ระวัง “ยิ้มสยาม” ของรัฐบาลไทย
โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
ในสัปดาห์นี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย ได้เดินทางเยือนกรุงบรัสเซลล์เพื่อร่วมการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 โดยจะมีการอภิปรายเรื่องความเท่าเทียมและการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกับผู้นำร่วมภูมิภาค นายอภิสิทธิ์จะมีโอกาสเข้าพบกับนายกรัฐมนตรีเยอรมันนาง Angela Merkel นาย Herman Van Rompuy และนาย José Manuel Durao Barroso รวมถึงผู้นำประเทศอื่นในยุโรป
สำหรับบุคคลภายนอก การเยือนครั้งนี้อาจดูเหมือนการสานสัมพันธ์ทางการทูตทั่วไป แต่สำหรับรัฐบาลอภิสิทธิ์ การเยือนครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยจะหาความชอบธรรมให้กับตนเองจากกลุ่มประเทศยุโรป
แน่นอนว่าไม่มีใครที่ทำหน้าในการหว่านเสน่ห์ใช้คำพูดหว่านล้อมโน้มน้าวผู้นำเหล่านี้โดยใช้ภาษาแห่งสันติภาพและความสมานฉันท์ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้นำเหล่านั้นอยากจะได้ยินได้ดีเท่านายอภิสิทธิ์ นายกผู้เฉลียวฉลาดและได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
อย่างไรก็ตาม ผมขอแนะนำผู้แทนประเทศยุโรปที่ได้มีโอกาสพูดคุยทำความรู้จักกับนายกอภิสิทธิ์ไม่ควรที่จะเชื่อสิ่งที่นายกอภิสิทธิ์นำเสนอพร้อมกับรอยยิ้มมากนัก เพราะเราควรจะกังขาในจริยธรรมของผู้นำประเทศที่มีส่วนรู้เห็นกับการฆ่าหมู่กลุ่มผู้ชุมนุมเกือบ 90 ราย และคุมขังฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอีกนับร้อย การสานความสัมพันธ์กับประชาชนชาวไทยจะสำเร็จได้นั้น ตัวแทนประเทศยุโรปมีหน้าที่ที่จะถามคำถาม 2-3คำถามต่อนายอภิสิทธิ์
คำถามแรกคือ เหตุใดประเทศจึงยังคงกฎหมายทีเคร่งครัดอย่าง “พระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินฉุกเฉิน” หลายเดือนหลังจากการชุมนุม เพราะคำนิยามทางกฎหมายดังกล่าวคือกฎหมายที่ประกาศใช้ชั่วคราว และจะต้องมีภัยร้ายแรงคุกคามประเทศเท่านั้น สัปดาห์ที่แล้วองค์การนิรโทษกรรมระหว่างประเทศได้ออกแถลงการณ์ประณามรัฐบาลอภิสิทธิ์อย่างรุนแรงถึงการใช้พรก.ฉุกเฉิน ในแถลงการณ์ระบุว่า “รัฐบาลจะต้องยกเลิกการบิดเบือนการใช้กฎหมายฉุกเฉินที่ละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชน”
คำถามต่อมาคือ แทนที่จะลงโทษทหารที่เกี่ยวข้องกับการสังหารประชาชน เหตุใดรัฐบาลไทยจึงเลื่อนตำแหน่งให้บุคคลเหล่านั้น? พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายทหารหัวเก่าและเป็นหนึ่งในสถาปนิกผู้ร่างแผนการการสลายการชุมนุมซึ่งนำไปสู่การนองเลือด ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้ขึ้นเป็นผู้บังคับบัญชาการทหารบก นอกจากนี้พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณผู้ซึ่งหลายคนเชื่อว่าเป็นผู้สั่งการให้มือปืนซุ่มยิงทหารขึ้นไปยังดาดฟ้าของอาคารต่างๆเพื่อที่จะซุ่มยิงประชาชน (ซึ่งรวมถึงผู้ชุมนุม นักข่าว และอาสาพยาบาลผู้ซึ่งหลบภัยอยู่ในวัด) ในระหว่างการสลายการชุมนุม ยังได้รับการเลื่อนตำแหน่ง รวมถึงภริยาของพล.ท.ดาว์พงษ์ด้วย
ผู้แทนกลุ่มประเทศยุโรปควรจะถามนายอภิสิทธิ์ว่า เหตุใดรัฐบาลไทยยังคงทำลายเสรีภาพในการแลดงออกและคุกคามชีวิตนักข่าว แม้ข้อความที่ตีพิมพ์เหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด นอกจากนี้นายกอภิสิทธิ์อาจจะบรรยายด้วยคำพูดที่สวยงามเกี่ยวกับวิธีการพูดคุยและการค้นหาความจริงหลังปัญหาความขัดแย้งในการประชุมอาเซ็ม แต่ผู้นำเหล่านั้นควรจะถามนายอภิสิทธิ์ว่าเหตุในรัฐบาลของเขาถึงปิดเวปไซต์กว่า 100,000เวปไซต์ และจับกุมบรรณาธิการเวปไซต์ข่าวอย่างประชาไท ซึ่งกลุ่มนักข่าวไร้พรมแดนเอ็นจีโอในกรุงปารีสกล่าวว่าการจับกุมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ “รับไม่ได้” และ “ไม่ต่างจากประเทศพม่า”
อย่างไรก็ตามความรับผิดชอบหลักของผู้นำประเทศยุโรปคือการตั้งคำถามในที่ประชุมถึงความคืบหน้าของการสอบสวนของการเสียชีวิตของช่างภาพอิสระชาวอิตาลีนายฟาบิโอ โปเลงกี ซึ่งถูกยิงที่ช่องท้องจนเสียชีวิตในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ในขณะที่ทำข่าวการชุมนุมของคนเสื้อแดง แม้ว่าอลิซาเบธ โปเลงกี พี่สาวผู้ปวดร้าวจากสูญเสียน้องชายอย่างนายฟาบิโอจะพยายามประสานงานกับสถานทูตอิตาลีในประเทศเพื่อกดดันในเจ้าหน้าที่รัฐไทยเปิดเผยข้อมูลและการสอบสวน แต่ความคืบหน้าของการสอบสวนถึงการเสียชีวิตของพลเมืองสัญชาติยุโรปนายฟาปิโอนั้นเป็นที่น่าผิดหวัง อลิซาเบธ โปเลงกีสมควรที่จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้นำประเทศยุโรปในการทวงถามความคืบหน้าของการสอบสวน
ตัวแทนของกรรมาธิการยุโรปอาจจะทราบว่าการสอบสวนดังกล่าวนั้นได้เดินทางมาถึงทางตันและมีการปกปิดหลักฐานเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายนและพฤษภาคม หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้อ้างคำกล่าวของเอกอรรคราชทูตนายเดวิด ลิปแมน ที่กล่าวว่า “สหภาพยุโรบต้องการที่เห็นคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงที่มีนายคณิต ณ นครเป็นประธาน และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศที่มีนายอนันต์ ปันยารชุนเป็นประธาน รวมถึงคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปที่มีนายประเวศ วสีเป็นประธาน ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระและจริงจัง”
อย่างไรก็ตาม นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการดังกล่าวได้กล่าวอย่างชัดเจนต่อสื่อมวลชนว่าการสอบสวนดังกล่าวจะไม่มีการกล่าวโทษฟ้องร้องใคร ซึ่งถือว่าเป็นความล้มเหลวในหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่มีพันธกรณีในการสอบสวนถึงเหตุการณ์ดังกล่าวตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมืองขององค์การสหประชาชาติ (ICCPR) แต่กระนั้นรัฐบาลไทยยังคงดำเนินคดีที่น่าเคลือบแคลงต่อฝ่ายตรงข้าม รวมถึงการดำเนินคดีต่อผู้นำนปช.ทั้ง 19คน ในข้อหาที่ไร้สาระอย่างข้อหาก่อการร้าย โดยโทษว่าบุคคลดังกล่าวทำให้เพื่อนร่วมชาติเสียชีวิต ในการดำเนินคดีดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดถูกปฏิเสธสิทธิพื้นฐานในการเข้าถึงและตรวจสอบพยานหลักฐานอย่างเป็นอิสระ โดยศาลได้ปฏิเสธคำร้องขอให้มีการชันสูตรศพที่เป็นอิสระ หากรัฐบาลไทยสนใจที่จะแสวงหาความจริง รัฐบาลไทยควรเปิดให้มีการเข้าถึงพยานหลักฐานอย่างกว้างขวาง
นายอภิสิทธิ์และพรรคพวกขึ้นสู่อำนาจโดยการทำรัฐประหารของทหารหนุนหลังเดินทางเยือนประเทศยุโรปเพื่อที่จะเดินเกมที่พวกเขาได้วางไว้ พวกเขาทราบดีว่าผู้นำประเทศยุโรปมักเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสิ่งที่ผู้นำเหล่านี้ต้องการได้ยินคือคำมั่นสัญญาในการดำเนินกระบวนการปรองดองสมานฉันท์ และการจัดให้มีการเลือกตั้งในที่สุด เราจึงได้เพียงแต่หวังว่าผู้นำประเทศยุโรปที่เข้าร่วมการประชุมจะมองเห็นความจริงที่ซ่อนอยู่ภายใต้รอยยิ้มอันน่าหลงใหลของรัฐบาลไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น