โดย. คำ ผกา
เมื่อตอนเป็นเด็กฉันอยู่บ้านไม้ เคยเห็นลวดลายฉลุไม้สวยวิจิตรในวัดแล้วอยากรู้ว่าทำไมเราไม่เอาของสวยๆ อย่างนั้นมาประดับบ้านหรือทำเป็นลวดลายตกแต่งบ้านให้สวยขึ้น
ตาของฉันซึ่งเป็นเจ้าของบ้านตอบว่า "บ้านชาวบ้านถ้ามีงานไม้แกะสลักอยู่ในบ้านแล้วจะขึด" คำว่า "ขึด" แปลว่า เป็นกาลกิณีอะไรทำนองนั้น
ถ้าคำถามใดมีคำตอบว่า "ถ้าทำลงไปแล้วจะขึด" ก็เป็นอันว่าไม่ต้องถามต่อ ไม่ต้องสงสัย ขึดก็คือขึด
สถานที่ที่จะตกแต่งด้วยไม้ฉลุหรือไม้แกะสลักได้ถ้าไม่ใช่วัดก็ต้องเป็นบ้าน "เจ้านาย" บ้านไพร่สามัญชนมีไม่ได้ ข้อห้ามทำนองนี้มีอีกมาก เช่น ผ้าถุงที่ทอสอดดิ้นเงินดิ้นทองนั้น หญิงไพร่สามัญชนใส่ไม่ได้ จะ "ขึด" เพราะมีไว้สำหรับ "เจ้าหญิง" เท่านั้น
เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอีกหลายอย่าง ว่ากันว่าหากผู้ครอบครอง "บุญไม่ถึง" แล้วดันทุรังเก็บรักษาเอาไว้กับตัว ก็จะมีอันเป็นไปต่างๆ นานา
เพชรสูงค่าบางชิ้น ว่ากันว่าตกอยู่ในมือผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของตัวจริง ไม่มีบารมีพอ เพชรนั้นก็จะนำมาซึ่งความพินาศมาสู่ผู้ครอบครอง อย่างนี้เป็นต้น
ต่อมาเมื่อโตพอที่จะเรียนรู้ว่าความเชื่อว่าด้วย "ขึด" และข้อห้าม หรือ Taboo นั้น มีอยู่ในทุกสังคมด้วยเหตุผลต่างๆ กัน
แต่ข้อห้ามเกี่ยวกับการบริโภคนั้นส่วนใหญ่มีไว้กีดกันมิให้สามัญชนทำตัวเสมอเจ้านายหรือสำนวนไทยเรียกว่า "เทียมเจ้าเทียมนาย" หากใครบังอาจประพฤติเช่นนั้นก็มีอาการ "เหาจะกินหัว" ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เหตุที่ต้องมีข้อห้าม เพราะเครื่องมือที่ใช้พยุงอำนาจของชนชั้นปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นคือ "อำนาจแห่งการบริโภค" เพราะนี่จะเป็นเครื่องหมายแสดงบุญญาธิการที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งนี้ เนื่องจากความชอบธรรมของผู้ปกครองในโลกก่อนสมัยใหม่นั้นต้องอ้างอิงอยู่กับอำนาจที่เหนือมนุษย์ เช่น เป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ เป็นหน่อพุทธางกูล เป็นพระรามกลับชาติมาเกิด เป็นผู้สั่งสมบุญบารมีมาหลายชาติ ดังนั้น จึงมาเสวยเป็นชาติกษัตริย์ในปัจจุบัน
เมื่อมีบุญดังนั้น องค์ราชาและเครือญาติจึงทรงเครื่องเพชร เครื่องทอง ทับทรวง มงกุฎ บัลลังก์ เครื่องประดับ เสื้อผ้า รวมทั้งที่อยู่อาศัย ปราสาทราชวังอันจำลองมาจากภาพเทวดา นางฟ้าไปจนถึงทิพยวิมานของพระอินทร์ ไม่เหมือนพวกไพร่ ทาส สามัญชนทั้งหลาย
กาลต่อมาเมื่อสังคมไม่ได้มีแต่กษัตริย์กับไพร่ที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้กษัตริย์ฟรีๆ แต่เริ่มมีการค้า
แน่นอนว่านอกจากทำสงครามแล้ว เหล่ากษัตริย์จำนวนไม่น้อยก็กระโดดเข้าสู่สนามการค้าเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งของตนเองด้วยเช่นกัน ความสัมพันธ์ของกษัตริย์กับพ่อค้าจึงเกิดขึ้น
และแน่นอนว่าชนชั้นพ่อค้านั้นย่อมมีทักษะในการค้าขายเหนือชนชั้นกษัตริย์ แต่ชนชั้นราชาหรือกษัตริย์จะรักษาความชอบธรรมในฐานะผู้มีบุญอวตารลงมาเกิดเป็นกษัตริย์ไว้ได้อย่างไร หากวันหนึ่งพ่อค้าที่มีเงินเท่ากับหรือมากกว่ากษัตริย์อุตริไปสร้างบ้านให้เหมือนทิพยวิมานพระอินทร์ของกษัตริย์ขึ้นมา หรือไปสั่งช่างทองทำเชี่ยนหมากทองคำฝังเพชรให้เมียหิ้วไปวัดเหมือนของที่เมียกษัตริย์หิ้วทุกประการ หากมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น การจะไปอ้างเอาความชอบธรรมเรื่องบุญญาธิการแต่ชาติปางก่อนอาจจะถูกสั่นคลอนเอาได้ เผลอๆ ไอ้พ่อค้าคนนั้นมันจะอ้างว่า มันก็เป็นองค์อวตารของพระรามอีกองค์ขึ้นมาแข่งขันช่วงชิงอำนาจ-ขืนปล่อยเป็นเช่นนี้ก็เจ๊งกันพอดี
ชนชั้นปกครองจึงพึ่งพาอำนาจเหนือธรรมชาติอีกครั้งหนึ่ง กำหนดกฎหมายพร้อมข้อห้ามที่อิงเอาเหตุผลอย่างเหาจะกินหัวหรือเป็นกาลกิณีมาห้ามเสียเลยว่า หากมิใช่หน่อเนื้อพุทธางกูร สืบสายเลือดในวงศ์วานของราชาแล้ว ต่อให้มีเงินมากแค่ไหนก็อย่ามาบังอาจบริโภคสิ่งที่เป็น "ราชูปโภค" พ่อค้าต่อให้มีเงินมากแค่ไหนก็ไม่มีสิทธิไปสร้างบ้านให้มีหน้าตาเหมือนปราสาทราชวัง ไม่มีสิทธิทำเชี่ยนหมากทองคำให้เมียหิ้ว
และอย่างที่พวกเราทุกคนก็ทราบดีว่า ด้วยฤทธิ์เดชอำนาจของ "ทุนนิยม" บวกกับกระบวนการ enlighten หรือ ตาสว่าง ของชนชั้นกลางจำนวนมากที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ว่าองค์ความรู้เชิงเทววิทยาของเหล่าราชาทั้งหลายนั้น มันเรื่องโกหกทั้งเพเลยนี่หว่า เหล่าราชาทั้งหลายแค่ใช้องค์ความรู้เชิงไสยศาสตร์เหล่านั้นมาหลอกใช้ แถมรีดนาทาเร้นพร้อมทั้งสยบสติปัญญาของเหล่าไพร่ให้เชื่องมิกล้าสบตาหรือทัดทานอำนาจของราชาและศาสนจักร
การค้นพบระบบสุริยจักรวาล การค้นพบว่าโลกกลม การเกิดขึ้นของเครื่องจักรไอน้ำ กำเนิดโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าได้คราวละมากๆ การโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก กำเนิดธุรกิจการพิมพ์ที่ทำให้หนังสือ ความรู้เป็นของสาธารณะและไม่ได้ถูกผูกขาดโดยชนชั้นปกครองอีกต่อไป การปกครองระบอบประชาธิปไตย การขยายตัวของชนชั้นกลาง การศึกษาของมวลชน การเกิดขึ้นของสังคมเมือง กำเนิดของคนงานคอปกขาว คอปกน้ำเงิน อำนาจของพ่อค้าที่มาพร้อมกับทุน การริเริ่มของธุรกิจการขายของเงินผ่อน ธุรกิจธนาคาร ฯลฯ เหล่านี้ทำให้ชาติกำเนิด หรือการอ้างเอาบุญญาธิการจากชาติปางก่อน หรือ "พระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า" มิใช่ข้อกำหนดสิทธิของการบริโภคอีกต่อไป
บรรดาพ่อค้า กระฎุมพีที่มีเงิน ต่างมีเครื่องอุปโภคบริโภคไม่ต่างจากชนชั้นกษัตริย์ในอดีต บ้านของพ่อค้าก็สามารถสร้างได้ใหญ่โตเป็นปราสาทราชวังได้ไม่แพ้กษัตริย์
แน่นอนว่า สิ่งนี้ย่อมนำความระคายเคืองมาสู่กลุ่ม "เจ้า" หรือ ที่ต่อมาพวกเขาจะเรียกตนเองว่า "ผู้ดีเก่า"
จากนั้นจึงพยายามสร้างความแตกต่างระหว่าง "ผู้ดีเก่า" กับเหล่ากระฎุมพีมีสตางค์ที่บังอาจมามีอำนาจในการบริโภคทัดเทียมกับพวกเขา โดยเหยียดหยามกระฎุมพีว่าเป็นพวก Nouveau Rich หรือพวก สามล้อถูกหวย เพิ่งจะรวย บ้าเงิน ไร้รสนิยม
ในความตกต่ำของบรรดา "เจ้าตกอับ" บ้างก็ดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยการไปแต่งงานกับเศรษฐีใหม่ที่ตนเองดูถูกนั่นเอง
(ชวนให้นึกถึงละครเรื่องวนิดาขึ้นมาในบัดดล เพราะประจักษ์ก็ต้องแต่งงานกับวนิดาเพราะเป็นผู้ดีเก่าตกยาก เป็นหนี้นายทุนอย่างพ่อของวนิดาใช่หรือไม่)
ท่ามกลางความตกต่ำของพวก "เจ้า" ในโลกสมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยทุนและจิตสำนึกทางการเมืองสมัยใหม่ ระบอบประชาธิปไตยที่เปลี่ยนไพร่มาเป็นประชาชน พลเมือง โลกปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ความรู้และวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ ศาสนา พระเจ้า ลัทธิ ความเชื่อ ผี ฯลฯ กลายเป็นวัตถุเพื่อการศึกษาในเชิงสังคมวิทยา มานุษยวิทยาเพียงเพื่อจะทำความเข้าใจว่า ความเชื่อเหนือธรรมชาติเหล่านั้นทำหน้าที่อะไรในสังคมก่อนสมัยใหม่
ในโลกเช่นนี้ประชาชนทุกคนต่างมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันที่จะใฝ่ฝันถึงการมีชีวิตที่ดีกว่า เราจะมีบ้านที่ดีกว่านี้ มีรถที่ดีกว่า ลูกของเราจะมีการศึกษาที่ดีขึ้น ชีวิตของเราสามารถลิขิตหรือกำหนดด้วยการกระทำในปัจจุบัน ในชาตินี้ ไม่เกี่ยวกับ บุญ หรือ กรรมแต่ชาติปางก่อน ไม่เกี่ยวกับชาติกำเนิด บุญญาธิการ บารมี แต่เกี่ยวกับความสามารถของเราในฐานะปัจเจกบุคคล เกี่ยวกับประสิทธิภาพของรัฐบาล โครงสร้างทางสังคม นโยบายของพรรคการเมืองที่เราเลือกไปเป็นตัวแทนของเรา ฯลฯ
และบทกลอนโบราณ ประเภท "กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม" นั้นมิใช่คำสาปแช่งแต่เป็นคำอวยพร เพราะสังคมประชาธิปไตยต้องเป็นเช่นนั้น สังคมประชาธิปไตยคือสังคมที่ไม่มีไพร่ ไม่ผู้ดี ไม่มีขี้ครอก ทุกคนออกมาเดินถนน กินข้าว ตามตรอกซอกซอยอย่างเป็นปกติ
ความสามารถในการเข้าถึงการบริโภคมิได้ถูกกำหนดจากชาติกำเนิด แต่ด้วยจำนวน "เงิน" ที่มีอยู่ในมือ และในสังคมที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม คนทุกคนในสังคมต่างสามารถเข้าถึงการบริโภคได้ใกล้เคียงกันและมีศักดิ์ศรีเสมอกัน
ข้อความในเฟซบุ๊กของ กรณ์ จาติกวาณิช ที่อ้างอิงเรื่องการกินอาหารในร้านอาหารร้านเดียวกับ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โดยอ้างเรื่อง -ไหนว่าเป็นไพร่ ไยมากินข้าวร้านเดียวกับอำมาตย์- นั้นเป็นข้อความชวนขันอย่างยิ่ง ทั้งชวนขันและชวนให้น่าสมเพชเวทนาพอๆ กับข้อความก่อนหน้านั้นที่บอกว่า คนฝรั่งเศสจะเสียไหมที่ไม่มีกษัตริย์อีกต่อไป เลยอดเฉลิมฉลองมีความสุขกับงานแต่งงานเจ้าชาย เจ้าหญิง แบบอังกฤษ
ให้ตายเถอะ ฉันไม่คิดเลยว่า ประเทศไทยจะโชคร้ายมีรัฐมนตรีคลังที่ทัศนคติทางการเมืองและสังคมที่เสื่อมทรามขนาดนี้ ทั้งสะท้อนความคับแคบของโลกทัศน์ วิธีคิด แสดงอาการของคนที่สักแต่ได้เรียนหนังสือทว่าขาดการศึกษาอย่างรุนแรง
วาทกรรม ไพร่-อำมาตย์ นั้นคนที่มีปัญญาย่อมเข้าใจได้ทันทีว่ามันหมายถึงการต่อสู้ของประชาชนที่ออกมาบอกว่า สังคมไทยต้องการระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ทว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย โดยเฉพาะนับตั้งแต่หลังการรัฐประหารปี 2549 คือการกระทำที่ดึงเอาระบอบประชาธิปไตยออกจากสังคมไทย-คือขบวนการล้มประชาธิปไตย, ล้มประชาชน-พลันพวกเราที่เป็นประชาชนอยู่ดีๆ ต้องกลายไปเป็น "ไพร่" ส่วนชนชั้นนำที่แย่งอำนาจไปจากประชาชนจึงกลายเป็น "อำมาตย์"-กลับไปสู่การปกครองยุคก่อนสมัยใหม่
ย้ำอีกรอบ เพราะดูเหมือนคนอย่างกรณ์น่าจะสมองช้า การรับรู้ช้า และเข้าใจอะไรได้ช้า (ไม่อย่างนั้นคงไม่เขียนทัศนคติเสื่อมๆ ออกมาเช่นนั้น) - ย้ำว่า - ความเป็นประชาชนถูกพรากไปจากคนไทยเพราะการรัฐประหาร และนับแต่นั้นคนไทยแบ่งออกเป็น อำมาตย์+เครือข่าย, ไพร่ และสุดท้าย คือกลุ่มสมองช้าปัญญาทึบ นึกว่าใครมีปัญญาไปกินข้าวร้านแพงๆ แปลว่า "อำมาตย์" คนกลุ่มนี้เลยเลือกอยู่ข้างเป็นสมุนอำมาตย์คอยเห่าเป็นคอรัสให้อำมาตย์แลกเศษเนื้อเศษกระดูกเท่านั้น
พรรคประชาธิปัตย์ที่หน้าด้านรับเป็นรัฐบาลโดยไม่แคร์ความถูกต้อง ไม่แคร์หลักนิติรัฐ คือสมุนของเหล่าอำมาตย์ - เป็นแค่สมุนรับใช้อำมาตย์ - ไม่แม้แต่จะเป็นอำมาตย์ด้วยตนเอง
เพราะเมื่อไหร่ก็ตาม ที่อำมาตย์เลิกโอบอุ้มพวกคุณ และตราบที่ประเทศไทยยังไม่มีประชาธิปไตย ในวันนั้น พลพรรคประชาธิปัตย์ก็จะกลายเป็นไพร่ไม่ต่างจากคนไทยคนอื่นๆ และพร้อมจะถูกอำมาตย์ที่แท้จริงอัปเปหิ ใส่ร้าย ขับไล่ออกนอกประเทศ
ทั้งนี้ ความเป็นไพร่และอำมาตย์นั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับปริมาณของเงินทอง ทรัพย์สินที่ครอบครองอยู่ ทว่า มันเกี่ยวพันโดยตรงกับสิ่งที่เรียกว่าสิทธิในฐานะที่เป็นประชาชนในระบอบการปกครองที่มิใช่ประชาธิปไตย "อำมาตย์" มีสิทธิจะชี้บอกว่าสิ่งมีชีวิตหน้าไหนคือคนและหน้าไหนไม่ใช่คน
และโปรดดูตัวอย่างสมุนรับใช้อำมาตย์รุ่นพี่อย่าง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่แตกญญ่ายพ่ายยับเยินเห่าใส่ร้ายกันทุกวัน ด้วยตกกระป๋องจากสมุนอำมาตย์มาเป็นไพร่เสียแล้วในวันนี้ เพราะกลุ่มสตรีชั้นสูงและผู้มีนามสกุลพระราชทานต่างพากันออกมาแสดงความเดียดฉันท์กันถ้วนหน้า จนลืมไปว่าเมื่อครั้งจูบปากกันหวานชื่นนั้นอาหารมันดีและดนตรีมันไพเราะขนาดไหน
และหวังว่า คุณวรกร จาติกวณิช จะไม่ลืมวันที่นั่งกินข้าวห่อร่วมกับม็อบพันธมิตรฯ พร้อมชมวิวพระที่นั่งอนันตสมาคมอย่างซ่านซึ้งหัวใจ
วัฒนธรรมการกินข้าวนอกบ้านเป็นวัฒนธรรมของไพร่กระฎุมพี มีใครเคยได้ยินว่าควีนของอังกฤษออกไปกินข้าว ณ ผับโน้น ผับนี้ หรือเที่ยวไปกินข้าวร้านโน้นร้านนี้หรือไม่? ต่อให้อยากชิมฝีมือเชฟมิชลินสามดาวแค่ไหนก็ไม่อาจออกมาเที่ยวกินข้าวนอกบ้านได้ และไม่เกี่ยวกับว่าจะมีเงินมากน้อยแค่ไหนด้วย
การกินข้าวนอกบ้าน เท่ากับว่าเราได้ใช้ จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ร่วมกับคนอื่น เครื่องครัว มีด ครก เขียงของร้านนั้นทำอาหารมาให้คนร้อยพ่อพันแม่กินมาแล้ว ปราศจากสำนึกแบบกระฎุมพี วัฒนธรรมการกินการใช้ของร่วมกับคนร้อยพ่อพันแม่ที่เราไม่รู้จักไม่มีวันเกิดขึ้นได้
ขยายความต่อไปว่า สำนึกแห่งการใช้ของร่วมกันเป็นสาธารณะ เป็นส่วนหนึ่งของสำนึกและวัฒนธรรมประชาธิปไตยด้วย (ด้วยความที่เราตระหนักว่าคนที่กินช้อนคันเดียวกับเราเมื่อวานก็เป็นคนเหมือนกับเราจึงไม่เห็นมีอะไรน่ารังเกียจกับการไปกินข้าวในร้านอาหาร)
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และครอบครัวเป็นไพร่ออกมากินข้าวนอกบ้านนั้นถูกต้องตามธรรมเนียมไพร่ทุกประการ กรณ์และเมียก็เป็นไพร่ด้วยเช่นกัน จึงมีวัฒนธรรมการกินข้าวนอกบ้านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
แต่ความแตกต่างของไพร่สองคนระหว่างกรณ์และณัฐวุฒิ ไม่ได้ต่างตรงที่ใครมีเงินมากกว่ากัน และไม่แปลกอันใดที่ไพร่จำนวนมากมีเงินมากกว่าคนที่นึกว่าตนเองเป็นอำมาตย์และมีรสนิยมการกินอยู่ที่ดีกว่าคนที่นึกว่าตนเองอำมาตย์เพราะไปรับใช้อำมาตย์เสียด้วยซ้ำ
แต่ที่ต่างคือ ณัฐวุฒิเป็นไพร่ที่ออกมาต่อสู้เพื่อให้มาซึ่งความเป็นประชาชนกลับมาสู่คนไทยทุกคน ส่วนกรณ์เป็นไพร่ที่ต้นตระกูลก็โล้สำเภามาจากหมู่บ้านเล็กๆ จากเมืองจีน (ซึ่งไม่แปลกเพราะสังคมไทยก็เป็นสังคม Mestizo หรือสังคมลูกครึ่งอยู่แล้ว แต่ที่แปลกคือ Mestizo ของไทยเลือกจะจำว่าตนเองเป็นอำมาตย์ มากกว่าเป็นลูกครึ่งจีนอพยพ) อาศัยเกาะกิน หาสัมปทาน ค้าขาย เป็นนายหน้าให้กับอำมาตย์จนมั่งคั่งขึ้นมาระดับหนึ่ง และด้วยทางครอบครัวมิได้อบรมให้ตระหนักรู้จักรากเหง้าที่มาของตนเอง
วันดีคืนดีเลยลืมตัวเป็นวัวลืมตีน
ลืมไปว่าบรรพบุรุษของตนก็เป็นไพร่จ่ายส่วยเท่านั้น เมื่อเป็นวัวลืมตีนเช่นนี้ คนอย่างกรณ์จึงมีความสุขที่จะหากินในฐานะสมุนอำมาตย์มากกว่าจะตระหนักในความสำคัญของประชาธิปไตยและสิทธิของคนไทยในฐานะที่เป็นประชาชน บวกกับเป็นเพียงผู้ที่ได้เรียนหนังสือแต่มิได้มีการศึกษาจึงขาดความลึกซึ้ง มีความคิดและความสามารถในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมได้แต่เพียงผิวเผิน ทั้งไร้รสนิยมในการเขียน ถกเถียง และแสดงความรู้สึก
ไพร่อย่างณัฐวุฒิต่อสู้กับประชาชน ในฐานะประชาชน ส่วนไพร่อย่างกรณ์เลือกจะขออยู่อย่างเชื่องๆ แค่ได้แทะเศษเนื้อที่เหลือจากอำมาตย์ก็สุขใจ ไพร่อย่างนี้ ฉันเรียกว่าไพร่น่าสมเพช ถ้าในยุคเลิกทาสก็คงเรียกว่า ทาสที่ปล่อยไม่ไป ชอบคลานแต่ไม่ชอบเดินทั้งๆ ที่มีสองขา
ไพร่ประเภทนี้มักมีปมด้อย เพราะ positioning ตัวเองไว้ผิดฝาผิดตัว จะไปเป็นอำมาตย์ก็ต้องเป็นไม่ได้เพราะชาติกำเนิดไม่ให้ จะกลับมาเป็นไพร่ ไพร่ที่มีจิตสำนึกถูกต้องเขาก็ไม่เอาด้วย เป็นเช่นนี้จึงสำแดงทัศนะอันน่าสมเพชออกมาอยู่เนืองๆ
และทัศนะล่าสุดว่าด้วยไพร่และอำมาตย์ของกรณ์ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาบ้องตื้น บ้อท่า และไร้น้ำยาขนาดไหน-กรณ์เอ๊ยกรณ์!
เมื่อตอนเป็นเด็กฉันอยู่บ้านไม้ เคยเห็นลวดลายฉลุไม้สวยวิจิตรในวัดแล้วอยากรู้ว่าทำไมเราไม่เอาของสวยๆ อย่างนั้นมาประดับบ้านหรือทำเป็นลวดลายตกแต่งบ้านให้สวยขึ้น
ตาของฉันซึ่งเป็นเจ้าของบ้านตอบว่า "บ้านชาวบ้านถ้ามีงานไม้แกะสลักอยู่ในบ้านแล้วจะขึด" คำว่า "ขึด" แปลว่า เป็นกาลกิณีอะไรทำนองนั้น
ถ้าคำถามใดมีคำตอบว่า "ถ้าทำลงไปแล้วจะขึด" ก็เป็นอันว่าไม่ต้องถามต่อ ไม่ต้องสงสัย ขึดก็คือขึด
สถานที่ที่จะตกแต่งด้วยไม้ฉลุหรือไม้แกะสลักได้ถ้าไม่ใช่วัดก็ต้องเป็นบ้าน "เจ้านาย" บ้านไพร่สามัญชนมีไม่ได้ ข้อห้ามทำนองนี้มีอีกมาก เช่น ผ้าถุงที่ทอสอดดิ้นเงินดิ้นทองนั้น หญิงไพร่สามัญชนใส่ไม่ได้ จะ "ขึด" เพราะมีไว้สำหรับ "เจ้าหญิง" เท่านั้น
เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอีกหลายอย่าง ว่ากันว่าหากผู้ครอบครอง "บุญไม่ถึง" แล้วดันทุรังเก็บรักษาเอาไว้กับตัว ก็จะมีอันเป็นไปต่างๆ นานา
เพชรสูงค่าบางชิ้น ว่ากันว่าตกอยู่ในมือผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของตัวจริง ไม่มีบารมีพอ เพชรนั้นก็จะนำมาซึ่งความพินาศมาสู่ผู้ครอบครอง อย่างนี้เป็นต้น
ต่อมาเมื่อโตพอที่จะเรียนรู้ว่าความเชื่อว่าด้วย "ขึด" และข้อห้าม หรือ Taboo นั้น มีอยู่ในทุกสังคมด้วยเหตุผลต่างๆ กัน
แต่ข้อห้ามเกี่ยวกับการบริโภคนั้นส่วนใหญ่มีไว้กีดกันมิให้สามัญชนทำตัวเสมอเจ้านายหรือสำนวนไทยเรียกว่า "เทียมเจ้าเทียมนาย" หากใครบังอาจประพฤติเช่นนั้นก็มีอาการ "เหาจะกินหัว" ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เหตุที่ต้องมีข้อห้าม เพราะเครื่องมือที่ใช้พยุงอำนาจของชนชั้นปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นคือ "อำนาจแห่งการบริโภค" เพราะนี่จะเป็นเครื่องหมายแสดงบุญญาธิการที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งนี้ เนื่องจากความชอบธรรมของผู้ปกครองในโลกก่อนสมัยใหม่นั้นต้องอ้างอิงอยู่กับอำนาจที่เหนือมนุษย์ เช่น เป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ เป็นหน่อพุทธางกูล เป็นพระรามกลับชาติมาเกิด เป็นผู้สั่งสมบุญบารมีมาหลายชาติ ดังนั้น จึงมาเสวยเป็นชาติกษัตริย์ในปัจจุบัน
เมื่อมีบุญดังนั้น องค์ราชาและเครือญาติจึงทรงเครื่องเพชร เครื่องทอง ทับทรวง มงกุฎ บัลลังก์ เครื่องประดับ เสื้อผ้า รวมทั้งที่อยู่อาศัย ปราสาทราชวังอันจำลองมาจากภาพเทวดา นางฟ้าไปจนถึงทิพยวิมานของพระอินทร์ ไม่เหมือนพวกไพร่ ทาส สามัญชนทั้งหลาย
กาลต่อมาเมื่อสังคมไม่ได้มีแต่กษัตริย์กับไพร่ที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานให้กษัตริย์ฟรีๆ แต่เริ่มมีการค้า
แน่นอนว่านอกจากทำสงครามแล้ว เหล่ากษัตริย์จำนวนไม่น้อยก็กระโดดเข้าสู่สนามการค้าเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งของตนเองด้วยเช่นกัน ความสัมพันธ์ของกษัตริย์กับพ่อค้าจึงเกิดขึ้น
และแน่นอนว่าชนชั้นพ่อค้านั้นย่อมมีทักษะในการค้าขายเหนือชนชั้นกษัตริย์ แต่ชนชั้นราชาหรือกษัตริย์จะรักษาความชอบธรรมในฐานะผู้มีบุญอวตารลงมาเกิดเป็นกษัตริย์ไว้ได้อย่างไร หากวันหนึ่งพ่อค้าที่มีเงินเท่ากับหรือมากกว่ากษัตริย์อุตริไปสร้างบ้านให้เหมือนทิพยวิมานพระอินทร์ของกษัตริย์ขึ้นมา หรือไปสั่งช่างทองทำเชี่ยนหมากทองคำฝังเพชรให้เมียหิ้วไปวัดเหมือนของที่เมียกษัตริย์หิ้วทุกประการ หากมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น การจะไปอ้างเอาความชอบธรรมเรื่องบุญญาธิการแต่ชาติปางก่อนอาจจะถูกสั่นคลอนเอาได้ เผลอๆ ไอ้พ่อค้าคนนั้นมันจะอ้างว่า มันก็เป็นองค์อวตารของพระรามอีกองค์ขึ้นมาแข่งขันช่วงชิงอำนาจ-ขืนปล่อยเป็นเช่นนี้ก็เจ๊งกันพอดี
ชนชั้นปกครองจึงพึ่งพาอำนาจเหนือธรรมชาติอีกครั้งหนึ่ง กำหนดกฎหมายพร้อมข้อห้ามที่อิงเอาเหตุผลอย่างเหาจะกินหัวหรือเป็นกาลกิณีมาห้ามเสียเลยว่า หากมิใช่หน่อเนื้อพุทธางกูร สืบสายเลือดในวงศ์วานของราชาแล้ว ต่อให้มีเงินมากแค่ไหนก็อย่ามาบังอาจบริโภคสิ่งที่เป็น "ราชูปโภค" พ่อค้าต่อให้มีเงินมากแค่ไหนก็ไม่มีสิทธิไปสร้างบ้านให้มีหน้าตาเหมือนปราสาทราชวัง ไม่มีสิทธิทำเชี่ยนหมากทองคำให้เมียหิ้ว
และอย่างที่พวกเราทุกคนก็ทราบดีว่า ด้วยฤทธิ์เดชอำนาจของ "ทุนนิยม" บวกกับกระบวนการ enlighten หรือ ตาสว่าง ของชนชั้นกลางจำนวนมากที่ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ว่าองค์ความรู้เชิงเทววิทยาของเหล่าราชาทั้งหลายนั้น มันเรื่องโกหกทั้งเพเลยนี่หว่า เหล่าราชาทั้งหลายแค่ใช้องค์ความรู้เชิงไสยศาสตร์เหล่านั้นมาหลอกใช้ แถมรีดนาทาเร้นพร้อมทั้งสยบสติปัญญาของเหล่าไพร่ให้เชื่องมิกล้าสบตาหรือทัดทานอำนาจของราชาและศาสนจักร
การค้นพบระบบสุริยจักรวาล การค้นพบว่าโลกกลม การเกิดขึ้นของเครื่องจักรไอน้ำ กำเนิดโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าได้คราวละมากๆ การโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก กำเนิดธุรกิจการพิมพ์ที่ทำให้หนังสือ ความรู้เป็นของสาธารณะและไม่ได้ถูกผูกขาดโดยชนชั้นปกครองอีกต่อไป การปกครองระบอบประชาธิปไตย การขยายตัวของชนชั้นกลาง การศึกษาของมวลชน การเกิดขึ้นของสังคมเมือง กำเนิดของคนงานคอปกขาว คอปกน้ำเงิน อำนาจของพ่อค้าที่มาพร้อมกับทุน การริเริ่มของธุรกิจการขายของเงินผ่อน ธุรกิจธนาคาร ฯลฯ เหล่านี้ทำให้ชาติกำเนิด หรือการอ้างเอาบุญญาธิการจากชาติปางก่อน หรือ "พระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า" มิใช่ข้อกำหนดสิทธิของการบริโภคอีกต่อไป
บรรดาพ่อค้า กระฎุมพีที่มีเงิน ต่างมีเครื่องอุปโภคบริโภคไม่ต่างจากชนชั้นกษัตริย์ในอดีต บ้านของพ่อค้าก็สามารถสร้างได้ใหญ่โตเป็นปราสาทราชวังได้ไม่แพ้กษัตริย์
แน่นอนว่า สิ่งนี้ย่อมนำความระคายเคืองมาสู่กลุ่ม "เจ้า" หรือ ที่ต่อมาพวกเขาจะเรียกตนเองว่า "ผู้ดีเก่า"
จากนั้นจึงพยายามสร้างความแตกต่างระหว่าง "ผู้ดีเก่า" กับเหล่ากระฎุมพีมีสตางค์ที่บังอาจมามีอำนาจในการบริโภคทัดเทียมกับพวกเขา โดยเหยียดหยามกระฎุมพีว่าเป็นพวก Nouveau Rich หรือพวก สามล้อถูกหวย เพิ่งจะรวย บ้าเงิน ไร้รสนิยม
ในความตกต่ำของบรรดา "เจ้าตกอับ" บ้างก็ดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยการไปแต่งงานกับเศรษฐีใหม่ที่ตนเองดูถูกนั่นเอง
(ชวนให้นึกถึงละครเรื่องวนิดาขึ้นมาในบัดดล เพราะประจักษ์ก็ต้องแต่งงานกับวนิดาเพราะเป็นผู้ดีเก่าตกยาก เป็นหนี้นายทุนอย่างพ่อของวนิดาใช่หรือไม่)
ท่ามกลางความตกต่ำของพวก "เจ้า" ในโลกสมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยทุนและจิตสำนึกทางการเมืองสมัยใหม่ ระบอบประชาธิปไตยที่เปลี่ยนไพร่มาเป็นประชาชน พลเมือง โลกปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ความรู้และวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ ศาสนา พระเจ้า ลัทธิ ความเชื่อ ผี ฯลฯ กลายเป็นวัตถุเพื่อการศึกษาในเชิงสังคมวิทยา มานุษยวิทยาเพียงเพื่อจะทำความเข้าใจว่า ความเชื่อเหนือธรรมชาติเหล่านั้นทำหน้าที่อะไรในสังคมก่อนสมัยใหม่
ในโลกเช่นนี้ประชาชนทุกคนต่างมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันที่จะใฝ่ฝันถึงการมีชีวิตที่ดีกว่า เราจะมีบ้านที่ดีกว่านี้ มีรถที่ดีกว่า ลูกของเราจะมีการศึกษาที่ดีขึ้น ชีวิตของเราสามารถลิขิตหรือกำหนดด้วยการกระทำในปัจจุบัน ในชาตินี้ ไม่เกี่ยวกับ บุญ หรือ กรรมแต่ชาติปางก่อน ไม่เกี่ยวกับชาติกำเนิด บุญญาธิการ บารมี แต่เกี่ยวกับความสามารถของเราในฐานะปัจเจกบุคคล เกี่ยวกับประสิทธิภาพของรัฐบาล โครงสร้างทางสังคม นโยบายของพรรคการเมืองที่เราเลือกไปเป็นตัวแทนของเรา ฯลฯ
และบทกลอนโบราณ ประเภท "กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม" นั้นมิใช่คำสาปแช่งแต่เป็นคำอวยพร เพราะสังคมประชาธิปไตยต้องเป็นเช่นนั้น สังคมประชาธิปไตยคือสังคมที่ไม่มีไพร่ ไม่ผู้ดี ไม่มีขี้ครอก ทุกคนออกมาเดินถนน กินข้าว ตามตรอกซอกซอยอย่างเป็นปกติ
ความสามารถในการเข้าถึงการบริโภคมิได้ถูกกำหนดจากชาติกำเนิด แต่ด้วยจำนวน "เงิน" ที่มีอยู่ในมือ และในสังคมที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม คนทุกคนในสังคมต่างสามารถเข้าถึงการบริโภคได้ใกล้เคียงกันและมีศักดิ์ศรีเสมอกัน
ข้อความในเฟซบุ๊กของ กรณ์ จาติกวาณิช ที่อ้างอิงเรื่องการกินอาหารในร้านอาหารร้านเดียวกับ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โดยอ้างเรื่อง -ไหนว่าเป็นไพร่ ไยมากินข้าวร้านเดียวกับอำมาตย์- นั้นเป็นข้อความชวนขันอย่างยิ่ง ทั้งชวนขันและชวนให้น่าสมเพชเวทนาพอๆ กับข้อความก่อนหน้านั้นที่บอกว่า คนฝรั่งเศสจะเสียไหมที่ไม่มีกษัตริย์อีกต่อไป เลยอดเฉลิมฉลองมีความสุขกับงานแต่งงานเจ้าชาย เจ้าหญิง แบบอังกฤษ
ให้ตายเถอะ ฉันไม่คิดเลยว่า ประเทศไทยจะโชคร้ายมีรัฐมนตรีคลังที่ทัศนคติทางการเมืองและสังคมที่เสื่อมทรามขนาดนี้ ทั้งสะท้อนความคับแคบของโลกทัศน์ วิธีคิด แสดงอาการของคนที่สักแต่ได้เรียนหนังสือทว่าขาดการศึกษาอย่างรุนแรง
วาทกรรม ไพร่-อำมาตย์ นั้นคนที่มีปัญญาย่อมเข้าใจได้ทันทีว่ามันหมายถึงการต่อสู้ของประชาชนที่ออกมาบอกว่า สังคมไทยต้องการระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ทว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย โดยเฉพาะนับตั้งแต่หลังการรัฐประหารปี 2549 คือการกระทำที่ดึงเอาระบอบประชาธิปไตยออกจากสังคมไทย-คือขบวนการล้มประชาธิปไตย, ล้มประชาชน-พลันพวกเราที่เป็นประชาชนอยู่ดีๆ ต้องกลายไปเป็น "ไพร่" ส่วนชนชั้นนำที่แย่งอำนาจไปจากประชาชนจึงกลายเป็น "อำมาตย์"-กลับไปสู่การปกครองยุคก่อนสมัยใหม่
ย้ำอีกรอบ เพราะดูเหมือนคนอย่างกรณ์น่าจะสมองช้า การรับรู้ช้า และเข้าใจอะไรได้ช้า (ไม่อย่างนั้นคงไม่เขียนทัศนคติเสื่อมๆ ออกมาเช่นนั้น) - ย้ำว่า - ความเป็นประชาชนถูกพรากไปจากคนไทยเพราะการรัฐประหาร และนับแต่นั้นคนไทยแบ่งออกเป็น อำมาตย์+เครือข่าย, ไพร่ และสุดท้าย คือกลุ่มสมองช้าปัญญาทึบ นึกว่าใครมีปัญญาไปกินข้าวร้านแพงๆ แปลว่า "อำมาตย์" คนกลุ่มนี้เลยเลือกอยู่ข้างเป็นสมุนอำมาตย์คอยเห่าเป็นคอรัสให้อำมาตย์แลกเศษเนื้อเศษกระดูกเท่านั้น
พรรคประชาธิปัตย์ที่หน้าด้านรับเป็นรัฐบาลโดยไม่แคร์ความถูกต้อง ไม่แคร์หลักนิติรัฐ คือสมุนของเหล่าอำมาตย์ - เป็นแค่สมุนรับใช้อำมาตย์ - ไม่แม้แต่จะเป็นอำมาตย์ด้วยตนเอง
เพราะเมื่อไหร่ก็ตาม ที่อำมาตย์เลิกโอบอุ้มพวกคุณ และตราบที่ประเทศไทยยังไม่มีประชาธิปไตย ในวันนั้น พลพรรคประชาธิปัตย์ก็จะกลายเป็นไพร่ไม่ต่างจากคนไทยคนอื่นๆ และพร้อมจะถูกอำมาตย์ที่แท้จริงอัปเปหิ ใส่ร้าย ขับไล่ออกนอกประเทศ
ทั้งนี้ ความเป็นไพร่และอำมาตย์นั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับปริมาณของเงินทอง ทรัพย์สินที่ครอบครองอยู่ ทว่า มันเกี่ยวพันโดยตรงกับสิ่งที่เรียกว่าสิทธิในฐานะที่เป็นประชาชนในระบอบการปกครองที่มิใช่ประชาธิปไตย "อำมาตย์" มีสิทธิจะชี้บอกว่าสิ่งมีชีวิตหน้าไหนคือคนและหน้าไหนไม่ใช่คน
และโปรดดูตัวอย่างสมุนรับใช้อำมาตย์รุ่นพี่อย่าง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่แตกญญ่ายพ่ายยับเยินเห่าใส่ร้ายกันทุกวัน ด้วยตกกระป๋องจากสมุนอำมาตย์มาเป็นไพร่เสียแล้วในวันนี้ เพราะกลุ่มสตรีชั้นสูงและผู้มีนามสกุลพระราชทานต่างพากันออกมาแสดงความเดียดฉันท์กันถ้วนหน้า จนลืมไปว่าเมื่อครั้งจูบปากกันหวานชื่นนั้นอาหารมันดีและดนตรีมันไพเราะขนาดไหน
และหวังว่า คุณวรกร จาติกวณิช จะไม่ลืมวันที่นั่งกินข้าวห่อร่วมกับม็อบพันธมิตรฯ พร้อมชมวิวพระที่นั่งอนันตสมาคมอย่างซ่านซึ้งหัวใจ
วัฒนธรรมการกินข้าวนอกบ้านเป็นวัฒนธรรมของไพร่กระฎุมพี มีใครเคยได้ยินว่าควีนของอังกฤษออกไปกินข้าว ณ ผับโน้น ผับนี้ หรือเที่ยวไปกินข้าวร้านโน้นร้านนี้หรือไม่? ต่อให้อยากชิมฝีมือเชฟมิชลินสามดาวแค่ไหนก็ไม่อาจออกมาเที่ยวกินข้าวนอกบ้านได้ และไม่เกี่ยวกับว่าจะมีเงินมากน้อยแค่ไหนด้วย
การกินข้าวนอกบ้าน เท่ากับว่าเราได้ใช้ จาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ร่วมกับคนอื่น เครื่องครัว มีด ครก เขียงของร้านนั้นทำอาหารมาให้คนร้อยพ่อพันแม่กินมาแล้ว ปราศจากสำนึกแบบกระฎุมพี วัฒนธรรมการกินการใช้ของร่วมกับคนร้อยพ่อพันแม่ที่เราไม่รู้จักไม่มีวันเกิดขึ้นได้
ขยายความต่อไปว่า สำนึกแห่งการใช้ของร่วมกันเป็นสาธารณะ เป็นส่วนหนึ่งของสำนึกและวัฒนธรรมประชาธิปไตยด้วย (ด้วยความที่เราตระหนักว่าคนที่กินช้อนคันเดียวกับเราเมื่อวานก็เป็นคนเหมือนกับเราจึงไม่เห็นมีอะไรน่ารังเกียจกับการไปกินข้าวในร้านอาหาร)
ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และครอบครัวเป็นไพร่ออกมากินข้าวนอกบ้านนั้นถูกต้องตามธรรมเนียมไพร่ทุกประการ กรณ์และเมียก็เป็นไพร่ด้วยเช่นกัน จึงมีวัฒนธรรมการกินข้าวนอกบ้านเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
แต่ความแตกต่างของไพร่สองคนระหว่างกรณ์และณัฐวุฒิ ไม่ได้ต่างตรงที่ใครมีเงินมากกว่ากัน และไม่แปลกอันใดที่ไพร่จำนวนมากมีเงินมากกว่าคนที่นึกว่าตนเองเป็นอำมาตย์และมีรสนิยมการกินอยู่ที่ดีกว่าคนที่นึกว่าตนเองอำมาตย์เพราะไปรับใช้อำมาตย์เสียด้วยซ้ำ
แต่ที่ต่างคือ ณัฐวุฒิเป็นไพร่ที่ออกมาต่อสู้เพื่อให้มาซึ่งความเป็นประชาชนกลับมาสู่คนไทยทุกคน ส่วนกรณ์เป็นไพร่ที่ต้นตระกูลก็โล้สำเภามาจากหมู่บ้านเล็กๆ จากเมืองจีน (ซึ่งไม่แปลกเพราะสังคมไทยก็เป็นสังคม Mestizo หรือสังคมลูกครึ่งอยู่แล้ว แต่ที่แปลกคือ Mestizo ของไทยเลือกจะจำว่าตนเองเป็นอำมาตย์ มากกว่าเป็นลูกครึ่งจีนอพยพ) อาศัยเกาะกิน หาสัมปทาน ค้าขาย เป็นนายหน้าให้กับอำมาตย์จนมั่งคั่งขึ้นมาระดับหนึ่ง และด้วยทางครอบครัวมิได้อบรมให้ตระหนักรู้จักรากเหง้าที่มาของตนเอง
วันดีคืนดีเลยลืมตัวเป็นวัวลืมตีน
ลืมไปว่าบรรพบุรุษของตนก็เป็นไพร่จ่ายส่วยเท่านั้น เมื่อเป็นวัวลืมตีนเช่นนี้ คนอย่างกรณ์จึงมีความสุขที่จะหากินในฐานะสมุนอำมาตย์มากกว่าจะตระหนักในความสำคัญของประชาธิปไตยและสิทธิของคนไทยในฐานะที่เป็นประชาชน บวกกับเป็นเพียงผู้ที่ได้เรียนหนังสือแต่มิได้มีการศึกษาจึงขาดความลึกซึ้ง มีความคิดและความสามารถในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมได้แต่เพียงผิวเผิน ทั้งไร้รสนิยมในการเขียน ถกเถียง และแสดงความรู้สึก
ไพร่อย่างณัฐวุฒิต่อสู้กับประชาชน ในฐานะประชาชน ส่วนไพร่อย่างกรณ์เลือกจะขออยู่อย่างเชื่องๆ แค่ได้แทะเศษเนื้อที่เหลือจากอำมาตย์ก็สุขใจ ไพร่อย่างนี้ ฉันเรียกว่าไพร่น่าสมเพช ถ้าในยุคเลิกทาสก็คงเรียกว่า ทาสที่ปล่อยไม่ไป ชอบคลานแต่ไม่ชอบเดินทั้งๆ ที่มีสองขา
ไพร่ประเภทนี้มักมีปมด้อย เพราะ positioning ตัวเองไว้ผิดฝาผิดตัว จะไปเป็นอำมาตย์ก็ต้องเป็นไม่ได้เพราะชาติกำเนิดไม่ให้ จะกลับมาเป็นไพร่ ไพร่ที่มีจิตสำนึกถูกต้องเขาก็ไม่เอาด้วย เป็นเช่นนี้จึงสำแดงทัศนะอันน่าสมเพชออกมาอยู่เนืองๆ
และทัศนะล่าสุดว่าด้วยไพร่และอำมาตย์ของกรณ์ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาบ้องตื้น บ้อท่า และไร้น้ำยาขนาดไหน-กรณ์เอ๊ยกรณ์!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น