www.go6tv.com กมธ.สภาล่างตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ-ที่ปรึกษา-ผู้ชำนาญการอื้อ บางคณะซุกอยู่เกือบร้อย นั่งตบยุง สิทธิพิเศษเพียบ ทั้งเงินประจำตำแหน่ง มีสิทธิได้รับเครื่องราชฯ แถมตั้ง ส.ส.กันเองนั่งเป็นกุนซือ คนเดียวพ่วงหลายคณะ ซ้ำดึงนักธุรกิจ คนใกล้ชิด เด็กฝากนักการเมือง หลายรายขาดคุณสมบัติ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมว่า จากการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับ น.ส.วสา เทพเรียน เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.)การป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร ที่ถูกพาดพิงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับโอนเงินให้นายกษิ ดิษฐธนรัชต์ ผู้ต้องสงสัยในคดีระเบิดที่สมานเมตตาแมนชั่น อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี พบว่า กมธ.คณะต่างๆ ได้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา และ ผู้ชำนาญการประจำ กมธ.จำนวนมาก ซึ่งจากการตรวจสอบฐานข้อมูลของ กมธ.สามัญ สภาผู้แทนฯ ซึ่งมีจำนวน 35 คณะ โดยแต่ละคณะมี กมธ.ประมาณ 15 คน รวมผู้ที่เป็น กมธ.ราว 525 คนแล้วนั้น ยังพบว่า ใน กมธ.หลายคณะ มีการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ ฝ่ายเลขา นุการที่มีเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ตลอดจนสิทธิประโยชน์อื่นขึ้นจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีทั้งบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รับรู้ว่ามีความเชี่ยวชาญในสาขางาน กมธ.คณะนั้นๆ แต่มีจำนวนมากที่ไม่เป็น ที่รู้จัก และบางส่วนเป็นการตั้ง ส.ส.ด้วยกันเอง รวมถึงตั้งคนเดียวนั่งที่ปรึกษาหลายคณะ รวมถึงมีการตั้งตัวแทนภาคเอกชน นักธุรกิจเอกชน หรือบุคคลใกล้ชิดฝ่ายการเมืองด้วย
ทั้งนี้ โดยสังเขปจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ ตลอดจนฝ่ายเลขาฯ มีดังนี้
กมธ.การกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน มีที่ผู้ทรงคุณวุฒิปรึกษาและผู้ชำนาญการ รวม 21 คน กลุ่มงานเลขาฯ 8 คน
กมธ.ทรัพย์สินทาง ปัญญา ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการถึง 75 คน กลุ่มงานเลขาฯ 10 คน กมธ. กิจการชายแดนไทย ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ 65 คน กลุ่มงานเลขาฯ 8 คน กมธ.การแรงงาน ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและ ผู้ชำนาญการ 63 คน กลุ่มงานเลขาฯ 9 คน
กมธ.กิจการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ รวม 42 คน กลุ่มงานเลขาฯ 10 คน
กมธ.การพลังงาน ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ 46 คน กลุ่มงานเลขาฯ 6 คน
กมธ.การป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและ ผู้ชำนาญการ รวม 45 คน กลุ่มงานเลขาฯ 10 คน
กมธ.กิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ รวม 44 คน กลุ่มงานเลขาฯ 6 คน
กมธ.การส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรม ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ 44 คน กลุ่มงานเลขาฯ 7 คน
กมธ.การตำรวจ ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา และ ผู้ชำนาญการ 37 คน กลุ่มงานเลขาฯ 7 คน
กมธ.การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ 37 คน กลุ่มงานเลขาฯ 6 คน
กมธ.ติดตามการบริหารงบประมาณ ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ 34 คน กลุ่มงานเลขาฯ 9 คน
กมธ.การเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ 23 คน กลุ่มงานเลขาฯ 8 คน
กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการรวม 22 คน กลุ่มงานเลขาฯ 10 คน กมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจ ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ 22 คน กลุ่มงานเลขาฯ 2 คน กมธ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ 20 คน กลุ่มงานเลขาฯ 8 คน
กมธ.การปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ 19 คน กลุ่มงานเลขาฯ 9 คน กมธ.การทหาร ตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการ 16 คน กลุ่มงานเลขาฯ 7 คน
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบระเบียบสภาผู้แทนราษฎร ว่าด้วยการตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็น ที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ นักวิชาการ และเลขานุการประจำ กมธ. สามัญประจำสภาผู้แทนฯ พ.ศ.2544 ข้อ 4 ไม่ได้กำหนดจำนวนที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ นักวิชาการ และเลขานุการประจำ กมธ.แต่ละคณะไว้ว่ามีจำนวนเท่าใด โดยกำหนดเพียงว่าใน กมธ.คณะหนึ่ง สามารถตั้งตำแหน่งดังกล่าวได้โดยคำนึงถึงค่าตอบแทนแต่ละตำแหน่ง รวมกันไม่เกินเดือนละ 120,000 บาท หรือไม่เกินปีละ 1.4 ล้านบาทถ้วน
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ยังมีสิทธิประโยชน์ อื่นที่สำคัญ คือการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยา ภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536 เฉพาะผู้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน กำหนดว่า ที่ปรึกษาประจำ กมธ. สามารถขอเครื่องราชฯได้ปีเว้นปี เริ่มต้นขอที่ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎ ไทย (บ.ม.) เลื่อนได้ถึงขึ้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ผู้ชำนาญการประจำ กมธ.สามารถขอเครื่องราชฯได้ปีเว้นปี เริ่มต้นขอที่ชั้นเบญจมา ภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) เลื่อนได้ถึงขึ้นทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) นักวิชาการประจำ กมธ.สามารถขอเครื่องราชฯได้ปีเว้นปี เริ่มต้นขอที่ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) เลื่อนได้ถึงขึ้นตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) เลขานุการประจำคณะ กมธ. สามารถขอเครื่องราชฯได้ปีเว้นปี เริ่มต้นขอที่ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) เลื่อนได้ถึงขั้นจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น