ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดประเด็นการวินิจฉัย พ.ร.ก. 2 ฉบับ เพียง 2 ประเด็น คือ 1.การตรา พ.ร.ก.เพื่อประโยชน์ในความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะหรือไม่ และ 2.การตรา พ.ร.ก.มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้หรือไม่
ล่าสุด องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรม ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยกรณีการออกพระราชกำหนดการเงิน 2 ฉบับ ล่าสุด นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉ้ย การให้อำนาจกระทรวงการคลัง ออกพ.ร.ก.กู้เงิน 350,000 ล้านบาท ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปีได้สร้างความเสียหายให้ประเทศประชาชนจำนวน และยังมีการส่งความช่วยเหลือให้กับประชาชนและภาคเอกชนไปบางส่วน นอกจากนั้น ยังติดขัดเรื่องเวลาที่กระทรวงจะเสนองบประมาณเข้าสู่ที่ประชุมสภาซึ่งจะไม่ทันกาล ดังนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ ถึงการออกพระราชกำหนดดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรม
ส่วนการพ.ร.กโอนหนี้ 1.14 ล้านล้านบาท ของรัฐบาลนั้น นายจรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัย เห็นว่า รัฐบาลมีความพยายามที่จะบริหารจัดการเงินซึ่งเงินภาษีของประชาชน เพื่อชำระเงินต้นของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ขณะที่การออกพระราชบัญญัติงบประมาณเพื่อชำระหนี้เงินกู้ของกองทุนทำให้รัฐบาลเสียงบประมาณในการพัฒนาประเทศเป็นจำนวนมากแล้วและหนี้จากกองทุนฟื้นฟูเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากสถาบันการเงินที่อยู่ในการดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่แล้วจึงเห็นว่า พรก.ฉบับนี้ไม่ขัดรัฐธรรมนูญมติเสียงส่วนใหญ่ 7 ต่อ 2 การออกพระราชกำหนดครั้งนี้ จะชำระหนี้เสร็จสิ้นในเวลาประมาณ 25-26 ปี และยังช่วยทำให้รัฐบาลนำงบประมาณที่ไม่ต้องตั้งเป็นงบชำระดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟูฯปีละ 6หมื่นล้านบาท นำกลับมาพัฒนาประเทศได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น