มติชนพาดหัวว่า "มาร์ค-เสื้อแดง"ถก3ชั่วโมงครึ่งไม่ลงตัว ยุบสภายาก นปช.เส้นตาย29มี.ค. ไม่ยุบเลิกคุย เตรียมเคลื่อนต่อ
"มาร์ค"นำทีมถกเครียด 3แกนนำเสื้อแดง หาทางออกวิกฤตประเทศ "ยุบสภา-แก้รธน."ถ่ายทอดสดผ่านทีวี นปช.เส้นตายนายกฯ29มี.ค. ถามคำเดียว"จะยุบสภาหรือไม่" ถือเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเคลื่อนต่อ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายภายหลังเวลาผ่านไปเกือบ 3 ชั่วโมง ได้มีการพักประชุมประมาณ 3 นาที หลังกลับมาเข้าประชุม นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้มีข้อเสนอว่า ให้นายกรัฐมนตรี ไปพิจารณาให้มีการยุบสภาภายใน 2 สัปดาห์ โดยเงื่อนไขต่างๆที่มีการหารือกันนั้น ทางฝ่ายเสื้อแดงจะไปพิจารณาทางออกต่างๆ โดยจะมีการนัดหารืออีกครั้ง ในเย็นวันจันทร์ที่29 มีนาคม เวลา 18.00 น. ที่สถาบันพระปกเกล้าเหมือนเดิม รวมระยะเวลาในการเจรจาประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ในเวลา 15.50 น. วันที่ 28 มีนาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกฯ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมาถึงสถาบันพระปกเกล้า ต่อมาเวลา 16.00 น. นายวีระ มุสิกพงษ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์และนพ.เหวง โตจิราการ แกนนำนปช. เดินทางมาถึง ทั้งนี้นายจตุพร กล่าวสั้นๆว่า " ข้อเสนอมีข้อเดียวคือต้องยุบสภาเท่านั้น " ทั้งนี้ทั้งหมดได้ร่วมหารือกันในห้องประชุมใหญ่ที่มีการติดตั้งโทรทัศน์วงจร ปิดซึ่งมีการถ่ายทอดภาพและเสียงออกมา การเจรจาในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศมาทำข่าว กันจำนวนมาก ซึ่งมีการถ่ายทอดสดออกทีวีเกือบทุกช่อง นายวีระ กล่าวว่า "เราก็พวกเดียวกันทั้งนั้น แต่ก็ไม่ได้พูดกันโดยตรง เราพูดกันผ่านสื่อ เพราะว่าต่างคนต่างมีสถานะที่กีดกันอยู่ ดังนั้น การที่นายกฯให้โอกาสให้เวลาพวกเรามาสนทนากันในวันนี้ ต้องขอบคุณ และก็เชื่อว่า สิ่งที่เราคุยกันจะเป็นทางออกที่ดี อย่างที่ท่านก็ทราบแล้ว เราก็มีแถลงการณ์ที่เรียกร้องก็ง่าย ๆ คืออยากให้มีการยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนได้ตัดสินใจ ทั้งนี้ไม่ได้มีอคติ อย่างหนึ่งก็คือข้อขัดข้องระหว่างพวกเรามันไปอยู่ที่รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นปัญหาหลัก ทำให้ไม่สบายใจกันตลอดมา
เรื่องที่ 2 ก็คือเรื่องของการทำงานของคณะรัฐบาล ก็มาในภาวะที่ประเทศมีปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างมากมายท่านก็เหน็ดเหนื่ย แต่ก็ไม่อาจแก้ปัญหาได้ ไม่อาจจะฝ่าขวากหนามของปัญหาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีปัญหารอบด้าน น่าจะเป็นทางออกที่ดีก็เลยเสนอทางนี้ดีกว่า มันก็ได้ทั้ง 2 เรื่อง คือ 1.ไป ถามชาวบ้านเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยวิธีการเลือกตั้ง 2.เรื่องของ การแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยืดยาว แต่ก็จะพูดกันสั้น ๆ เพียงแต่ว่า เมื่อท่านก็ได้ทราบจากสื่อ ซึ่งเราก็ได้แถลงตลอดมา ก็คงจะได้ฟังความเห็นทางฝ่ายค้านในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบอยู่ว่า ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสงบสุข ซึ่งตนคิดว่านายกฯก็น่าจะรับรู้อยู่ คือมีคำหนึ่งที่เห็นตรงกันและพูดตรงกันคืออยากให้ประเทศไทยชนะ พวกผมชนะก็ไม่มีประโยชน์ ท่านชนะก็ไม่มีประโยชน์ ถ้ามันยังมีการแบ่งเป็นฝักฝ่าย และก็ยังทำอะไรไม่ได้เต็มไม้เต็มมือ เพราะฉะนั้นถาร่วมกันประเทศไทยก็จะชนะ ก็กราบเรียนท่านสั้น ๆ แค่นี้ และขอความเห็นท่านว่าจะคิดเห็นประการใดที่เราจะร่วมกันได้ ทอะไรที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ยืนยันตั้งแต่ต้นว่าเ ราต้องการให้ประเทศไทยชนะ ไม่ใช่ชัยชนะของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะเห็นว่าตลอดเวลาที่มีการชุมนุมผมก็ยืนยันตลอด เราไม่ควรจะมาเป็นศัตรูกัน แต่ความคิดเห็นทางการเมืองทุกท่านก็คงทราบดี เพราะว่าคลุกคลีในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาโดยตลอด ก็มีความแตกต่างหลากหลาย เพียงแต่ว่าหลายคนก็รู้สึกสะท้อนใจว่าไม่เคยมียุคใดที่ความแตกต่างมัน แสดงออกในลักษณะที่รุนแรงมากขึ้น ๆ ซึ่งในช่วง 13-14 วันที่ผ่านมานี้ รัฐบาลก็ทำทุกวิถีทางที่จะบริหารสถานการณ์ที่จะทำให้ทุกคนไม่ต้องเสียใจภาย หลัง และในวันนี้ก็ต้องขอบคุณที่เรามาอยู่ตรงแทนที่เราจะเห็นประชาชน เ จ้าหน้าที่รัฐเผชิญหน้ากันอยู่บนความเครียด ความกังวลของคนทั้งประเทศ ทีนี้ข้อเสนอในเรื่องของการยุบสภาว่าตามจริงผมไม่เคยเป็นคนที่ปฏิเสธเรื่อง นี้แม้ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามารับตำแหน่ง ผมเห็นไม่ตรงกัน ในเรื่องเหตุเรื่องผลหลายอย่าง แต่กผมก็ถือว่าการยุบสภาก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในระบบ แต่ก็มีคำถามเท่านั้นเองว่าการยุบสภานี้เราต้องการที่จะทำอะไร วัตถุประสงค์อะไร ผมคิดว่าวันนี้สิ่งที่แสดงออกมาจากความขัดแย้ง มันนับยากว่าจะเริ่มจากตรงไหน ผมไม่ได้คิดว่ามันเริ่มเพราะผมมาเป็นนายกรัฐมนตรี ผมไม่คิดว่ามันเริ่มจากการปฏิวัติรัฐประหาร
"มีหลายเรื่องสะสมกันมา มีเรื่องโครงสร้างบ้าง ตัวบุคคลบ้าง เรื่องอะไรบ้าง ปัญหามันก็ลุกลามมากขึ้น เพราะฉะนั้นที่ผมพูดมาตลอดเรื่องการยุบสภาว่าข้อที่ 1.สิ่งที่เป็นเหตุ เป็นผลที่สุดคือ ถ้าเราคิดว่ามันมีทางออก ทุกคนชนะ ประเทศสงบสุขผมก็นึกไม่ออกว่าใครจะค้าน แต่ผมคิดว่าหากเราเริ่มคุยกัน เราก็จะเห็นประเด็นต่าง ๆ ที่เราจำเป็นจะต้องมาทำความเข้าใจ เรามาพูดคุยกันก่อนว่าการยุบสภามันเป็นคำตอบเหมือบดีดนิ้วแล้วจบชนะจริงหรือ ไม่ อันนี้เป็นประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 คือ ที่พีวีระบอกว่าท่านทั้ง 3 มาในฐานะตัวแทน แต่ผมคงไม่ได้มาในฐานะของหัวหน้าพรรคการเมือง ผมมาในฐานะนายกรัฐมนตรี ก็กินความมากกว่าหัวหน้าพรรคการเมืองข้อที่ 1 อย่างน้อยผมก็รัฐบาลผสม แต่บังเอิญระบุว่าให้มา 3 คน ผมไม่สามารถเอาทุกพรรคร่วมรัฐบาลมาร่วมภายใน 3 คนได้ ก็เป็นเรื่องที่ผมต้องมารับผิดชอบนะครับ แต่ถือโอกาสเรียนตั้งแต่ต้นว่า ได้พูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคเท่าที่เราจะตามตัวบุคคลได้ นัดเจรจาใหม่29มี.ค. เย็น 18.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การหารือผ่านไปนานกว่า 3 ชั่วโมง ก็มีการพัก 5 นาที หลังจากนั้น ทั้งหมดมานั่งเจรจากันอีกครั้ง โดยอภิสิทธิ์ยืนยันว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญจึงยุบสภาได้ ขณะที่นายจตุพรยืนกรานว่าต้องยุบสภาโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ พร้อมยื่นคำขาดว่าต้องทำภายใน 2 สัปดาห์ และข้อยุติการเจรจาโดยทาง นปช.จะขอกลับไปหารือกันอีกครั้ง จากนั้น นายกรัฐมนตรีนัดหมายว่า จะ เจรจากันอีกครั้งในวันที่ 29มีนาคมในเวลา 18.00 น. สถานที่เดิม เนื่องจากวันที่ 29 มีนาคมติดภารกิจ ต้องเดินทางไปเยือนบรูไน และจะกลับมาในเวลา 17.00 น. จากนั้น ทั้งหมดก็เดินทางกลับในเวลา 19.30 น.
นปช.เส้น ตายนายกฯ29มี.ค. ถามคำเดียว"จะยุบสภาหรือไม่" เวลา 19.00 น. วันที่ 28 มีนาคม นายณัฐ วุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. กล่าวบนเวทีปราศรัยหลังการเจรจาจบลงว่า การเจรจาในวันนี้ ได้ข้อสรุปว่า 1.นปช.ได้ ใช้สื่อสาธารณะกว่า 50% สื่อสารกับประชาชนทั้งประเทศให้เข้าใจว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร ถือเป็นความก้าวหน้าขึ้นอีกขั้น 2.แม้จะมีการเจรจาต่อในวันที่ 29 มีนาคมนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่เฉยๆ รอการเจรจารายวัน เวลา 20.10 น. นายวีระ มุสิกพงศ์ ปราศรัยบนเวทีถึงผลการเจรจากับนายกฯว่า ในวันที่ 29 มีนาคม เวลา 18.00 น.จะไปเจรจากับตัวแทนรัฐบาลอีกครั้ง จะไม่มีอะไรพูดกันมากอีกแล้ว กลุ่มเสื้อแดงจะถามเพียงคำถามเดียวว่า "จะยุบสภาหรือไม่" ไม่ว่าคำตอบจะออกมาเป็นเช่นไร ทางเสื้อแดงจะออกมากำหนดท่าทีการเคลื่อนไหวต่อไป และจะไม่ให้เวลายืดเยื้ออีกต่อไปแล้ว
นายจตุพร พรหมพันธุ์ กล่าวว่า ผลการเจรจาในวันที่ 29 มีนาคม ถือว่าเป็นการเจรจาครั้งสุดท้ายระหว่าง นปช.กับรัฐบาล จะไม่มีการเจรจาครั้งที่สามหรือสี่อีกต่อไป คำตอบในวันที่ 29 มีนาคม จะเป็นความชอบธรรมให้กลุ่มเสื้อแดงกลับมากำหนดมาตรการการเคลื่อนไหวให้บรรลุ ตามข้อเรียกร้องต่อไป กลุ่มจะไม่ชุมนุมเพื่อรอการเจรจากับรัฐบาลอีกต่อไป และจะเพิ่มมาตรการเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ "แดง"หงุด หงิดฟัง"มาร์ค"แจง ผู้สื่อข่าวรายงานจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ว่า กลุ่มคนเสื้อแดงที่ปักหลักชุมนุมอยู่ที่สะพานผ่านฟ้าฯต่างรอการเจรจาระหว่าง แกนนำ นปช.กับนายอภิสิทธิ์ ซึ่งที่ชุมนุมนำทีวีมาเปิดให้รับชมเพราะโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจถ่ายทอดสดการ เจรจา แต่หลังจากฟังไปได้สักพักต่างเริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปว่าจะยุบสภาหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อกล้องโทรทัศน์จับภาพไปที่นายอภิสิทธิ์ หรือช่วงที่นายอภิสิทธิ์กล่าวชี้แจง กลุ่มผู้ชุมนุมจะส่งเสียงโห่ไล่ กระทั่งหลังเวลา 18.00 น. ที่มีการเคารพธงชาติเสร็จสิ้น กลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่ด้านหน้าเวทีที่เห็นภาพการถ่ายทอดสดการเจรจาอย่าง ชัดเจนกว่า 150 คน พร้อมใจกันลุกขึ้นเดินออกจากที่ชุมนุมทันที ส่งผลให้มีผู้ชุมนุมที่บริเวณดังกล่าวค่อยๆ ทยอยเดินทางกลับด้วย
ผู้ สื่อข่าวสอบถามกลุ่มผู้ชุมนุมที่ออกจากที่ชุมนุมเป็นกลุ่มแรกถึงเหตุผลที่ ไม่ร่วมชุมนุมต่อคนหนึ่งบอกว่า ทนฟังนายอภิสิทธิ์พูดไม่ไหว ยิ่งฟังก็ยิ่งหงุดหงิด แต่จะกลับมาร่วมชุมนุมใหม่
พรรค ร่วมชี้ก่อนเจรจาต้องหารือก่อน
ด้านนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เปิดเผยว่า ก่อนจะเจรจาตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่ม นปช.กับรัฐบาลในวันนี้ นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพควรหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลด้วย ดังนั้น ในวันนี้ ควรจะเป็นการเปิดรับฟังข้อเรียกร้อง และหลังจากนั้นค่อยนำข้อเรียกร้องมาหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อตกลงแนวทางร่วมกัน เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาลถือเป็นส่วนสำคัญของรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีไม่สามารถตัดสิน และตอบรับเงื่อนไขได้โดยลำพัง โดยเฉพาะเรื่องของการยุบสภา ขณะที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคกิจสังคม ยอมรับในแนวทางที่นายสมศักดิ์กล่าว โดยเฉพาะข้อเรียกร้องเรื่องการยุบสภา ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
ศอ.รส.ปฏิเสธ ปล่อยแดงเทียม
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ศอ.รส.) แถลงกรณีที่แกนนำ นปช.ไปสื่อยังสถานที่ชุมนุม โดยอ้างว่านายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กับนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย แอบวางแผนหากเจรจาไม่เป็นผลจะสร้างกลุ่มแดงเทียมมาสร้างสถานการณ์ว่า ขอยืนยันให้เกิดความสบายใจทุกฝ่ายว่าไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐหรือนักการเมืองคน ใดพยายามสร้างสถานการณ์ เพราะจุดมุ่งหมาย ศอ.รส.คือต้องการให้บ้านเมืองสงบโดยเร็วที่สุด และยืนยันว่าจะไม่มีการฉวยโอกาสเจรจาจับกุมตัวแกนนำ นปช.บางคน เพราะ ศอ.รส.ต้องการสร้างบรรยากาศที่ดี
"ประสพ สุข"ค้านยุบสภา
ด้าน นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช.ว่า น่าจะเจรจากันได้ลงตัว เชื่อว่าทุกฝ่ายต้องการให้เกิดความสงบสุขแก่บ้านเมือง ข้อเรียกร้องที่ นปช.อยากให้ยุบสภา ส่วนตัวเห็นว่าการยุบสภายังไม่เหมาะสม เพราะรัฐบาลจะหมดวาระการทำงานในปลายปี 2554 ถือว่าไม่นาน และเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว จึงต้องการบริหารงานที่ต่อเนื่อง แต่หากจะยุบสภาโดยมีเงื่อนไขก็ไม่เป็นไร ผู้สื่อข่าวถามว่า มีหลายฝ่ายเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นทางออก นายประสพสุขกล่าวว่า อยู่ที่รัฐบาลและฝ่ายค้าน เพราะวุฒิสภาถือเป็นส่วนเสริมเท่านั้น รัฐบาลเป็นตัวหลักแต่ต้องฟังเสียงประชาชนด้วยว่าเห็นอย่างไร
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีทีกลุ่มคนเสื้อแดง ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลยุบสภาว่า อยากถามผู้ชุมนุมว่าหากยุบสภาแล้วมีการเลือกตั้งใหม่ แม้พรรคประชาธิปัตย์จะไม่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด แต่ยังได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองอื่นให้จัดตั้งรัฐบาล กลุ่มผู้ชุมนุมจะยอมรับได้หรือไม่ หากไม่ยอมรับแสดงให้เห็นว่าการเรียกร้องไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิไตย โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะยุบสภาหากเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเท่านั้น
ด้านนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราษฎร์ กล่าวที่ จ.สระแก้ว ว่านายอภิสิทธิ์จะต้องลาออกเท่านั้น โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ และให้สภาสรรหาบุคคลอื่นขึ้นมารับตำแหน่งแทนไปก่อน ซึ่งอาจจะอาศัยกลไกลของรัฐสภาแก้กฎหมายให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นนายก รัฐมนตรีได้ จากนั้นเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จึงยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ ส่วนการยุบสภาในเวลานี้นั้น ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะความแตกแยกจะยังคงอยู่ต่อไป อันจะเป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ตร.เผย ยอดชุมนุมสูงสุดกว่า1แสน
ด้าน พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เปิดเผยว่า การข่าวของสันติบาลเมื่อวันที่ 27 มีนาคม มียอดกลุ่มผู้ชุมนุมสูงสุด 108,000 คน เวลา 19.00 น. ต่อมาลดลง แต่เมื่อแกนนำประกาศจะไปทำเนียบรัฐบาล กลุ่มผู้ชุมนุมก็กลับมาอีก มองได้ว่าผู้ชุมนุมอยู่ในกรุงเทพฯ หรือสถานที่ใกล้เคียง หรือแนวร่วมที่มีความคิดเห็นตรงกันอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จึงระดมได้ดี ใช้เวลาสั้นๆ ระดมได้ ขณะที่เวลา 11.00 น. มียอดกลุ่มผู้ชุมนุมที่ผ่านฟ้าประมาณ 50,000 คน และที่ ร.11 รอ. ประมาณ 1,500 คน เนื่องจากเมื่อวันที่ 27มีนาคม ถอนทหารจากพื้นที่ชั้นใน ศอ.รส. จึงมอบให้ตำรวจดูแลพื้นที่ชั้นใน ทาง บช.น.จึงให้กองร้อยควบคุมฝูงชน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ส่งมาสนับสนุนดูแลพื้นที่ชั้นใน ประกอบด้วย รัฐสภา แนวถนนราชดำเนินทั้งหมด ทำเนียบรัฐบาล จุดตรวจพื้นที่ชั้นในทั้งหมด ส่วนจุดตรวจร่วมตำรวจ-ทหารในพื้นที่ชั้นกลางและชั้นนอกนั้นยังทำงานร่วมกัน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น