาม แมลงสาบเป็นสัตว์ที่ทนทาน สามารถปรับตัวให้แก่สภาพแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว และขยายพันธุ์เร็ว น้ำท่วมจึงไม่ใช่อุปสรรคสำหรับการดำรงอยู่ของแมลงชนิดนี้" ดร.อุษาวดีวิเคราะห์ถึงการเพิ่มจำนวนของแมลงสาบ
ส่วนการใช้ยาฆ่าแมลงพ่นใส่แมลงสาบโดยเฉพาะสายพันธุ์อเมริกันแล้วไม่ตายนั้น ดร.อุษาวดีอธิบายว่า จากการศึกษาพบว่า แมลงสาบสายพันธุ์นี้มีการดื้อยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีจริง ทั้งนี้เป็นเพราะธรรมชาติของแมลงสาบเป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และสามารถพัฒนายีนในร่างกายให้สามารถดื้อต่อสารเคมีขึ้นเรื่อยๆ
"แมลงสาบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนเก่ง หากใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง หรือสารซักล้าง จะต้องฉีดหรือพ่นให้ถูกตัวโดยตรงและในปริมาณเพียงพอมันจึงจะตาย หากความเข้มข้นต่ำเกินไปตัวของมันจะไม่ตาย และจะพัฒนายีนและสร้างความต้านทานให้ทนต่อสารเคมีชนิดนั้น และมีการถ่ายทอดยีนต่อให้แก่รุ่นลูก หมายความว่า แมลงสาบรุ่นต่อๆ ไป จะทนต่อสารเคมีชนิดนั้นๆ ซึ่งหากต้องการกำจัดจะต้องเพิ่มจำนวนสารเคมีให้มากกว่าเดิม หรือเปลี่ยนชนิดของสารเคมีเลย" ดร.อุษาวดีกล่าว
ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าวอีกว่า หากต้องการกำจัดแมลงสาบให้ได้ผล อาจจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่ของแมลงสาบ อาจจำเป็นต้องใช้เหยื่อพิษแทนใช้สารเคมีชนิดฉีดพ่น เพราะการใช้เหยื่อพิษ เมื่อแมลงสาบกัดกินแล้วจะไม่ตายทันที จะกลับไปตายที่รัง และถูกแมลงสาบตัวอื่นกัดกินซึ่งจะได้รับพิษไปด้วย ส่วนการใช้สารเคมีแบบมีฤทธิ์ตกค้างพ่นพื้น ท่อระบายน้ำได้ผลดีในระดับหนึ่ง แต่แมลงสาบบางส่วนอาจไม่ตาย และสามารถปรับตัวให้ดื้อต่อสารเคมีนั้นๆ ขึ้นอีก
ขณะเดียวกัน ดร.อุษาวดีเตือนถึงอันตรายจากแมลงสาบว่า หลังจากน้ำท่วมใหญ่เป็นต้นมา พบผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะท้องร่วงมากขึ้น โรคเหล่านี้มีแมลงสาบและแมลงวันเป็นพาหะสำคัญ นอกจากนี้ยังมีโรคตับอักเสบ โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังและพยาธิ ซึ่งประชาชนควรระมัดระวัง
ด้านนายกัมปนาท ชาญวิวัฒน์ ผู้ประกอบการธุรกิจกำจัดแมลงรำคาญในอาคารและสถานที่พัก ยอมรับว่า ปัจจุบันแมลงสาบโดยเฉพาะสายพันธุ์เยอรมันมักพบมากในตลาด และตามอาคารต่างๆ เช่นร้านอาหาร และโรงแรม กำจัดได้ยาก เนื่องจากแมลงสาบชนิดนี้ดื้อยาและสารเคมี บ่อยครั้งที่ใช้สารเคมีชนิดฉีดพ่นซึ่งมีจำหน่ายทั่วไปในตลาดแล้วไม่ได้ผล แมลงสาบไม่ตาย หรือแค่สลบ ไม่นานก็กลับฟื้นคืนขึ้นมาอีก จึงต้องเปลี่ยนไปใช้สารเคมีกลุ่มใหม่ๆ เพื่อกำจัดแมลงสาบสายพันธุ์เยอรมัน
"รู้สึกแปลกใจทำไมเดี๋ยวนี้แมลงสาบโดยเฉพาะสายพันธุ์เยอรมันกำจัดได้ยากขึ้น ลูกค้าบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีชนิดพ่นฉีดใส่ตัวมันแล้วมันยังคลานหนีได้หน้าตาเฉยไม่ตาย บางตัวอาจแค่สลบไม่นานก็ฟื้นมาอีก หรือที่ดีหน่อยเมื่อพ่นยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดแมลงไปแล้ว แมลงสาบจะหายไปสัก 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นมันก็กลับมาอีก และการกลับมาใหม่นี้เมื่อใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีชนิดเดิมฉีดพ่นใส่มันใหม่ รู้สึกว่ามันจะไม่สะทกสะท้าน" นายกัมปนาทกล่าวยืนยัน
ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลของ ดร.อภิวัฏ ธวัชสิน นักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ทั่วโลกมีแมลงสาบอยู่กว่า 4,000 ชนิด ขณะที่ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ในบ้านเรือนทั้งสิ้น 14 ชนิด คือสายพันธุ์อเมริกัน สายพันธุ์เยอรมัน สายพันธุ์ออสเตรเลีย สายพันธุ์บรุนเนีย สายพันธุ์ฟลูนิจิโนซาร์ สายพันธุ์ผี สายพันธุ์ลิทุริคอลิส สายพันธุ์มาดากัสการ์ สายพันธุ์ชินเนเรีย สายพันธุ์เฟอร์นิเจอร์ สายพันธุ์สุรินัม สายพันธุ์อินดิคัส สายพันธุ์คอนซินนา และสายพันธุ์สมุท ที่พบมากคือสายพันธุ์อเมริกัน สายพันธุ์เยอรมัน และแมลงสาบผี ซึ่งเป็นพาหะนำโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ โดยแมลงสาบเหล่านี้มีแนวโน้มในการสร้างความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงมากขึ้นโดยเฉพาะแมลงสาบเยอรมัน
..........
"ปกติแมลงสาบจะหลบซ่อนอยู่บริเวณที่อับชื้น ในกลุ่มกระดาษ ตู้ ใต้เตา ตามโพรง หรือท่อน้ำต่างๆ ใต้อาคารและสิ่งปลูกสร้าง แต่เมื่อน้ำท่วม แมลงสาบจึงย้ายขึ้นมาอยู่บนบ้าน ทำให้ผู้คนเห็นว่าจำนวนของแมลงสาบเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่ความจริงแล้วอาจมีจำนวนเท่าเดิมหรือลดน้อยลง เพราะรังของแมลงสาบจมน้ำ อย่างไรก็ตาม แมลงสาบเป็นสัตว์ที่ทนทาน สามารถปรับตัวให้แก่สภาพแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว และขยายพันธุ์เร็ว น้ำท่วมจึงไม่ใช่อุปสรรคสำหรับการดำรงอยู่ของแมลงชนิดนี้" ดร.อุษาวดีวิเคราะห์ถึงการเพิ่มจำนวนของแมลงสาบ
ส่วนการใช้ยาฆ่าแมลงพ่นใส่แมลงสาบโดยเฉพาะสายพันธุ์อเมริกันแล้วไม่ตายนั้น ดร.อุษาวดีอธิบายว่า จากการศึกษาพบว่า แมลงสาบสายพันธุ์นี้มีการดื้อยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีจริง ทั้งนี้เป็นเพราะธรรมชาติของแมลงสาบเป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และสามารถพัฒนายีนในร่างกายให้สามารถดื้อต่อสารเคมีขึ้นเรื่อยๆ
"แมลงสาบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนเก่ง หากใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง หรือสารซักล้าง จะต้องฉีดหรือพ่นให้ถูกตัวโดยตรงและในปริมาณเพียงพอมันจึงจะตาย หากความเข้มข้นต่ำเกินไปตัวของมันจะไม่ตาย และจะพัฒนายีนและสร้างความต้านทานให้ทนต่อสารเคมีชนิดนั้น และมีการถ่ายทอดยีนต่อให้แก่รุ่นลูก หมายความว่า แมลงสาบรุ่นต่อๆ ไป จะทนต่อสารเคมีชนิดนั้นๆ ซึ่งหากต้องการกำจัดจะต้องเพิ่มจำนวนสารเคมีให้มากกว่าเดิม หรือเปลี่ยนชนิดของสารเคมีเลย" ดร.อุษาวดีกล่าว
ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าวอีกว่า หากต้องการกำจัดแมลงสาบให้ได้ผล อาจจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่ของแมลงสาบ อาจจำเป็นต้องใช้เหยื่อพิษแทนใช้สารเคมีชนิดฉีดพ่น เพราะการใช้เหยื่อพิษ เมื่อแมลงสาบกัดกินแล้วจะไม่ตายทันที จะกลับไปตายที่รัง และถูกแมลงสาบตัวอื่นกัดกินซึ่งจะได้รับพิษไปด้วย ส่วนการใช้สารเคมีแบบมีฤทธิ์ตกค้างพ่นพื้น ท่อระบายน้ำได้ผลดีในระดับหนึ่ง แต่แมลงสาบบางส่วนอาจไม่ตาย และสามารถปรับตัวให้ดื้อต่อสารเคมีนั้นๆ ขึ้นอีก
ขณะเดียวกัน ดร.อุษาวดีเตือนถึงอันตรายจากแมลงสาบว่า หลังจากน้ำท่วมใหญ่เป็นต้นมา พบผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะท้องร่วงมากขึ้น โรคเหล่านี้มีแมลงสาบและแมลงวันเป็นพาหะสำคัญ นอกจากนี้ยังมีโรคตับอักเสบ โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังและพยาธิ ซึ่งประชาชนควรระมัดระวัง
ด้านนายกัมปนาท ชาญวิวัฒน์ ผู้ประกอบการธุรกิจกำจัดแมลงรำคาญในอาคารและสถานที่พัก ยอมรับว่า ปัจจุบันแมลงสาบโดยเฉพาะสายพันธุ์เยอรมันมักพบมากในตลาด และตามอาคารต่างๆ เช่นร้านอาหาร และโรงแรม กำจัดได้ยาก เนื่องจากแมลงสาบชนิดนี้ดื้อยาและสารเคมี บ่อยครั้งที่ใช้สารเคมีชนิดฉีดพ่นซึ่งมีจำหน่ายทั่วไปในตลาดแล้วไม่ได้ผล แมลงสาบไม่ตาย หรือแค่สลบ ไม่นานก็กลับฟื้นคืนขึ้นมาอีก จึงต้องเปลี่ยนไปใช้สารเคมีกลุ่มใหม่ๆ เพื่อกำจัดแมลงสาบสายพันธุ์เยอรมัน
"รู้สึกแปลกใจทำไมเดี๋ยวนี้แมลงสาบโดยเฉพาะสายพันธุ์เยอรมันกำจัดได้ยากขึ้น ลูกค้าบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีชนิดพ่นฉีดใส่ตัวมันแล้วมันยังคลานหนีได้หน้าตาเฉยไม่ตาย บางตัวอาจแค่สลบไม่นานก็ฟื้นมาอีก หรือที่ดีหน่อยเมื่อพ่นยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดแมลงไปแล้ว แมลงสาบจะหายไปสัก 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นมันก็กลับมาอีก และการกลับมาใหม่นี้เมื่อใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีชนิดเดิมฉีดพ่นใส่มันใหม่ รู้สึกว่ามันจะไม่สะทกสะท้าน" นายกัมปนาทกล่าวยืนยัน
ทั้งนี้ จากการรวบรวมข้อมูลของ ดร.อภิวัฏ ธวัชสิน นักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ทั่วโลกมีแมลงสาบอยู่กว่า 4,000 ชนิด ขณะที่ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ในบ้านเรือนทั้งสิ้น 14 ชนิด คือสายพันธุ์อเมริกัน สายพันธุ์เยอรมัน สายพันธุ์ออสเตรเลีย สายพันธุ์บรุนเนีย สายพันธุ์ฟลูนิจิโนซาร์ สายพันธุ์ผี สายพันธุ์ลิทุริคอลิส สายพันธุ์มาดากัสการ์ สายพันธุ์ชินเนเรีย สายพันธุ์เฟอร์นิเจอร์ สายพันธุ์สุรินัม สายพันธุ์อินดิคัส สายพันธุ์คอนซินนา และสายพันธุ์สมุท ที่พบมากคือสายพันธุ์อเมริกัน สายพันธุ์เยอรมัน และแมลงสาบผี ซึ่งเป็นพาหะนำโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ โดยแมลงสาบเหล่านี้มีแนวโน้มในการสร้างความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงมากขึ้นโดยเฉพาะแมลงสาบเยอรมัน
..........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น