สำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ( ป.ป.ช. )ได้เผยเผยพร่ผลสำรวจทัศนะของภาคธุรกิจที่มีต่อสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จ้างให้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของภาคเอกชนที่มีต่อสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทย โดยสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างภาคธุรกิจ (การผลิต การบริการ และการค้า) ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2553จำนวน 411 ตัวอย่าง สรุปผลการสำรวจเบื้องต้นในภาพรวมที มีต่อสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นพบว่า มีประเด็นที่น่าสนใจคือ แม้สถานการณ์เศณษฐกิจชะลอตัวลง แต่สถานการณ์ทุจริตกลับเพิ่มขึ้นกว่ารอบ 12 เดือนที่ผ่านมา โดยนักธุรกิจส่วนใหญ่ร้อยละ 78.3 ยังคงให้เงินเพิ่มพิเศษ/เงินสินบนแก่ข้าราชการที่ทุจริต
ขณะที่ร้อยละ 10.5 ระบุว่า ให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและข้าราชการเรียกร้องสินบนเพิ มขึ้น
ส่วนหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างจ่ายเงินพิเศษคิดเป็นร้อยละของจำนวนครั้งที่ ติดต่อสูงสุด 5 ลำดับแรกได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล กรมที่ดิน องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และตำรวจทางหลวง/จราจร
สำหรับจำนวนเงินพิเศษที่นักธุรกิจจ่ายให้แก่หน่วยงานต่างๆ พิจารณาเฉพาะ หน่วยธุรกิจที่มีประสบการณ์การจ่ายเงินพิเศษพบว่า หน่วยธุรกิจจ่ายเงินพิเศษเฉลี่ยต่อปีจำนวนสูงสุดให้แก่ นักการเมืองที่มีอิทธิพลต่อกิจการกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี (กรมเจ้าท่า) กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามลำดับ
และจ่ายเงินพิเศษเฉลี่ยต่อครั้งเป็นจำนวนที่สูงให้แก่ กรมสรรพากร นักการเมืองที่มีอิทธิพลต่อกิจการกรมสรรพสามิต กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (กรมทะเบียนการค้า) และกรมการปกครองตามลำดับ
นอกจากนี้จากผลการสำรวจยังพบว่า นักธุรกิจพบเห็นวิธีการและการทุจริตคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่างๆ ที่มากที่สุดได้แก่ การใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการฝากลูกหลาน ญาติพี่น้องเข้าทำงานในหน่วยงานของตน
นอกจากนี้ยังมีรูปแบบที่พบเห็นค่อนข้างมากได้แก่ การทุจริตเชิงนโยบาย โดยผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การใช้อำนาจและหน้าที่ในตำแหน่งเพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน หรือ ทางการเมือง การแทรกแซงครอบงำของฝ่ายการเมือง การร่วมกันนำเสนอช่องทาง/โครงการที่มีงบประมาณรวมขนาดใหญ่มากขึ้น การรับสินบนซึ่งส่งผลให้มีการตัดสินใจที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้จ่ายสินบน การส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานแสวงหาประโยชน์ส่วนตน การรับส่วยและการเรียกรับทรัพย์สินและเงินทองจากประชาชน การวิ่งเต้นขอตำแหน่งในวงราชการ และการทุจริตในการประมูลงานของรัฐ
อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจส่วนใหญ่ระบุว่า สถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นในปัจจุบันมีผลกระทบในแง่ลบต่อการดำเนินธุรกิจเล็กน้อยถึงไม่มีผลกระทบเลย และพร้อมจ่ายเงินอย่างไม่เป็นทางการให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ คิดเป็นเงินร้อยละ 1-1.99 ของรายรับทั้งหมดต่อปี
แลยอมรับว่า การจ่ายเงินพิเศษเป็นเรื่องธรรมดาที่ทำกันจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ และเป็นที่รู้กันว่า ควรจ่ายเท่าไร จ่ายอย่างไร โดยไม่ต้องมีใครเอ่ยปาก ขณะที่ส่วนใหญ่เมื่อจ่ายเงินแล้วธุรกิจมักจะได้รับการอำนวยความสะดวกตามที่ตกลงกันไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น