วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

"ไพโรจน์ วายุภาพ" ประธานศาลฎีกาคนใหม่ อดีตองค์คณะยึดทรัพย์ทักษิณ


ที่ประชุมกรรมการตุลาการ (ก.ต.) มีมติเลือกนาย
ไพโรจน์ วายุภาพ เป็นประธานศาลฎีกาคนใหม่ แทนนายมนตรี ยอดปัญญาที่ถึงแก่อนิจกรรมไป

สำหรับประวัตินายไพโรจน์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานศาลฎีกาเมื่อ ต.ค.2552

เป็น 1 ใน 9 องค์คณะผู้พิพากษา คดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 46,000 หมื่นล้านบาท

ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีแปลงภาษีสรรพสามิต

ขณะที่ด้านวิชาการได้เป็นกรรมการเนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปถัมภ์ด้วย


หมายเหตุ ทีมงานขอนำข่าวเมื่อคราวศาลมีคำพิพากษายืดทรัพย์มาลงไว้เพื่อได้เป็นอ้างอิง

เปิดชื่อ2ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยสั่งยึดเรียบ7.6หมื่นล. เผย”ม.ล.ฤทธิเทพ”หนึ่งเสียงชี้”แม้ว”ไม่ทุจริต

“ไพโรจน์ -กำพล” 2 ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยให้ยึดทั้งหมด โดยเสียงข้างมาก 7 เสียงให้ยึด 4.6 หมื่นล้าน เผยศาลฎีกาคดีนักการเมืองพร้อมเปิดคำพิพากษา-คำวินิจฉัยส่วนตัวภายในสัปดาห์ นี้


เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ แหล่งข่าวผู้พิพากษา กล่าวถึงมติองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมือง ที่มีคำสั่งให้ทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ หรือ ณ ป้อมเพ็ชร อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ นายพานทองแท้ น.ส.พินทองทา บุตรชายและบุตรสาว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ และนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ รวม 46,373,687,454.70 บาทตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ โดยให้ครอบครัวถือหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ( มหาชน) แทน ขณะดำรงตำแหน่งนายกฯใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่ออกนโยบาย 5 มาตรการเอื้อประโยชน์ธุรกิจครอบครัว ว่า

ก่อนหน้านี้มีการระบุว่าองค์คณะผู้พิพากษาลงมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 เสียง ให้ทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัว ตกเป็นของแผ่นดินนั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะมติ 8 ต่อ 1 ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยประเด็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิดในการใช้อำนาจออกนโยบาย 5 มาตรการเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจตัวเอง

“ส่วนการลงมติวินิจฉัยให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัวกว่า 46,000 ล้านบาทนั้น องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากลงมติ 7 ต่อ 2 เสียง อย่างไรก็ตาม สำหรับคำวินิจฉัยส่วนตัวของผู้พิพากษาองค์คณะแต่ละคน และคำพิพากษากลางที่ลงมติให้ยึดทรัพย์นั้น จะนำไปติดเผยแพร่ที่ศาลฎีกาได้ภายในสัปดาห์นี้” แหล่งข่าวกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับมติองค์คณะ 8 ต่อ 1 เสียงที่วินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้อำนาจขณะดำรงตำแหน่งนายกฯ ออกนโยบาย 5 มาตรการเอื้อประโยชน์ทำให้รัฐเสียหาย จากกรณีแปลงค่าสัมปทานเป็นค่าภาษีสรรพสามิต การแก้ไขสัญญาอัตราจัดเก็บภาษีมือถือระบบเติมเงินหรือพรีเพด ให้กับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ เอไอเอส การแก้ไขสัญญาเชื่อมต่อสัญญาณ หรือโรมมิ่งให้กับบริษัทเอไอเอส การยิงดาวเทียมไอพีสตาร์ขึ้นไปเป็นดาวเทียมสำรองให้กับดาวเทียมไทยคม 3 และการปล่อยกู้รัฐบาลสหภาพพม่า 4 ,000 ล้านบาทของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า หรือเอ็กซิมแบงค์นั้น เสียงผู้พิพากษา 8 คน เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กระทำผิดทั้ง 5 มาตรการ ส่วน 1 เสียงนั้นคือ ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล รองประธานศาลฎีกา เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนประเด็นที่วินิจฉัยเกี่ยวกับการยึดทรัพย์นั้น ปรากฏว่าผู้พิพากษาองค์คณะทั้ง 9 คน มีมติเอกฉันท์ว่าต้องให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน โดยประเด็นที่ต้องวินิจนฉัยว่าให้ทรัพย์สินตกเป็นของจำนวนเท่าใดนั้น ผู้พิพากษาองค์คณะมีมติเสียงมาก 7 ต่อ 2 ว่าให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน กว่า 46,000 ล้านบาท ส่วนผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย 2 เสียงคือ

นายไพโรจน์ วายุภาพ รองประธานศาลฎีกา และ

นายกำพล ภู่สุดแสวง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

เห็นว่าควรให้ทรัพย์สินตามคำร้องทั้งหมด 76,000 ล้านบาทเศษ ตกเป็นของแผ่นดิน

อย่างไรก็ดีแม้ว่า


ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล

จะลงมติว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา แต่สุดท้ายองค์คณะลงมติครบทั้ง 9 เสียงในประเด็นการยึดทรัพย์โดยปรากฏว่า

ม.ล.ฤทธิเทพ มีมติให้ยึดทรัพย์ด้วยนั้น เนื่องจากตามกฎหมายการลงมติของผู้พิพากษาองค์คณะ ต้องออกเสียงตัดสินทุกประเด็น ไม่สามารถงดออกเสียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งได้ จึงปรากฏว่า ม.ล.ฤทธิเทพ ลงมติเป็น 1 ใน 7 เสียงข้างมากให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว จำนวน 46,000 ล้านบาทเศษดังกล่าว

ที่มา มติชนออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น: